ความนิยมจากคนทั้งโลกรวมถึงคนไทย มีสถิติจำนวนผู้ลงทะเบียนเป็นผู้ใช้ NFT ในไทยกว่า 5.65 ล้านราย สูงเป็นอันดับต้นๆของโลก นักการตลาดจากทั่วโลกเชื่อว่า NFT กำลังจะกลายเป็นหนึ่งในรูปแบบการทำตลาดยุคดิจิทัลที่มาแรงมาก เพราะสามารถเข้าถึงลูกค้าทั่วโลกโดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดีในเวลาอันรวดเร็ว
ล่าสุด LINE ประเทศไทย จัดงานสัมมนา NFT FOR BUSINESS: The Future of Marketing with LINE CREATORS นำเสนอความรู้เกี่ยวกับ NFT ตั้งแต่ปูพื้นฐาน จนถึงการประยุกต์ใช้ในการตลาดเพื่อธุรกิจ รวมถึงเคสตัวอย่างการใช้งานที่ประสบความสำเร็จ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยได้เห็นและเข้าใจในการนำเทรนด์เหล่านี้ไปพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดเพิ่มความสามารถการแข่งขันให้กับธุรกิจ
ชวนรู้จัก NFT กระแสมาแรงของโลก
พงศ์พิศิชญ์ ประทีปะวณิช ผู้ก่อตั้ง iKnowTerry Page ให้ข้อมูลในหัวข้อ ‘The Burgeoning Trend of NFT’ เกี่ยวกับพื้นฐานของ NFT ว่า คอนเซปต์หลักของ NFT คือ สถานะความเป็นเจ้าของ (Proof of Ownership) โดยเห็นชัดจากในยุคเริ่มต้นที่มีการนำงานศิลปะมาแปลงเป็น NFT ให้ผู้ที่ต้องการสะสมประมูลไปถือครอง โดยความเป็นเจ้าของนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับหลากหลายธุรกิจได้ ตั้งแต่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ไปจนถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ตลาดของ NFT นั้นเริ่มต้นขึ้นในช่วงปี 2015 ก่อนที่จะเติบโตขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน ในแต่ละวันมีโปรเจกต์ NFT ใหม่ๆ เกิดขึ้นเป็นหลักร้อยและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยรูปแบบหลักของ NFT จะเป็นชิ้นงานที่เป็นรูปภาพ วิดีโอ และเสียง โดยรูปภาพจะได้รับความนิยมมากที่สุดและมีความหลากหลายของชิ้นงาน ทั้งที่เป็นงานภาพวาดทั่วไปที่ถูกนำมาแปลงให้เป็นสินทรัพย์ในรูปแบบของดิจิทัล ไปจนถึงการทำ Avatars หรือรูปภาพโปรไฟล์ในโซเชียลมีเดียต่างๆ โดยชิ้นงานที่ได้รับความนิยมมากๆ คือสิ่งที่เรียกว่า Generative Profile Photo มีลักษณะเป็นคอลเลคชั่นภาพหลายพันรูปที่ไม่เหมือนกันเลย
ผู้สนใจที่ต้องการเริ่มใช้งาน NFT จะต้องเริ่มจากมีกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเชื่อมเข้าไปยังเชนต่างๆ ของบล็อกเชนได้ อย่าง Ethereum, Polygon หรือ Solana เพื่อเข้าไปเลือกซื้อผลงาน NFT จากมาร์เก็ตเพลส โดยที่ในแต่ละบล็อกเชนก็จะมีการเก็บค่าทำธุรกรรม (Gas Fee) ที่แตกต่างกัน และมีระดับความน่าเชื่อถือของ NFT ที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการเลือกซื้อผลงาน NFT
NFT เป็นหนึ่งในสกุลเงินดิจิทัลที่มีความผันผวนสูง และได้รับความนิยมอย่างมาก มูลค่าการซื้อขายในตลาดโลกเคยแตะที่ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.5 หมื่นล้านบาท จากจำนวนผู้ใช้งาน Active Wallet ประมาณ 1.16 ล้านบัญชีทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานการณ์ของตลาดสกุลเงินดิจิทัลที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทำให้นักลงทุนกลุ่มใหม่ๆ ที่เข้ามาในตลาด NFT เพิ่มขึ้นไม่มาก มูลค่าซื้อขายในตลาดจึงลดลงเหลืออยู่ที่ประมาณ 70 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2.5 พันล้านบาท
ในมุมของผู้บริโภคหรือนักลงทุน หากต้องการเลือกซื้อ NFT ต้องเริ่มจากดูรูปแบบของการใช้งาน (Utility) ที่มีความชัดเจน ความสวยงามของชิ้นงาน (Artwork) ที่ตรงกับความชอบ หรือเป็นเทรนด์ที่จะได้รับความนิยมในอนาคต มีแผนการดำเนินงาน (Roadmap) ที่ชัดเจน รวมถึงความเคลื่อนไหวของคอมมูนิตี้ โปรไฟล์ของทีมที่พัฒนา ช่องทางสื่อสารที่ชัดเจน และสุดท้ายที่สำคัญ คือ ต้องเป็นผลงานที่ชอบ
NFT Early Adopter เรียนรู้ก่อนใคร เติบโตไปได้เร็วกว่า
เติบโตไปกับกระแสนี้ ศุภกฤษฎ์ บุญสาตร์ ผู้ก่อตั้ง Bitcast ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ภายใต้หัวข้อ “NFT 101 for Early Adopter” ว่า วันนี้ NFT ยังถือเป็นยุคเริ่มต้น คนส่วนมากยังไม่รู้จักและยังไม่รู้จะใช้ประโยชน์จาก NFT อย่างไร เปรียบเสมือนยุค Internet ในช่วงเริ่มต้นที่คงไม่มีใครจินตนาการได้ในวันนั้น ว่าจะมีคนใช้งานมากถึงเกือบ 5 พันล้านคนในวันนี้ และสร้างมูลค่ามหาศาลให้กับเศรษฐกิจโลก
สำหรับพัฒนาการของ NFT ก็มีการเติบโตที่รวดเร็วไปพร้อมๆกับ Cryptocurrency โดยเฉพาะอย่างยิ่ง NFT ถูกทำให้เป็นที่รู้จักในช่วงประมาณปี 2017-2018 ที่ ICO (An initial coin offering) หรือการนำเสนอเหรียญใหม่สู่ตลาดคริปโตฯ ขยายตัวอย่างมาก โดยได้ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเกมอย่างแพร่หลาย ประกอบกับการพัฒนาการของการเขียนโปรแกรมในยุค 3.0 (Web 3.0) ที่เพิ่มความสามารถให้กับการใช้งาน มีความสามารถให้ผู้ใช้งานสามารถครอบครอง สามารถแสดงความเป็นเจ้าของอยู่บนโปรแกรมเว็บเบสได้ ยิ่งเป็นการสนับสนุนการใช้งาน NFT บนชุมชนออนไลน์ต่างๆ
อย่างไรก็ตาม หากเทียบมูลค่าของ NFT กับตลาดเหรียญดิจิทัลทั้งหมด NFT ยังมีสัดส่วนไม่ถึง 1% ซึ่งยังถือว่าอยู่ในอัตราที่ต่ำมาก แต่ก็แสดงให้เห็นถึงโอกาสเติบโตมากเช่นเดียวกัน และเมื่อเปรียบเทียบความนิยมการถือครอง NFT ในโลก โดยดูจากจำนวน Wallet จะเห็นว่า NFT ประเภทงานอาร์ตและของสะสมมีจำนวน Wallet ที่แอคทีฟมากกว่า NFT ประเภทเกมมาก อาจเป็นเพราะมีจำนวนคนที่ Mint งานประเภทอาร์ตขึ้นสู่ตลาดเยอะกว่าและมีผู้สนใจซื้อเพื่อถือครองมากกว่า แต่หากดูในมุมของการซื้อขายแลกเปลี่ยน NFT ประเภทเกมจะมีการ trade หรือซื้อขายค่อนข้างมากพอๆ กับ NFT ประเภทอาร์ตและของสะสม ซึ่งเชื่อว่าเป็นธรรมชาติของผู้เล่นเกม ที่จะมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันอยู่ตลอด ทั้งนี้ ยอดการขายโดยเฉลี่ยของ NFT ทั้ง 2 ประเภทถือว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ มาโดยตลอด จึงถือเป็นโอกาสอย่างมากไม่เพียงสำหรับครีเอเตอร์ ที่เป็นตลาดสำหรับสร้างสรรค์ผลงานเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับตนเอง แต่ยังเป็นโอกาสของแบรนด์ในการทำแคมเปญการตลาดที่จะสามารถเชื่อมต่อโลกออนไลน์และออฟไลน์เข้าไว้ด้วยกัน
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้โลกดิจิทัลจะพัฒนาไปสู่โอกาสที่เปิดกว้างขึ้นอย่างมากสำหรับเหล่าครีเอเตอร์และนักการตลาด แต่ยังมีอีกหลายสิ่งที่ต้องเรียนรู้ในฐานะ Early Adopter ทั้งความรู้เรื่องธุรกิจ ที่จะต้องเข้าใจตลาด ความต้องการลูกค้า และช่องทางการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย ความรู้ด้านเทคโนโลยี ที่ต้องเข้าใจการจัดการกับสินทรัพย์ดิจิทัล วิธีการเก็บ วิธีการ Transfer วิธีการ Mint หรือแม้แต่แพลตฟอร์มการซื้อขายที่เหมาะสมกับคอนเท้นที่สร้างสรรค์ขึ้น เหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญสู่การต่อยอด NFT สู่ธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้
นอกจากความรู้ ความเข้าใจในประวัติ ความเป็นมา และสถานการณ์เทรนด์ปัจจุบันของ NFT แล้ว ภายในงาน LINE ยังได้ประกาศความพร้อมในการเป็นพันธมิตรกับแบรนด์เพื่อสร้างสรรค์แคมเปญการตลาดยุคใหม่บนโลก NFT ผ่าน LINE CREATORS ซึ่งเป็นบริการแบบครบวงจรเพื่อนำพาแบรนด์เข้าสู่การทำตลาดด้วย NFT ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมตั้งแต่การทำเวิร์คช้อป ระดมสมองร่วมกับแบรนด์ เพื่อทำการออกแบบผลงาน NFT จนถึงการนำผลงานขึ้นแพลตฟอร์ม NFT เพื่อเข้าถึงลูกค้าผู้บริโภค
สำหรับผู้ที่สนใจอยากศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทรนด์บนโลก NFT พร้อมเรียนรู้การทำการตลาดด้วย NFT บนโลกดิจิทัล สามารถรับชมงาน ‘NFT for Business: The Future of Marketing with LINE CREATORS’ ย้อนหลังได้ที่ https://lin.ee/R4FKdoY/wcvn