HUAWEI ย้ำวิสัยทัศน์ ขับเคลื่อนเอเชียแปซิฟิกสู่การพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


เศรษฐกิจดิจิทัลเป็นกลไกสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลก เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างคาร์บอนต่ำจะเป็นก้าวใหม่สำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน การผสานระหว่างการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะเปิดประตูสู่โอกาสใหม่สำหรับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกเป็นหนึ่งในความท้าทายสำคัญที่มนุษย์ต้องเผชิญ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้และกลายเป็นภารกิจระดับโลกที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน นโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งกับความมั่นคงทางพลังงานของประเทศต่างๆ ปลายปีที่ผ่านมา ตลาดพลังงานระหว่างประเทศมีความผันผวนและวิกฤตการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ต้นทุนทางเศรษฐกิจสูงขึ้นอย่างมาก ย้ำเตือนให้เราเห็นความสำคัญด้านความมั่นคงทางพลังงานมากขึ้นไปอีกขึ้น

เพื่อตอบสนองเทรนด์ดังกล่าว หัวเว่ยแสดงวิสัยทัศน์ในระหว่างการประชุม APAC Digital Innovation Congress ว่าหัวเว่ยจะมุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง นำเทคโนโลยีไอซีทีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้เพื่อเสริมศักยภาพการพัฒนาที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ เพื่อขับเคลื่อนโลกอัจฉริยะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

“เอเชียแปซิฟิกเป็นกลุ่มตลาดที่สำคัญอย่างยิ่งของหัวเว่ย ภายในช่วงสิ้นปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา เกือบทุกประเทศในอาเซียนได้กำหนดเป้าหมายด้านความเป็นกลางทางคาร์บอน หัวเว่ยจึงได้มุ่งมั่นลงทุนในเอเชียแปซิฟิกอย่างต่อเนื่องเพื่อสอดรับกับนโยบายของภาครัฐ” โบแฮม ซัน ประธานหัวเว่ย ดิจิทัล พาวเวอร์ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกล่าวระหว่างการประชุม ‘นวัตกรรมเทคโนโลยี – การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคเทคโนโลยีดิจิทัลของภาคพลังงานเพื่อสังคมอัจฉริยะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม’ (Technology Innovation-Accelerating Power Digitalization for a Low-Carbon Smart Society)

โบแฮม ซัน กล่าวเสริมว่า ธุรกิจดิจิทัล พาวเวอร์ของหัวเว่ย มีพนักงานกว่า 6,000 คน มีศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D) 12 แห่งทั่วโลก ถือครองสิทธิบัตรเทคโนโลยีมากกว่า 1,300 ฉบับ ตอกย้ำความเป็นผู้นำของหัวเว่ยในอุตสาหกรรมดิจิทัล พาวเวอร์

ด้วยการนำจุดเด่นของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลังและเทคโนโลยีดิจิทัลมาผสานรวมกัน หัวเว่ย ดิจิทัล พาวเวอร์ (Huawei Digital Power) ได้คิดค้นโซลูชันพลังงานคาร์บอนต่ำสำหรับใช้ในทุกสถานการณ์ (all-scenario low-carbon energy solutions) ครอบคลุมโซลูชันด้านพลังงานทั้งหมดตั้งแต่การผลิตพลังงานสะอาดไปจนถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน อาทิ โซลูชันเซลล์แสงอาทิตย์อัจฉริยะ (Smart PV) เพื่อผลิตพลังงานสะอาด โซลูชันศูนย์ข้อมูล (Data Center) และ Site Power Facility หรือเทคโนโลยีสำหรับไซต์พลังงานด้านโทรคมนาคมแบบครบวงจร สำหรับโครงสร้างพื้นฐานไอซีที และโซลูชัน mPower สำหรับธุรกิจการขนส่ง ที่ล้วนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

การเดินทางสู่สังคมคาร์บอนต่ำไม่สามารถทำได้โดยลำพัง หัวเว่ยให้คำมั่นที่จะผลักดันภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกสู่สังคมคาร์บอนต่ำที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยอีโคซิสเต็มที่เหมาะสม โดยให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีหลัก, โซลูชันล้ำสมัย, และสร้างความร่วมมืออย่างเปิดกว้างกับลูกค้า, คู่ค้าในอุตสาหกรรม, ตลอดจนหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อคิดค้นโซลูชัน “ไร้คาร์บอนในทุกสิ่ง” รับอนาคต เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน

ในฐานะประเทศสมาชิกของเอเชียแปซิฟิก การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและสร้างสังคมคาร์บอนต่ำเป็นฉันทามติสองข้อที่ผู้คนทั่วโลกยอมรับ ประเทศไทยมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลสำหรับนโยบายสองด้านนี้ ซึ่งถือเป็นหนึ่งก้าวสำคัญที่นำหน้าประเทศส่วนใหญ่ทั้งด้านการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียนที่ประกาศนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน และในการประชุมสุดยอดด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติครั้งที่ 26 (United Nations Climate Change Conference – COP 26) ประเทศไทยประกาศแผนงานความเป็นกลางทางคาร์บอน ปี พ.ศ. 2593 (Carbon Neutrality 2050) เพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกับประชาคมโลก ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของสหภาพยุโรป และการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลจะมีบทบาทสำคัญในการเดินทางสู่วิสัยทัศน์เป้าหมาย ‘Carbon Neutrality 2050’ ครั้งนี้

หัวเว่ยจัดตั้งส่วนธุรกิจดิจิทัล พาวเวอร์ ให้บริการในไทยเมื่อปีที่ผ่านมา เพื่อสนับสนุนเป้าหมายด้านความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศไทย โดยปัจจุบันหัวเว่ยส่งมอบโซลูชันอินเวอร์เตอร์อัจฉริยะ (Smart Inverter) จำนวนกว่า 2.4 กิกะวัตต์ ให้บริการลูกค้าและพันธมิตรมากกว่า 1,000 รายด้วยต้นทุนพลังงานระดับ (LCOE) ที่ดีที่สุด โดยรวมแล้วมีศักยภาพในการผลิตพลังงานสะอาดได้ 6.18 พันล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงถึง 6.16 ล้านตัน ตัวอย่างเช่น โครงการโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำขนาด 10 เมกะวัตต์ ของบริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (TSE) ที่จังหวัดปราจีนบุรี; โซลาร์ รูฟท็อปบนดาดฟ้าของร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven กว่า 1,500 แห่ง; โซลาร์ รูฟท็อปขนาด 1.4 เมกะวัตต์ที่เซ็นทรัลพลาซามหาชัย; โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 5 เมกะวัตต์ที่จังหวัดกระบี่ โดยคาดการณ์ว่าในปีพ.ศ. 2564 ได้มีการติดตั้งผลิตภัณฑ์อินเวอร์เตอร์พลังงานแสงอาทิตย์เป็นจำนวนกว่า 50,000 ครัวเรือน โดย 14,000 ครัวเรือนได้ช้โซลูชันอัจฉริยะของหัวเว่ย

นายเคน หู ประธานหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย เผยระหว่างการประชุม APAC Digital Innovation Congress ว่า “ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมุ่งสนับสนุนนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม และประเทศต่างๆ ก็มุ่งสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยประกาศแผนความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2593 สิงคโปร์มุ่งบรรลุจุดสูงสุดของการลดการปล่อยคาร์บอน (peak carbon emissions) ในปี พ.ศ. 2573 ในขณะที่ประเทศจีนจะบรรลุจุดสูงสุดของการลดการปล่อยคาร์บอนในปี พ.ศ. 2573 และบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2603 เทคโนโลยีดิจิทัลจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันกระบวนการนี้ให้สำเร็จ”

นายไซมอน หลิน ประธานกรรมการบริหารประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ย ได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับโอกาสทางด้านดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเขาย้ำถึงพันธกิจ ‘ในเอเชียแปซิฟิก เพื่อเอเชียแปซิฟิก’ หรือ ‘In Asia-Pacific, for Asia-Pacific’ ของหัวเว่ย ในบทบาทผู้สนับสนุนหลักด้านเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผนึกกำลังร่วมกับลูกค้าและพันธมิตรเพื่อร่วมกันยกระดับชีวิตดิจิทัลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ นายหลินได้กล่าวว่า “หัวเว่ยหวังผลักดันการวางโครงสร้างพื้นฐานที่เหนือระดับและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อสร้างอีโคซิสเต็มอุตสาหกรรมที่รุดหน้า และเสริมศักยภาพของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้วยความเท่าเทียมและยั่งยืน”


หัวเว่ยให้บริการการเชื่อมต่อสำหรับผู้คนกว่า 90 ล้านครัวเรือนและผู้ใช้มือถือกว่า 1 พันล้านคนในเอเชียแปซิฟิก ส่วนแบ่งตลาด IaaS ของหัวเว่ย อยู่ในอันดับที่ 2 ในประเทศจีน และอันดับที่ 4 ของตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หัวเว่ยผสานเทคโนโลยีดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง เพื่อนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในภาคพลังงานเพื่อโลกอนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

“ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ส่วนธุรกิจดิจิทัล พาวเวอร์ของหัวเว่ย ช่วยลูกค้าผลิตพลังงานสะอาดมาแล้วกว่า 482.9 พันล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ 14.2 พันล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงถึง 230 ล้านตัน ซึ่งเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 320 ล้านต้น หัวเว่ยตั้งเป้าพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น 2.7 เท่า ด้วยการผสานระหว่างเทคโนโลยีดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์ หัวเว่ยมุ่งพัฒนาโซลูชันดิจิทัล พาวเวอร์อันล้ำสมัยที่เพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากโครงสร้างพื้นฐานไอซีที และในปีพ.ศ. 2564 หัวเว่ยได้ช่วยลูกค้าทั่วโลกลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงถึง 230 ล้านตัน” นายโบแฮม ซัน กล่าว
ใหม่กว่า เก่ากว่า