IoT ยังไม่ถูกใช้อย่างเต็มศักยภาพในปัจจุบัน
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) พบว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เชื่อมต่อ IoT จะมีการเติบโตมหาศาล โดยคาดการณ์ว่าจะทะลุ 30.9 พันล้านอุปกรณ์ ภายในปี 2568 ทว่าอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง หรือ IoT ยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้น แม้ว่าแนวคิดและการนำ IoT มาประยุกต์ใช้ จะพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ นับตั้งแต่ที่มีการเริ่มใช้คำนี้มานานกว่าสองทศวรรษ ถึงกระนั้นก็ตาม หลายบริษัทยังคงพลาดโอกาสมากมายในการปรับปรุงธุรกิจให้มีความยืดหยุ่น ยั่งยืน และสร้างมูลค่าได้ดียิ่งขึ้น
ตัวอย่างเช่น IoT มีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับเศรษฐกิจทั่วโลกในปี 2573 โดยประมาณอยู่ที่ 14 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตาม หากไม่มีการปรับปรุงด้านเทคโนโลยี ก็จะไม่สามารถบรรลุตัวเลขนี้ได้ เช่น การผสานรวมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และเทคโนโลยีการดำเนินงาน (OT) ได้ดียิ่งขึ้น ด้วยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกมากขึ้น การปรับปรุงความยั่งยืน การแก้ไขปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน และการให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์
เทคโนโลยียังคงพัฒนาและได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบโจทย์ความท้าทายใหม่ๆ
Covid เป็นปัจจัยที่เร่งให้บริษัทต่างๆ นำ IoT มาใช้เร็วขึ้น ตัวอย่างเช่น มีรายงานว่า 48% ของระบบสาธารณูปโภค ได้เร่งปรับใช้ IoT เพื่อตอบสนองความท้าทายที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการระบาดของโควิด จึงนับเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า IoT ให้ประโยชน์อย่างมากจนมีการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาเป็นแนวทางหลักในการทำงาน
นั่นเป็นเพราะว่า IoT สามารถตอบโจทย์ปัญหาบางประการที่เป็นจุดบอดใหญ่ที่สุดของธุรกิจได้ เช่น การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าจากระยะไกล และการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีและอุปกรณ์ IoT ระบบดิจิทัลที่เชื่อมต่อกันได้อย่างฉลาดมาใช้ จะช่วยให้บริษัทต่างๆ ปลดล็อกแหล่งข้อมูลใหม่เกี่ยวกับประสิทธิภาพของอุปกรณ์ได้ โดยสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์เพื่อกำหนดแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งช่วยป้องกันปัญหา และเพิ่มอายุการใช้งานของอุปกรณ์ รวมถึงช่วยให้ดำเนินงานได้ยืดหยุ่นและให้ประสิทธิภาพด้านพลังงานมากขึ้น
ตัวอย่างเช่น IoT ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นจากแนวทางปฏิบัติด้านการบำรุงรักษาที่ดีขึ้น
IoT ช่วยเพิ่มความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงด้วยการช่วยให้พลังงาน อุปกรณ์ และกระบวนการต่างๆ ดำเนินไปตามแนวทางปฏิบัติด้านการบำรุงรักษาที่ดียิ่งขึ้น อาทิ เซ็นเซอร์วัดความชื้นหรืออุณหภูมิของอุปกรณ์ อย่าง หม้อแปลงไฟฟ้า และสวิตช์เกียร์ ซึ่งจะมีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นความรู้เพื่อใช้บ่งชี้และคาดการณ์ถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้
ข้อมูลดังกล่าว ช่วยลดต้นทุนการบำรุงรักษาโดยช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถคาดการณ์ความล้มเหลวของอุปกรณ์ และระบุระยะเวลาการซ่อมที่เหมาะสม แทนที่จะทำตามเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า โดยไม่ต้องรอให้อุปกรณ์เสียหายก่อน การเตือนล่วงหน้าช่วยป้องกันการหยุดทำงาน ยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ และสร้างระบบให้บริษัทต่างๆ กำหนดแนวทางในการเปลี่ยน ปรับปรุง และซ่อมแซมอุปกรณ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางที่สร้างความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
ความสามารถด้านดิจิทัลของ IoT ยังช่วยขับเคลื่อนความริเริ่มด้านความยั่งยืนในหลายโครงการและช่วยให้ใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด
บริษัทที่เพิ่มความสามารถด้านดิจิทัล จะสามารถตรวจสอบ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยข้อมูลพวกนี้ล้วนนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีขึ้นและช่วยขับเคลื่อนการดำเนินการด้านการใช้พลังงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยลดการสูญเสีย
IoT ช่วยชี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าพลังงานถูกใช้ไปในส่วนใดบ้าง รูปแบบการใช้เป็นอย่างไร และส่วนใดที่มีการใช้พลังงานมากที่สุด ซึ่งแดชบอร์ดและรายงานการใช้พลังงาน ช่วยให้ทีมสามารถกำหนดค่าพื้นฐาน พร้อมติดตามความคืบหน้าของโครงการในด้านประสิทธิภาพพลังงานได้อย่างแม่นยำ อีกทั้งช่วยประหยัดพลังงานอีกด้วย อีกทั้งยังแนะนำการปรับการดำเนินงานในไซต์งานได้อย่างเหมาะสมที่สุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดและหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็น
มุมมองด้าน IoT ที่เป็นตัวเปลี่ยนโฉมหน้าของเกมได้มากที่สุด คือความสามารถในการคาดการณ์อนาคต แทนที่จะใช้วิธีตั้งรับแบบเดิม IoT ช่วยให้บริษัทต่างๆ คาดการณ์อนาคตและตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลจริง
ตัวอย่างเช่น หลายอุตสาหกรรมล้วนพึ่งพาพลังงานที่ให้ความต่อเนื่อง เพื่อให้โครงสร้างพื้นฐานระบบสำคัญทำงานต่อไปได้ และหลีกเลี่ยงการเกิดไฟฟ้าขัดข้องและการหยุดชะงักของระบบโดยที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้า ทั้งนี้ ผลการวิจัยของการ์ทเนอร์ ยังระบุว่า ผลกระทบด้านค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการที่อุปกรณ์ไฟฟ้าทำงานบกพร่องเนื่องจากการเกิด Downtime ของเครือข่ายดาต้าเซ็นเตอร์เพียงอย่างเดียว อยู่ที่ประมาณ 5,600 เหรียญสหรัฐต่อนาที ซึ่งการนำ IoT มาช่วยปรับปรุงด้านการบำรุงรักษาช่วยลดความเสี่ยงเรื่อง Downtime ได้
สิ่งที่เป็นอันตราย อย่างการเกิดไฟไหม้จากระบบไฟฟ้าขัดข้อง ก่อให้เกิดความเสียหายได้มากกว่าเรื่องการเสียเงิน เพราะคุกคามถึงชีวิตและเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งการใช้แบบจำลองการคาดการณ์ที่สร้างขึ้นโดยใช้ข้อมูลจากเซ็นเซอร์ IoT ที่ติดอยู่ที่อุปกรณ์ เพื่อช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถระบุความเสี่ยงได้ เช่น ประกายไฟที่เกิดจากอาร์คหรือการเสื่อมสภาพที่อาจทำให้เกิดการระเบิด
เพื่อลดความเสี่ยงเหล่านี้ ธุรกิจควรนำบริการด้านข้อมูลจาก IoT มาใช้ให้ครอบคลุมทั้งในส่วนของกิจกรรมต่างๆ ในระบบอัตโนมัติของอุตสาหกรรมและการบริหารจัดการพลังงาน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เป็นผู้นำบริการด้านข้อมูลที่ให้ความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ ให้ประสิทธิภาพและความยั่งยืน
เจาะลึกถึงวิธีการใช้ IoT สำหรับระบบการจ่ายไฟฟ้า
เรียนรู้เคล็ดลับเรื่องการบำรุงรักษาในยุคที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ในการช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือของระบบไฟฟ้า คลิก https://www.se.com/th/th/work/services/
โดย ยอน เรนาด หัวหน้าทีมผู้เชี่ยวชาญการปฏิบัติงานด้านบริการระดับโลก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค
Tags:
AIoT
data
downtime
Electric
Information Technology
Internet of Things
IOT
predictive maintenance
Preventative Maintenance
resiliency
Schneider Electric
sensors
Sustainability