บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เร่งต่อยอดโครงการรถดิจิทัลเพื่อสังคมในปี พ.ศ. 2566 ขยายผลการวางรากฐานที่แข็งแกร่งให้แก่อีโคซิสเต็มด้านบุคลากรดิจิทัลของประเทศไทย โดยจะเริ่มจากการบ่มเพาะบุคลากรไอซีทีในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ด้วยองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี วางรากฐานทางด้านดิจิทัลที่แข็งแกร่งให้กับกลุ่มนักเรียนในพื้นที่ห่างไกล เพื่อให้บุคลากรไทยในพื้นที่ต่าง ๆ สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเข้ากับการเกษตร การประมง หรืออาชีพอื่น ๆ ในชีวิตประจำวันได้ พร้อมวางแผนต่อยอดโครงการรถดิจิทัลในไทยจากการผนวกกับโครงการการฝึกอบรมและแข่งขันบุคลากรไอซีทีอื่น ๆ ของหัวเว่ยในอนาคต
นายเดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด กล่าวถึงโครงการรถดิจิทัลเพื่อสังคม (Digital Bus) ของหัวเว่ย ประเทศไทย ว่า “ในปี พ.ศ. 2566 เราจะเริ่มต้นโครงการรถดิจิทัลเพื่อสังคมที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อให้ทั้งเยาวชนและคนในพื้นที่ได้มีโอกาสเรียนรู้เทรนด์เทคโนโลยีใหม่ ๆ สามารถนำองค์ความรู้ด้านดิจิทัลไปปรับใช้กับการประกอบอาชีพในชีวิตประจำวันได้ โครงการนี้จึงถือเป็นการสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้แก่แรงงานด้านดิจิทัลในประเทศไทย และเป็นก้าวแรกในปีนี้สำหรับการเปิดโอกาสให้คนไทยในพื้นที่ห่างไกลได้มีช่องทางในการเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างสะดวกง่ายดาย รวมทั้งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิต โดยนอกจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หัวเว่ยยังมีแผนจะขยายโครงการรถดิจิทัลให้ครอบคลุมอีกอย่างน้อย 7 จังหวัดในประเทศไทย”
เขายังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หัวเว่ย ประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการลงทุนในโครงการที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรด้านดิจิทัลของไทยมาโดยตลอด เพื่อเสริมสร้างอีโคซิสเต็มด้านบุคลากรไอซีทีให้มีความแข็งแกร่งในประเทศไทย อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญของแรงงานด้านดิจิทัลในประเทศ และผลักดันให้ไทยยกระดับขึ้นสู่การเป็นศูนย์กลางทางดิจิทัลในอาเซียน ซึ่งนอกจากหัวเว่ยจะยังคงเดินหน้าผลักดันโครงการรถดิจิทัลเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่องในปีนี้ เพื่อให้ครอบคลุมบุคลากรทุกกลุ่มในประเทศไทย เพิ่มองค์ความรู้ไอซีทีให้แก่นักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา รวมทั้งเปิดโอกาสให้คนในชุมชนในพื้นที่ห่างไกลสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล และองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับอาชีพของคนในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร การทำประมง การทำเหมือง และอาชีพอื่น ๆ หัวเว่ยยังวางแผนจะขยายผลด้วยการนำโครงการรถดิจิทัลเพื่อสังคมไปเชื่อมต่อกับโครงการด้านการฝึกอบรมและการแข่งขันบุคลากรไอซีทีโครงการอื่น ๆ ของหัวเว่ย เพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรไอซีทีไทยสามารถมีช่องทางพัฒนาศักยภาพของตัวเองได้อย่างต่อเนื่อง
“ปัจจุบัน ประเทศไทยยังคงเผชิญกับความท้าทายเรื่องการขาดแคลนบุคลากรดิจิทัล ส่งผลให้เกิดความไม่เท่าเทียมในภาคสังคม ทำให้การผลักดันโครงการพัฒนาทักษะไอซีทีเพื่อรองรับยุคดิจิทัลที่กำลังจะมาถึงถือเป็นหนึ่งในเรื่องที่สำคัญมาก โดยหัวเว่ย ประเทศไทย จะมุ่งมั่นผลักดันความเท่าเทียมและคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทยด้วยรถดิจิทัลเพื่อสังคมและเทคโนโลยีของเรา เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าในการประกอบอาชีพ พร้อมส่งมอบองค์ความรู้ด้านไอซีทีให้คนในท้องถิ่นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ และทำให้คนไทยเข้าถึงการศึกษารวมถึงทักษะด้านเทคโนโลยีที่จำเป็นได้อย่างเท่าเทียม” นายเดวิด หลี่ กล่าว
โครงการ “รถดิจิทัล” เพื่อสังคมโดยบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ส่งมอบมอบความรู้ด้านดิจิทัลภาคปฏิบัติและพื้นฐานแก่นักเรียนมากกว่า 3,000 คนในพื้นที่ชนบทของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา โดยได้นำร่องโครงการรถดิจิทัลใน 8 จังหวัด ครอบคลุมกลุ่มเด็กนักเรียน กลุ่มเปราะบาง กลุ่มแรงงาน เอสเอ็มอี และเกษตรชุมชน ในจังหวัดสิงห์บุรี สงขลา พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา เชียงใหม่ พิจิตร ชลบุรี และนครราชสีมา ตามด้วยการถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยี เพื่อเร่งพัฒนาศักยภาพบุคลากรไอซีทีในกลุ่มเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพในจังหวัดพะเยา พัฒนาทักษะด้านดิจิทัลให้แก่บุคลากรแรงงานในจังหวัดเพชรบูรณ์
นอกจากนี้ รถดิจิทัลดังกล่าวยังได้นำเทคโนโลยีของ Huawei Fusion Solar Residential Smart PV มาประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อน เพื่อการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้พลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ ซึ่งในปีนี้ หัวเว่ยยังได้มีการปรับเปลี่ยนและเพิ่มเนื้อหาสำหรับการเรียนการสอนที่เจาะลึกมากขึ้น โดยผ่านทางอุปกรณ์ Huawei Matepad เพื่อให้เด็ก ๆ ได้ทดลองสัมผัสประสบการณ์ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นหัวข้อเรื่องการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ภัยคุกคามทางไซเบอร์ และเทคโนโลยีพลังงานสะอาด รวมถึงมีเนื้อหาพิเศษสำหรับกลุ่มเด็กเปราะบาง เช่น Braille Solution เป็นต้น ทั้งนี้ โครงการรถดิจิทัลนี้เป็นการให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อร่วมยกระดับการศึกษาในประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ซึ่งเป็นไปตามพันธกิจ “เติบโตในประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย” ของหัวเว่ย เพื่อนำเทคโนโลยีไปสู่ทุกคน ทุกบ้าน และทุกอค์กร และเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้เข้าสู่ยุคอัจฉริยะที่เชื่อมถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ