มะซอน (Amazon) และองค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนานาชาติ (Conservation International) ประกาศในวันนี้ที่การประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ (COP27) ปี 2565 เรื่องการจัดตั้งสถาบันสถาบันบลูคาร์บอนระหว่างประเทศ (International Blue Carbon) สถาบันบลูคาร์บอนจะช่วยบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปกป้องชุมชนชายฝั่ง โดยสนับสนุนการฟื้นฟูและปกป้องระบบนิเวศบลูคาร์บอนชายฝั่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคอื่น ๆ
บลูคาร์บอนคือคาร์บอนที่สะสมอยู่ในระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง เช่น ป่าชายเลน หญ้าทะเล และที่ราบลุ่มน้ำขึ้นถึง ระบบนิเวศเหล่านี้จะกักเก็บคาร์บอนในปริมาณมหาศาลทั้งในพืชและในตะกอน และด้วยเหตุนี้จึงได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนสำคัญของการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
สถาบันบลูคาร์บอนระหว่างประเทศจะตั้งอยู่ในสิงคโปร์และจะมุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และหมู่เกาะแปซิฟิกในการตระหนักถึงศักยภาพของบลูคาร์บอน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพื้นที่ที่เป็นป่าชายเลนมากกว่าหนึ่งในสามของโลก อย่างไรก็ตาม การสูญเสียป่าชายเลนก็เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้มากที่สุดเช่นกัน ในภูมิภาคเอเชียจนถึงหมู่เกาะแปซิฟิก ชุมชนชายฝั่งมีความเสี่ยงมากขึ้นต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและพายุที่รุนแรง ระบบนิเวศของบลูคาร์บอนสามารถช่วยเสริมสร้างชุมชนจากผลกระทบของสภาพอากาศในขณะที่ให้น้ำจืด สนับสนุนความหลากหลายทางชีวภาพ และประโยชน์ทางธรรมชาติอื่น ๆ
สถาบันบลูคาร์บอนระหว่างประเทศได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจสิงคโปร์ (Singapore Economic Development Board) จะทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมความรู้เพื่อสร้างความสามารถ ความเชี่ยวชาญ มาตรฐาน และวิธีการ เพื่อพัฒนาและขยายโครงการบลูคาร์บอนซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างเร่งด่วน
สถาบันจะทำงานร่วมกับภาครัฐทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อรวมบลูคาร์บอนในนโยบายในการยับยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ นอกจากนี้ องค์กรนี้จะสนับสนุนและเพิ่มการศึกษาให้กับผู้ปฏิบัติงาน ผู้กำหนดนโยบาย และชุมชนเพื่อเข้าถึงความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาตรฐาน แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด และทรัพยากรล่าสุดเกี่ยวกับโครงการบลูคาร์บอน นอกจากนี้ สถาบันจะร่วมมือกับสถาบันการศึกษา องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร องค์กรภาคเอกชน และภาครัฐเพื่อพัฒนาเครื่องมือสำหรับการพัฒนาบลูคาร์บอน ซึ่งรวมถึงวิธีการและมาตรฐานคาร์บอนเครดิต กรอบนโยบาย และเทคนิคต่าง ๆ ในการนำไปใช้งานจริง
ในปีแรก โครงการนี้จะมุ่งเน้นไปที่การสร้างเครื่องมือเพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูระบบนิเวศของบลูคาร์บอน การพัฒนาแนวทางที่สำคัญเกี่ยวกับบลูคาร์บอนตามเป้าหมายของแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (Nationally Determined Contributions: NDCs) และการเพิ่มความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องคุณค่าของหญ้าทะเลและระบบนิเวศของสาหร่ายทะเลที่มีต่อสภาพภูมิอากาศ
เอมิลี พิดเจียน รองประธานฝ่ายวิทยาศาสตร์ทางทะเลและนวัตกรรม องค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนานาชาติ กล่าวว่า “ระบบนิเวศบลูคาร์บอนเป็นระบบนิเวศที่อุดมด้วยคาร์บอนมากที่สุดในโลก แต่ถูกคุกคามจากทั่วโลก ด้วยเหตุนี้ระบบนิเวศบลูคาร์บอนจึงอยู่ในลำดับต้น ๆ ของการอนุรักษ์ที่สำคัญที่สุดในโลก Conservation International รู้สึกยินดีที่ได้ร่วมมือกับ Amazon ในการจัดตั้งสถาบันบลูคาร์บอนระหว่างประเทศ เพื่อตระหนักถึงศักยภาพในการบรรเทาสภาพภูมิอากาศและการปรับตัวของระบบนิเวศบลูคาร์บอนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเต็มที่ และบรรลุผลลัพธ์ที่มีคุณภาพและยั่งยืนสําหรับความหลากหลายทางชีวภาพชายฝั่ง ความสามารถของชุมชนในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างยั่งยืน และสภาพภูมิอากาศ องค์กรของเราทุ่มเทเพื่อกระตุ้นการอนุรักษ์และฟื้นฟูชายฝั่ง ผ่านโครงการบลูคาร์บอนคุณภาพสูงและการลงทุน และกำลังส่งมอบความรู้และเครื่องมือที่จําเป็น ซึ่งเป็นรากฐานสําหรับการรวมบลูคาร์บอนไว้ในนโยบายและวิธีสร้างแรงจูงใจต่าง ๆ”
ในฐานะที่โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของ Amazon ที่มีมาอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับโซลูชันการจัดการอย่างยั่งยืน Amazon จะมอบเงินช่วยเหลือสูงถึง 3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อจัดตั้งและให้ทุนสนับสนุนการดําเนินงานของสถาบันบลูคาร์บอนในช่วง 3 ปีแรก เพื่อช่วยในการสร้างและขยายโครงการบลูคาร์บอนที่สำคัญในภูมิภาคนี้
“ที่ Amazon เราลงทุนในโซลูชันการจัดการอย่างยั่งยืนเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนนอกห่วงโซ่คุณค่าของเรา และเพิ่มความพยายามในการลดคาร์บอนที่จากการดำเนินงานทั้งหมด โครงการบลูคาร์บอนนี้มีศักยภาพสูงในการช่วยกักเก็บคาร์บอน บริการทางระบบนิเวศ และการดำรงชีพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสภาพแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่งที่อุดมสมบูรณ์ ในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ เราต้องการการลงมือทำทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ และ Amazon ยังคงมุ่งมั่นที่จะลงทุนกับทั้งสองด้าน” คาร่า เฮิร์สต์ รองประธานฝ่ายความยั่งยืนทั่วโลกของ Amazon กล่าว
โหย่ว แลม เคียง (Yeoh Lam Keong) ประธานองค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนานาชาติ กองทุนอนุรักษ์สิงคโปร์ (Conservation International Singapore Conservation Trust) กล่าวว่า "องค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนานาชาติในสิงคโปร์เติบโตขึ้นอย่างมาก นับตั้งแต่ที่ได้จดทะเบียนเป็นองค์กรการกุศลและ Institution of Public Character เมื่อ 5 ปีที่แล้ว นอกจากโปรแกรมการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่กำลังเติบโตและกองทุนการเงินที่ยั่งยืนแห่งใหม่ สำหรับโครงการด้านสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคแล้ว สถาบันบลูคาร์บอนระหว่างประเทศของ Conservation International ยังเป็นเสาหลักที่สนับสนุนการทำงานวิจัยและวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับบลูคาร์บอนที่จำเป็น เพื่อช่วยบรรเทาวิกฤตสภาพภูมิอากาศ”
Conservation International เป็นผู้นําด้านวิทยาศาสตร์ระดับโลกและการดําเนินการเกี่ยวกับบลูคาร์บอน โดยได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ สถาบันวิจัย องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร และชุมชนชายฝั่งทั่วโลก สถาบันได้ให้คำแนะนำแก่ภาครัฐในประเทศต่าง ๆ ได้แก่ เอกวาดอร์ คอสตาริกา ฟิจิ และโคลอมเบีย เกี่ยวกับนโยบายบลูคาร์บอน การจัดการการอนุรักษ์ และกลยุทธ์การลดผลกระทบจากสภาพอากาศ Conservation International ได้ร่วมมือกันในโครงการบลูคาร์บอนโครงการแรกที่ได้รับการรับรองโดย Verra (Verified Carbon Standard) ที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์ป่าชายเลนในโคลัมเบีย นอกจากนี้ ในความร่วมมือกับสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) และคณะกรรมการสมุทรศาสตร์ระหว่างรัฐบาลของยูเนสโก Conservation International ได้จัดตั้ง International Blue Carbon Initiative ซึ่งให้คําแนะนําการบูรณาการระบบนิเวศบลูคาร์บอนในแนวทางของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในการบันทึกค่าก๊าซเรือนกระจกของประเทศต่าง ๆ การพัฒนาวิธีการเครดิตบลูคาร์บอน และการรวมบลูคาร์บอนเข้ากับแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ
Amazon ได้จัดตั้งกองทุน Right Now Climate Fund ขึ้นในปี 2562 เพื่อสนับสนุนโซลูชันการจั ดการอย่างยั่งยืน ที่มีมูลค่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่า พื้นที่ชุ่มน้ำ และพื้นที่สีเขียวทั่วโลก ในปี 2564 Amazon ยังได้ช่วยก่อตั้ง LEAF Coalition (Lowering Emissions by Accelerating Forest Finance) หรือการจัดหาเงินทุนให้กั บประเทศที่ประสบความสำเร็ จในการลดการปล่อยมลพิษจากการตั ดไม้ ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มระดั บโลกของภาครัฐและบริษัทชั้นนำที่ ระดมเงินกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อการปกป้ องป่าในประเทศเขตร้อนและกึ่ งเขตร้อน โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อหยุ ดการตัดไม้ทําลายป่าในเขตร้อนทั่ วโลกในทศวรรษหน้าผ่านข้ อกำหนดทางกฎหมายในการลดการปล่ อยมลพิษจากการตัดไม้ทําลายป่า นอกจากนี้ Amazon ยังร่วมกับ The Nature Conservancy ในปี 2564 พัฒนา Agroforestry and Restoration Accelerator ในบราซิล ซึ่งคาดว่าจะช่วยกําจัดก๊าซคาร์ บอนไดออกไซด์ออกจากชั้ นบรรยากาศได้ถึง 10 ล้านตันภายในปี 2593 และ Amazon ยังได้สนับสนุนการเสริมสร้ างธรรมชาติในชุมชนที่บริษัทฯ เข้าไปดำเนินธุรกิจ เช่น โครงการ Family Forest Carbon Program ในสหรัฐอเมริกา, โครงการ Urban Greening ในเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี, Parco Italia tree planting ในเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี, และโครงการฟื้นธรรมชาติ ในสหราชอาณาจักร