สร้างอนาคตปลอดภัยระดับควอนตัมกับโตชิบา
คอมพิวเตอร์ควอนตัมมีศักยภาพในการถอดรหัสข้อมูลละเอียดอ่อนที่ส่งผ่านเครือข่ายทั่วไป จึงถือเป็นภัยคุกคามต่อความปลอดภัยของเศรษฐกิจดิจิทัล โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่มีข้อมูลละเอียดอ่อนที่เก็บระยะยาว เช่น การบริการทางการเงิน ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงเป็นพิเศษจากการโจมตีเหล่านี้
ขณะนี้ ผู้ไม่หวังดีได้เริ่มรวบรวมข้อมูลที่เข้ารหัสไว้แล้ว เพื่อรอให้คอมพิวเตอร์ควอนตัมพัฒนาไปไกลในอนาคตที่จะถอดรหัสข้อมูลเหล่านี้ได้ การโจมตีแบบนี้เรียกว่า "เก็บก่อน ถอดรหัสทีหลัง" และมุ่งเป้าไปที่อุตสาหกรรมอย่างธนาคารและฝ่ายต่างๆ ในหน่วยงานรัฐบาล การโจมตีลักษณะนี้อาศัยการที่ข้อมูลสำคัญมักมีอายุขัยยาวนาน ใช้เวลานานกว่าจะหมดประโยชน์ ดังนั้น หากต้องการจะแก้ไขปัญหาดังกล่าว องค์กรต่างๆ จะต้องดำเนินการเชิงรุกและตรวจสอบให้แน่ใจว่าเครือข่ายของตนมีการเข้ารหัสป้องกันชนิดปลอดภัยระดับควอนตัมไว้ล่วงหน้า
เครือข่ายปลอดภัยระดับควอนตัมเป็นทางออกเดียวในการปกป้องไม่ให้ข้อมูลถูกดักเก็บและนำไปถอดรหัสแม้ว่าผู้โจมตีจะใช้คอมพิวเตอร์ควอนตัมก็ตาม การนำเครือข่ายประเภทนี้มาใช้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ว่าด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อถือได้ ยั่งยืน และยืดหยุ่นต่อการโจมตี
Quantum Key Distribution (QKD) ของโตชิบาเป็นตัวอย่างวิธีการส่งข้อมูลที่ปลอดภัยระดับควอนตัม ซึ่งทำงานด้วยการกระจายกุญแจเข้ารหัสแบบปลอดภัยสูงเป็นพิเศษ ทำให้เครือข่ายยืดหยุ่นต่อภัยคุกคามควอนตัมต่างๆ เทคโนโลยี QKD ของโตชิบาได้รับการพัฒนามาตลอดกว่าสองทศวรรษ และสามารถติดตั้งเข้ากับเครือข่ายใยแก้วที่มีอยู่ได้ ทำให้เป็นโซลูชันที่สมบูรณ์อันดับแนวหน้าของโลก
เทคโนโลยี Quantum Key Distribution ของโตชิบา
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 JPMorgan Chase โตชิบา และ Ciena ได้ร่วมกันแสดงศักยภาพเครือข่าย Quantum Key Distribution (QKD) เครือข่ายแรก ซึ่งช่วยรับประกันความปลอดภัยให้กับการนำบล็อกเชนในภารกิจที่ขาด บล็อกเชนไม่ได้ ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 กลุ่มโตชิบาและ KT ได้ร่วมมือกันในโครงการนำร่อง Quantum Key Distribution ในเกาหลีใต้ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 EY ได้กลายเป็นลูกค้าเชิงพาณิชย์รายแรกของเครือข่าย Quantum-Secured Metro Network (QSMN) ซึ่งเป็นการทดลองเครือข่าย QKD ที่สร้างโดยใช้ฮาร์ดแวร์ QKD ของโตชิบาและซอฟต์แวร์การจัดการกุญแจเข้ารหัสในเครือข่ายไฟเบอร์ของ BT เชิงพาณิชย์ครั้งแรกในโลก และล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 HSBC ได้กลายเป็นธนาคารแห่งแรกที่เข้าร่วมเครือข่ายปลอดภัยระดับควอนตัมเชิงพาณิชย์รุ่นบุกเบิกของสหราชอาณาจักร
ส่วนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โตชิบาได้เปิดตัวศูนย์ Quantum Networks EXperience Center (QNEX) ซึ่งตั้งอยู่ที่สิงคโปร์และดำเนินการโดย SpeQtral Pte. Ltd. (SpeQtral) ซึ่งเป็นพันธมิตรของโตชิบา เพื่อสาธิตเทคโนโลยี QKD และการนำไปประยุกต์ใช้จริงในการรักษาความปลอดภัยให้แก่โครงสร้างพื้นฐานสำคัญและข้อมูลละเอียดอ่อน และล่าสุด SpeQtral และ SPTel ได้จับมือกันยื่นข้อเสนอไปยังองค์กรการพัฒนาสื่อสารสนเทศ Infocomm Media Development Authority (IMDA) เพื่อสร้างเครือข่ายปลอดภัยระดับควอนตัมแห่งชาติ National Quantum-Safe Network Plus (NQSN+) ในสิงคโปร์
จากงานวิจัยสู่ความเป็นจริง
2534 ก่อตั้งห้องปฏิบัติการในเคมบริดจ์
2543 พัฒนาเครื่องตรวจจับโฟตอนเดี่ยวได้สำเร็จ
2547 ใช้งานในสภาพแวดล้อมจริงได้อย่างเสถียรเกินหนึ่งเดือน
2551 ส่งข้อมูลระยะ 20 กม. ด้วยความเร็ว 1Mbps เร็วที่สุดในโลก
2555 ส่งข้อมูลระยะ 50 กม. ด้วยความเร็ว 1Mbps ทำลายสถิติเร็วสุดในโลก
2559 ใช้งานกับข้อมูลจีโนมครั้งแรกในญี่ปุ่น
2563 ส่งข้อมูลระยะ 10 กม. ด้วยความเร็ว 10Mbps, เปิดตัวธุรกิจระบบ QKD สถิติโลกครั้งใหม่
2565 BT และโตชิบาทดลองเชิงพาณิชย์ครั้งแรก, โตชิบาชนะสองรางวัลจากงาน iF DESIGN AWARD 2022, กลุ่มโตชิบาผนึกกำลังกับ KT JPMorgan Chase โตชิบา และ Ciena สร้างเครือข่าย QKD แห่งแรกขึ้น
ผังเวลาการพัฒนา QKD ของโตชิบา
เมื่อนำวิธีการปลอดภัยระดับควอนตัมมาใช้แล้ว สถาบันการเงินต่างๆ ก็จะสามารถปกป้องข้อมูลละเอียดอ่อน รักษาความไว้วางใจของลูกค้า และพร้อมเข้าสู่ยุคควอนตัม โตชิบามุ่งมั่นพัฒนาโซลูชันที่ปกป้องผู้คนและองค์กรให้ปลอดภัยจากภัยคุกคามใหม่ที่เกิดขึ้น
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมที่ : https://www.toshiba-clip.com/en/detail/p=3544
และรับชมวิดีโอเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.youtube.com/watch?v=dJa7phzUw5Y