หลังพบกรณีการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายแบบแฝง (Ghost Piracy) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บีเอสเอพร้อมช่วยเหลือผู้นำธุรกิจในการจัดการดูแลการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิที่ถูกต้องตามกฎหมาย |
บีเอสเอ พันธมิตรซอฟต์แวร์ ประกาศเปิดตัวช่องทางสายด่วนช่วยเหลือทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อช่วยเหลือธุรกิจในอุตสาหกรรมวิศวกรรม โครงสร้างพื้นฐาน และการก่อสร้าง ในการรับมือกับความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามการใช้งานลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อย่างถูกต้อง การตัดสินใจของบีเอสเอในการเปิดช่องทางสายด่วนครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากรายงานกรณีการใช้ "ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายแบบแฝง (Ghost Piracy)" ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ตรวจพบกรณีนักออกแบบมืออาชีพที่ทำงานด้านวิศวกรรม การก่อสร้าง และการออกแบบแอนิเมชัน ได้เข้าไปใช้งานซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย ในขณะที่ทำงานจากที่บ้าน โดยสายด่วนช่วยเหลือของบีเอสเอได้เปิดตัวและพร้อมดำเนินการในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย
สำหรับประเทศไทย นักออกแบบมืออาชีพที่ทำงานในอุตสาหกรรมด้านการออกแบบทั้งหลายสามารถติดต่อไปยังหมายเลข 065-060-7402 เพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนที่องค์กรธุรกิจของพวกเขาสามารถดำเนินการเพื่อปรับปรุงการใช้งานซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ที่ถูกต้องตามกฎหมายได้ ตัวแทนเจ้าหน้าที่ผู้รับสายจะช่วยแบ่งปันข้อมูลและเชื่อมต่อผู้ที่โทรติดต่อมากับผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้งานซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ซึ่งจะช่วยให้องค์กรต่าง ๆ มั่นใจได้ว่ากำลังปฏิบัติตามข้อกำหนดของการใช้งานซอฟต์แวร์ที่ถูกต้องเหมาะสม และทำให้องค์กรต่าง ๆ แน่ใจว่าพวกเขามีใบสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิที่ถูกต้องตามกฎหมายและตอบโจทย์การทำงานมากที่สุด
ผู้บริหารของบีเอสเอกล่าวว่า มันเป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างยิ่งเมื่อองค์กรในอุตสาหกรรมการออกแบบที่ทำงานด้านวิศวกรรมและโครงการก่อสร้างสำหรับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ มีการใช้งานซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายสำหรับงานออกแบบ
"เหตุผลหลักที่เราเปิดตัวช่องทางสายด่วนช่วยเหลือนั้น เป็นเพราะการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ของแท้และมีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) อย่างถูกต้องถือเป็นแนวทางป้องกันอย่างแรกในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์" นายดรุณ ซอว์เนย์ ผู้อำนวยการอาวุโส บีเอสเอ กล่าว "บีเอสเอจึงต้องการช่วยผลักดันให้องค์กรต่าง ๆ ตระหนักถึงประโยชน์ของการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) นอกจากนี้ การใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) นั้นถือว่าไม่ปลอดภัย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้เชี่ยวชาญกำลังออกแบบโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ มันไม่มีข้อแก้ตัวสำหรับความประมาทในการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย หากพูดถึงในแง่มุมความปลอดภัยของสาธารณะและระดับชาติ องค์กรต่าง ๆ ควรใช้ซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) และมีความปลอดภัยสูงสุดเท่านั้นในการทำงานโครงการก่อสร้างและออกแบบทางวิศวกรรม”
เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ในประเทศไทยได้รายงานกรณีการเข้าค้นสตูดิโอแอนิเมชันในกรุงเทพฯ ที่กำลังผลิตคอนเทนต์แนวบันเทิงให้กับแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิงระดับโลก เมื่อเจ้าหน้าที่ฯ เข้าตรวจตามหมายค้นกรณีการละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ พวกเขาพบว่าพนักงานองค์กรที่กำลังทำงานที่บ้านได้ใช้คอมพิวเตอร์ของสำนักงานจากระยะไกลเพื่อทำงานออกแบบให้เสร็จ โดยองค์กรดังกล่าวมีคอมพิวเตอร์จำนวน 20 เครื่องในสำนักงาน ซึ่งมีคอมพิวเตอร์กว่า 15 เครื่องในจำนวนดังกล่าว ที่ใช้ซอฟต์แวร์ออโตเดสก์ มายา (Autodesk Maya) โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ในการผลิตเทคนิคพิเศษ หรือ สเปเชียล เอฟเฟค ให้แก่ภาพยนตร์และแอนิเมชัน รวมมูลค่าซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) สูงถึง 2 แสนดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเกือบ 7 ล้านบาท
"ผู้นำธุรกิจในอุตสาหกรรมการก่อสร้างและวิศวกรรมจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้แน่ใจว่างานที่พวกเขาสร้างขึ้นมานั้นมาจากการใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้น ผู้นำธุรกิจควรใช้แนวทางเชิงรุกในการจัดการกับสินทรัพย์ซอฟต์แวร์ของตน ถึงแม้ว่า ผู้นำธุรกิจหลายคนอาจคิดว่าอาชญากรรมทางไซเบอร์คงจะไม่เกิดขึ้นกับพวกเขา แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันสามารถเกิดขึ้นได้ ดังนั้น ผู้นำธุรกิจควรสื่อสารอย่างชัดเจนเกี่ยวกับความจำเป็นในการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ภายในองค์กรของตน" พ.ต.อ.ไกรวิศท์ แสนทวีสุข ผู้กำกับการ 1 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) กล่าว
จากข้อมูลของบีเอสเอ ผู้นำธุรกิจควรใช้แนวทางเชิงรุกในการจัดการกับสินทรัพย์ซอฟต์แวร์ขององค์กร ซึ่งรวมไปถึงการสื่อสารกับพนักงานอย่างชัดเจนเกี่ยวกับขั้นตอนและกระบวนการสำหรับการใช้ซอฟต์แวร์ และการออกคำสั่งที่ชัดเจนเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ซอฟต์แวร์ที่ผิดกฎหมาย ดังนั้น องค์กรขนาดใหญ่ จึงได้รับการแนะนำและสนับสนุนให้ใช้โปรแกรมสำหรับการบริหารจัดการสินทรัพย์ซอฟต์แวร์ (Software Asset Management) เพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรมีการใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ในประเทศไทย บีเอสเอได้ดำเนินการเปิดตัวช่องทางสายด่วนช่วยเหลือ ซึ่งพนักงานองค์กรต่าง ๆ สามารถแจ้งกรณีที่องค์กรมีการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายได้โดยตรง โดยรางวัลของการแจ้งเหตุดังกล่าวมีมูลค่าสูงถึง 1 ล้านบาท หากพบเห็นเหตุที่เข้าข่าย สามารถติดต่อไปยังหมายเลข +66 02-711-6193 เพื่อแจ้งการละเมิดลิขสิทธิ์การใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย