HUAWEI เปิดตัวโซลูชันพลังงานแห่งอนาคตสำหรับอุตสาหกรรมไอซีที (Next-Generation ICT Energy) มุ่งขับเคลื่อนการพัฒนาเครือข่ายคาร์บอนต่ำ


ในงานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส ประจำปี 2566 (Mobile World Congress หรือ MWC 2023) ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน ในฐานะงานใหญ่ที่สุดและทรงอิทธิพลที่สุดของโลกสำหรับอุตสาหกรรมการสื่อสาร คุณบ๊อบ เหอ (Bob He) ประธานกลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์พลังงานและดาต้าเซ็นเตอร์ของหัวเว่ย (Huawei Data Center Facility and Critical Power Product Line) ได้เปิดตัวโซลูชันพลังงานแห่งอนาคตสำหรับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยโซลูชันเหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมทั่วโลกในการสร้างเครือข่ายอัจฉริยะที่เรียบง่ายและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

พลังงานอัจฉริยะสำหรับสถานีฐาน: ปัจจัยสำคัญในการสร้างเครือข่ายคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

โซลูชันพลังงานแบบดั้งเดิมสำหรับสถานีฐานโทรคมนาคมมักจะมีต้นทุนการเป็นเจ้าของสูงและปล่อยคาร์บอนมาก ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมในการสร้างสถานีฐานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน หัวเว่ยจึงได้เปิดตัวแนวคิด “พลังงานสำหรับสถานีฐานเพื่อสร้างเครือข่ายคาร์บอนต่ำ” โดยโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมใหม่นี้ผนวกรวมเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์กำลังและดิจิทัลเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างสถานีฐานที่มอบ “ความเรียบง่ายอัจฉริยะ” “ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ” และ “การกักเก็บพลังงานอัจฉริยะ”

 

ความเรียบง่ายอัจฉริยะ: ด้วยการเปลี่ยนโครงสร้างของสถานีฐานจากห้องเป็นตู้ หรือจากตู้เป็นเสา โซลูชันของหัวเว่ยจึงทำให้การติดตั้งเครือข่าย 4G/5G ง่ายขึ้น และปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานของสถานีฐานให้ดีขึ้นจาก 60% เป็น 97%

 

ระบบไฟฟ้าแบบเบลด (Blade Power System) ขนาด 12 กิโลวัตต์ของหัวเว่ยสามารถติดตั้งบนเสาได้ จึงช่วยลดพื้นที่ติดตั้งระบบจาก 1 ตารางเมตรเหลือ 0 และใช้เวลาแค่ 2 ชั่วโมงในการติดตั้ง ระบบนี้ใช้การกระจายความร้อนตามธรรมชาติซึ่งมอบประสิทธิภาพการใช้พลังงานของสถานีฐานสูงถึง 97%


ระบบไฟฟ้าแบบเบลด (Blade Power System) ขนาด 12 กิโลวัตต์ของหัวเว่ยสามารถติดตั้งบนเสาได้ จึงช่วยลดพื้นที่ติดตั้งระบบจาก 1 ตารางเมตรเหลือ 0 และใช้เวลาแค่ 2 ชั่วโมงในการติดตั้ง ระบบนี้ใช้การกระจายความร้อนตามธรรมชาติซึ่งมอบประสิทธิภาพการใช้พลังงานของสถานีฐานสูงถึง 97%

 

ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ: ด้วยการจัดตารางการใช้พลังงานหลากหลายรูปแบบอย่างชาญฉลาด เราจึงสามารถลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยไฟฟ้าปรับเฉลี่ย (LCOE) พร้อมกับเพิ่มสัดส่วนพลังงานสีเขียวที่ใช้ในสถานีฐาน โซลูชันไอโซลาร์ 2.0 (iSolar 2.0) ของหัวเว่ย ใช้สถาปัตยกรรมการเชื่อมต่อแบบอนุกรมไฟฟ้าแรงสูงและผลิตภัณฑ์โซลาร์เบลด (Solar Blade) แบบ 4 in 1 เพื่อทำให้การจัดหาไฟฟ้าสีเขียวทำได้ง่ายขึ้น และช่วยลดต้นทุนด้านวิศวกรรมลง 15% นอกจากนี้ อุปกรณ์เพิ่มประสิทธิภาพโซลาร์เซลล์ยังถูกนำมาใช้เพื่อลดการสูญเสียพลังงานจากเงาบังและเพิ่มการผลิตไฟฟ้าสะอาด 20% การผนึกกำลังของพลังงานแสงอาทิตย์+ระบบกักเก็บพลังงาน สามารถทำให้อัตราการใช้พลังงานสีเขียวสูงถึง 100%

 

การกักเก็บพลังงานอัจฉริยะ: แบตเตอรี่ลิเธียมซึ่งทำหน้าที่เป็นทั้งแหล่งพลังงานสำรองและระบบกักเก็บพลังงาน จะถูกนำมาใช้ในวงกว้างตามสถานีฐาน โดยสถานีฐานโทรคมนาคมที่ใช้แบตเตอรี่ลิเธียมจะมีรายได้เพิ่มขึ้นและมีค่าใช้จ่ายลดลงด้วยฟีเจอร์ใหม่ ๆ เช่น Peak Staggering และโรงไฟฟ้าเสมือนจริง นอกจากนี้ โซลูชันไซคลิก คลาวด์ลิ (Cyclic CloudLi) ของหัวเว่ย หรือที่เรียกว่า 200Ah@5U ยังมีประสิทธิภาพการกักเก็บพลังงานเพิ่มขึ้น 50% เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์รุ่นก่อน จึงทำให้กักเก็บพลังงานได้อย่างเต็มที่

 

ดาต้าเซ็นเตอร์อัจฉริยะ สร้างอนาคตสีเขียว

 

ดาต้าเซ็นเตอร์ทำหน้าที่เป็นรากฐานของโลกดิจิทัล แต่ก็กินพลังงานมหาศาล หัวเว่ยจึงขอแนะนำโซลูชันดาต้าเซ็นเตอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแบบครบวงจรสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมสามารถบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน

 

ระบบไฟฟ้า: ในฐานะโซลูชันที่ใช่สำหรับระบบจ่ายไฟฟ้าในดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ หัวเว่ย พาวเวอร์พอด 3.0 (Huawei PowerPOD 3.0) มีจุดเด่นที่ประหยัดพื้นที่ ประหยัดพลังงาน ประหยัดเวลา และไร้กังวล โดยช่วยลดจำนวนตู้ลงจาก 21 ตู้ เหลือเพียง 10 ตู้ และประหยัดพื้นที่ได้ถึง 50% นอกจากนี้ โหมดเอส-อีโค (S-ECO) ยังทำให้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเป็น 98.4% จากเดิมที่ 95.4% และด้วยการใช้บัสบาร์สำเร็จรูปแทนเคเบิล เวลาในการส่งมอบจึงลดลงจาก 2 เดือน เหลือเพียง 2 สัปดาห์ นอกจากนี้ คุณสมบัติเด่นของระบบอัจฉริยะไอพาวเวอร์ (iPower) ยังทำให้คาดการณ์การซ่อมบำรุงได้ จึงเปลี่ยนการซ่อมบำรุงเชิงรับให้กลายเป็นการซ่อมบำรุงเชิงรุ

 

ระบบระบายความร้อน: อีเอชยู (EHU) โซลูชันระบายความร้อนแบบระเหยทางอ้อม ใช้ตัวแลกเปลี่ยนความร้อนพอลิเมอร์และพัดลมมอเตอร์อีซีเพื่อใช้ประโยชน์จากแหล่งระบายความร้อนฟรีให้ได้มากที่สุด โดยช่วยลดการแลกเปลี่ยนความร้อนหลายครั้งให้เหลือครั้งเดียว ทำให้ประสิทธิภาพการระบายความร้อนดีขึ้น ซึ่งเมื่อเทียบกับโซลูชันระบายความร้อนด้วยน้ำเย็นแบบดั้งเดิม โซลูชันอีเอชยูให้ค่าประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (PUE) ต่ำสุด 1.15 และค่าประสิทธิภาพการใช้น้ำ (WUE) ต่ำสุด 0.37 ในดาต้าเซ็นเตอร์แห่งหนึ่งในประเทศไอร์แลนด์ อีกทั้งยังลดจำนวนรายการปฏิบัติการและรายการซ่อมบำรุงลง 60% และด้วยการใช้สถาปัตยกรรมแบบสำเร็จรูปและถอดประกอบได้ ระบบระบายความร้อนจึงรวมส่วนประกอบหลายส่วนไว้ในตู้คอนเทนเนอร์เดียว จึงร่นเวลาส่งมอบลง 50%

 

ในอนาคต หัวเว่ยจะสร้างสรรค์นวัตกรรมและสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรทั่วโลกต่อไป เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมในการสร้างเครือข่ายคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในขณะที่ทั่วโลกกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

ใหม่กว่า เก่ากว่า