งานวิจัยเผยว่าไม่มีที่ไหนบนโลกปลอดภัยจากมลภาวะ แล้วเราทำอะไรได้บ้าง?


Ian Brough หัวหน้าแผนกผลิตภัณฑ์เครื่องฟอกอากาศของ Dyson เผยข้อมูลสถานการณ์มลภาวะทางอากาศโลก

พร้อมข้อแนะนำในการป้องกันตัวเองจากมลภาวะทั้งภายนอกและภายในอาคาร

จากงานวิจัยล่าสุดของมหาวิทยาลัย Monash ประเทศออสเตรเลียได้เผยว่า แทบไม่มีพื้นที่ที่ปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศเหลืออยู่บนโลกนี้แล้ว โดยจากการศึกษาและวิจัยข้อมูลที่ได้จากสถานีตรวจสอบสถาพอากาศและดาวเทียม เผยว่ามีพื้นที่บนบกเพียง 0.18% หรือนับเป็นประชากรร้อยละ 0.001% เท่านั้นที่ได้รับมลพิษทางอากาศต่ำกว่าเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ จึงสามารถพูดโดยรวมได้ว่าทุกคนบนโลกกำลังได้รับผลจากมลพิษทางอากาศ ไม่ว่าคนคนนั้นจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ในประเทศไทย สถานการณ์มลภาวะทางอากาศที่เราคุ้นชินที่สุดคงหนีไม่พ้นปัญหาฝุ่นที่มักทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงอากาศเย็น หรือสถานการณ์ฝุ่นในจังหวัดทางภาคเหนือ แต่นอกจากสถาณการณ์ฝุ่นที่เรามองเห็นได้ด้วยตาเปล่าแล้ว มลภาวะยังมีอีกหลายมิติที่หลายคนอาจไม่รู้มาก่อน และล่าสุด Ian Brough หัวหน้าแผนกผลิตภัณฑ์เครื่องฟอกอากาศของ Dyson ได้เผยเกร็ดความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ด้านมลภาวะในอากาศและวิธีที่เราในฐานะคนทั่วไปสามารถทำเพื่อป้องกันตัวเองจากมลภาวะเหล่านี้ได้

 


รู้จริงแค่ไหน เรื่องมลภาวะในอากาศ ?

งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าปัญหามลพิษเป็นปัญหาระดับโลก ทุกคนเริ่มหันมาตระหนักถึงความจำเป็นในการหลีกเลี่ยงถนนที่มีรถเยอะ หรือปิดเครื่องยนต์เมื่อไม่ได้ใช้ และปกป้องสิ่งแวดล้อมภายนอกอาคาร แต่เรากลับไม่ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับผลกระทบของอากาศภายนอกอาคารที่มีต่อสิ่งแวดล้อมภายในอาคาร โดยสถิติที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลจากเครื่องฟอกอากาศ Dyson แสดงให้เห็นว่าเมื่อมลพิษอากาศภายนอกสูง มลพิษภายในอาคารก็สูงขึ้นตาม การทำความเข้าใจว่าผู้คนเผชิญกับคุณภาพอากาศแบบไหนเป็นขั้นตอนสำคัญในการนำไปสู่การหาวิธีแก้ไขที่จริงจังและยั่งยืน ซึ่งเป็นสิ่งที่ Dyson ให้ความสำคัญ


แค่อยู่ในบ้าน ก็ปลอดภัยจากฝุ่นข้างนอก ?

แน่นอนว่าเราสามารถมองเห็นมลพิษประเภทฝุ่นได้ด้วยตาเปล่าเมื่อปริมาณเยอะในระดับหนึ่ง แต่เรามักจะลืมคิดถึงมลพิษที่เรามองไม่สามารถเห็นด้วยตาเปล่าอย่างเช่น ไนโตรเจนออกไซด์ที่สามารถตกค้างอยู่ในอากาศได้เป็นปีและเป็นอันตรายมากกว่ามลพิษที่สามารถมองเห็นได้เสียอีก

 

บ้านก็อาจจะไม่ใช่ที่ที่ปลอดภัยเพราะบางครั้งมลพิษภายในบ้านนั้นอาจจะแย่กว่าข้างนอก มลพิษในอากาศถูกสร้างจากกิจกรรมประจำวันต่างๆภายในครัวเรือนเช่น การทำอาหาร การทำความสะอาดและมลพิษที่สะสมจากการเดินเข้าออกอาคารจนกระทั่งกลายเป็นส่วนผมผสมของมลพิษที่ซับซ้อนและอันตราย ในขณะที่ผู้คนเริ่มปิดกั้นไม่ให้มลพิษเข้าบ้าน ความจริงแล้วเรากำลังกันไม่ให้มลพิษออกด้วยเช่นด้วยกัน


ทุกๆวันเราหายใจอากาศเป็นจำนวน 9,000 ลิตร ซึ่งเราใช้ชีวีตประจำวันส่วนใหญ่ของเราอยู่ภายในอาคาร กิจกรรมในชีวิตประจำวันของเราอย่างเช่น การใช้น้ำยาล้างพื้นน้ำยาดับกลิ่น หรือเทียนหอมนั้นล้วนเป็นต้นต่อของมลพิษอากาศที่พบเจอได้บ่อยภายในครัวเรือน มลพิษอากาศในครัวเรือนชนิดอื่นๆที่พบได้ก็จะมาจาก แก๊ซที่ออกมาตอนทำอาหารเชื้อราเกสรดอกไม้, สะเก็ดผิวของสัตว์เลี้ยง และฟอร์มัลดีไฮด์ที่ออกมาจากเฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูป ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้านหรือที่ออฟฟิศทุกคนก็มีโอกาศที่จะหายใจอากาศที่มีมลพิษอันตรายได้ การที่มีเครื่องกรองอากาศที่มีทั้งHEPAและคาร์บอนสังเคราะที่มีคุณสมบัติในการดูดซับสูงนั้นสามารถยับยั้งมลพิษและทำให้คุณภาพอากาศภายในครัวเรือนดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด



มลภาวะข้างนอกกับข้างใน อันไหนอันตรายกว่ากัน ?

โดยปกติแล้วมลพิษภายในกับภายนอกจากถูกมองว่าเป็นปัญหาที่แยกออกจากกันโดยสิ้นเชิง แต่ที่จริงแล้วมลพิษภายนอกอาคารเช่น ควันท่อไอเสีย เกสรดอกไม้ หรือละอองเชื้อรานั้นก็สามารถเข้ามาภายในอาคารได้ง่ายๆเหมือนกัน นอกจากนั้นแล้วมลพิษภายในอาคารเช่น กลิ่นควันจากการทำอาหารก็สามารถระบายไปเพิ่มมลพิษภายนอกได้เช่นเดียวกัน

 

ถึงแม้ว่าจะมีช่วงที่ควันฝุ่นนั้นเยอะอย่างเห็นได้ชัดและบางวันอาจจะดูเหมือนลดลงถึงระดับปกติ แต่จริงๆแล้ว ปัญหามลพิษนั้นเป็นปัญหาที่อยู่กับคนไทยตลอดทั้ง 365 วันเลยทีเดียว! เราสังเกตเห็นได้ว่ามลพิษบางจำนวนเพิ่มขึ้นมาได้จากต้นตอเรื่อง อุณหภูมิ ,ภูมิอากาศ และกิจกรรมต่างๆของประชากร คุณภาพอากาศเสื่อมโทรมเป็นปัญหาที่ครอบคลุมทั่วโลกและประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่ถูกผลกระทบหนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาค รายงานจากองค์การอนามัยโลกทำให้เราตระหนักถึงปัญหาคุณภาพจัดอันดับให้ประเทศไทยอยู่อันดับสอง จากทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเรื่องของประเทศที่มีมลพิษทางอากาศเยอะที่สุด การรายงานนี้ทำให้เราตระหนักถึงความร้ายแรงของปัญหาด้านมลพิษอากาศและความสำคัญในการริเริ่มการส่งเสริมคุณภาพอากาศในประเทศไทยให้ดีขึ้น


คุณภาพอากาศนั้นเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและผลกระทบของมันก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยซึ่งรวมไปถึง อายุสถานที่ที่พักอาศัยระยะเวลาที่เผชิญหน้ากับอากาศในบริเวณนั้น,และปริมาณกิจกรรมในแต่ละวัน ที่ Dyson เราได้ทำการวิจัยเป็นระยะเวลานานเกี่ยวกับเรื่องผลกระทบของมิลพิษอากาศภายในครัวเรือน ในขณะที่ผลกระทบทางการแพทย์ยังถูกวิจัยอยู่นั้น เรารู้อย่างแน่นอนว่าระยะยเวลาที่เผชิญหน้ากับมลพิษเป็นปัจจัยทีสำคัญ้เพราะฉนั้นแล้วตามหลักการนี้ คุณภาพอากาศภายในครัวเรือนนั้นย้อมมีผลกระทบต่อชีวิตเรามากที่สุดเพราะเราใช้ชีวิตในอาคารเป็นส่วนใหญ่



เราสามารถทำอะไรเพื่อป้องกันมลพิษได้บ้าง ?

ถึงแม้จากงานวิจัยที่ออกมาได้เผยกว่า 99% ของโลกนั้นอยู่ภายใต้อากาศที่มีมลพิษ แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าเราไม่สามารถควบคุมคุณภาพของอากาศที่เราหายใจในบ้านเราได้ และนี่คือเคล็ดลับที่จะช่วยเราคงระดับอากาศที่ดีไว้

 

  • ใช้น้ำยาทำความสะอาดอย่างชาญฉลาด: สารระเหยง่ายอันตรายที่พบเจอได้ในครัวเรือนสามารถมาจาก สารเคมีในน้ำยาทำความสะอาด การใช้น้ำยาทำความสะอาดจากธรรมชาตินั้นเป็นวิธีง่ายๆในการลดสารระเหยอันตรายและเพิ่มคุณภาพอากาศภายในครัวเรือนได้
  • ดูดฝุ่นบ่อยๆ: เวลาเราปัดฝุ่นโซฟาหรือเบาะนั่งเราอาจจะเห็นฝุ่นจำนวนมากฟุ้งออกมาในอากาศ ฝุ่นพวกนี้จะตกค้างอยู่ภายในครัวเรือนและรอให้เราหายใจละอองพวกนี้เข้าไป เพราะฉนั้นการดูดฝุ่นนั้นเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการจัดการอนุภาคฝุ่นภายในบ้านและลดมลพิษลงได้
  • ใช้เครื่องหอมให้พอดี: สิ่งบางสิ่งที่เราชอบใช้ในบ้านเช่น เทียนหอมก็สามารถเป็นต้นตอของมลพิษทางอากาศภายในบ้านได้เช่นเดียนกัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าให้เราเลิกจุดเทียนไปเลยแต่ให้จุดในปริมาณและระยะเวลาที่พอดี ถ้าจะจุดให้จุดตอนเย็นก็ยิ่งดี
  • หน้าต่างต้องดูก่อนเปิด: ระมัดระวังในการ “เปิดให้อากาศถ่ายเท” ถ้าบ้านของคุณอยู่ในย่านที่มีจราจรเยอะ หรือติดกับถนนใหญ่การเปิดประตูหรือหน้าต่างให้ลมผ่านอาจจะนำฝุ่นควันและแก๊ซที่เป็นอันตรายๆอย่างเช่น ไนโตรเจนไดออกไซด์และซัลเฟอร์ไดออกไซด์เข้ามาในครัวเรือนได้
  • เมื่อทำอาหาร ต้องจัดการเรื่องการถ่ายเท: การทอดที่ใช้น้ำมันนั้นสร้างอนุภาคมลพิษ และการใช้เตาแก๊ซนั้นก็สามารถสร้างแก๊ซอันตรายเช่น NO2 (ไนโตรเจนไดออกไซด์) เพราะฉะนั้นเวลาประกอบอาหารพยายามให้ครัวมีระบบระบายอากาศที่เชื่อมไปด้านนอกบ้าน หรือถ้าอากาศด้านนอกสะอาดพอก็สามารถเปิดหน้าต่างได้ หรือใช้พัดลมระบายอากาศที่ติดแผ่นกรองมลพิษอีกชั้นนึงก็ได้
  • ใช้เครื่องกรองอากาศ: เครื่องกรองอากาศที่ดีควรจะจับได้มากกว่าอนุภาคมลพิษหรือสารก่อให้เกิดภูมิแพ้ที่เล็กกว่า PM0.1แต่รวมไปถึงการกรองแก๊ซที่เป็นอันตรายต่างๆอย่างเช่น สารเคมีระเหยง่ายหรือไนโตรเจนไดออกไซด์ เพื่อทำความสิ่งแวดล้อมภายในห้องให้หมด



ใหม่กว่า เก่ากว่า