HUAWEI มุ่งสนับสนุนวิสัยทัศน์ด้านดิจิทัลแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก


ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถือเป็นแหล่งบ่มเพาะนวัตกรรมและศูนย์กลางความเป็นเลิศทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในแต่ละภูมิภาครวมถึงเอเชียแปซิฟิก และการผสานกันระหว่างเทคโนโลยีขั้นสูงจาก 5G, คลาวด์, AI รวมถึงการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ สร้างโอกาสทางธุรกิจที่ไม่เคยมีมาก่อนสำหรับภาคเทคโนโลยีไอซีที โดยรายงาน Asian Economic Integration Report ประจำปี พ.ศ. 2564 ระบุว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะได้รับผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมูลค่ากว่า 1.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในแต่ละปี และจะมากกว่า 8.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐไปจนถึงปี พ.ศ. 2568 การเติบโตของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลส่งผลให้มีการสร้างงานใหม่ประมาณ 65 ล้านตำแหน่งต่อปีในภูมิภาคนี้ ไปจนถึงปี พ.ศ. 2568

นายไซมอน หลิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้เปิดเผยถึงบทบาทของหัวเว่ยซึ่งเป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยีในภูมิภาค ในด้านการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล และการเสริมศักยภาพผู้มีความสามารถด้านเทคโนโลยีไอซีทีว่า “โดยพื้นฐานแล้ว โลกอนาคตของเราจะขึ้นอยู่กับแรงขับเคลื่อน 3 ประการ ได้แก่ แรงขับเคลื่อนด้านธุรกิจ แรงขับเคลื่อนด้านเทคโนโลยี และแรงขับเคลื่อนด้านความยั่งยืน”

“ประการแรก คือแรงขับเคลื่อนด้านธุรกิจจะเกิดขึ้นจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในหลากหลายภาคอุตสาหกรรม เพื่อขับเคลื่อนการทำงานในยุคดิจิทัลและการยกระดับคุณภาพการบริการ แรงขับเคลื่อนประการที่สอง คือเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ ซึ่งรวมถึง 5G ขั้นสูง, 6G และ IPv6+ และเทคโนโลยีการประมวลผลที่พัฒนาขึ้นเพื่อรองรับแอปพลิเคชันใหม่และสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ด้านเทคโนโลยี ประการสุดท้ายคือแรงขับเคลื่อนด้านความยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการพัฒนาธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม และการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะมีบทบาทในการเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ หัวเว่ยมุ่งลงทุนอย่างไม่หยุดยั้งในด้านความยั่งยืน ซึ่งไม่เพียงลดการใช้พลังงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในปัจจุบัน แต่ยังมุ่งมั่นพัฒนาอุปกรณ์รุ่นใหม่ที่ประหยัดพลังงานกว่าเดิมด้วย” เขากล่าว

แม้ว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเปี่ยมไปด้วยโอกาสทางดิจิทัล แต่ระดับความพร้อมในแต่ละแห่งล้วนแตกต่างกัน นายไซมอน หลิน อธิบายว่า “รายงาน Global Connectivity Index (GCI) ของหัวเว่ย เปิดเผยว่าประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์อยู่ในอันดับที่ 63, 58 และ 59 จากทั่วโลก ในขณะที่สิงคโปร์อยู่ในอันดับที่2 ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียมีความเร็วบรอดแบนด์คงที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับสิงคโปร์และประเทศไทย กล่าวโดยสรุป การเข้าถึงระบบคลาวด์ในภูมิภาคยังน้อยกว่า 20% ในขณะที่การใช้มือถือ 4G นั้นสูงกว่า 50% เล็กน้อย และมีจำนวนครัวเรือนเพียงหนึ่งในสามเท่านั้นที่เข้าถึงเครือข่ายแบบฟิกซ์บรอดแบนด์หัวเว่ยจึงให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับกิจกรรมเพื่อสังคมเพื่อพัฒนาวิถีชีวิตของผู้คนผ่านการใช้เทคโนโลยี”

 

“หัวเว่ยวางแผนเพิ่มการลงทุนในโซลูชันที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยใช้ประโยชน์สูงสุดจากการผลิตพลังงานสะอาด ระบบขนส่งพลังงานไฟฟ้าและระบบจัดเก็บพลังงานอัจฉริยะ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน และมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจหมุนเวียน” นายไซมอน หลิน กล่าว

ทั้งหมดที่กล่าวมาสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของหัวเว่ยในการนำเสนอพอร์ตโฟลิโอด้านผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะบุคคล ไม่ว่าจะอยู่ในภูมิภาคที่พัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนาก็ตาม

“หัวเว่ยนำเสนอเทคโนโลยีขั้นสูงในด้าน 5G, AI, คลาวด์และบล็อกเชน เรามุ่งมั่นส่งมอบประสบการณ์ที่ใช้ในประเทศที่พัฒนาแล้วไปยังประเทศกำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนา เพื่ออำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ตัวอย่างหนึ่งที่เราทำคือการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการปรับปรุงเครือข่าย 4G” เขากล่าวเสริม

ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนับเป็นผู้นำด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจดิจิทัลและการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ตัวอย่างที่เราเห็นคือ ประเทศสิงคโปร์ได้เปิดตัวพิมพ์เขียว Smart Nation 2025 อินโดนีเซียและมาเลเซียเปิดตัวกลยุทธ์สำหรับการมุ่งสู่ดิจิทัล บังกลาเทศเปิดตัวกลยุทธ์ที่เรียกว่า Digital Bangladesh และไทยประกาศวิสัยทัศน์ที่จะเป็นศูนย์กลางดิจิทัลในอาเซียน

เมื่อกล่าวถึงบทบาทของหัวเว่ยในการสนับสนุนวิสัยทัศน์เชิงดิจิทัลในระดับประเทศ นายไซมอน หลิน เปิดเผยว่า “ในการเดินทางครั้งยิ่งใหญ่นี้ เรามุ่งมั่นที่จะเป็นผู้สนับสนุนหลักให้แก่วิสัยทัศน์เชิงดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ เราจะเน้นที่สามด้านหลัก คือ การเชื่อมต่อและเทคโนโลยีอัจฉริยะ การพัฒนาด้านการลดการใช้คาร์บอนอย่างยั่งยืน และการเข้าถึงดิจิทัลอย่างเท่าเทียม ผมคิดว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล (Digital Infrastructure) นั้นหมายถึงการเชื่อมต่อทางดิจิทัล ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยี 4G, 5G, ไฟเบอร์ และ IoT การแพร่ระบาดของโควิด-19 ผลักดันให้จำนวนผู้ใช้บริการระบบดิจิทัลและการให้บริการด้านดิจิทัลเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการโครงสร้างพื้นฐานด้านการเชื่อมต่อเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และหัวเว่ยมีบทบาทในการเป็นผู้นำที่ขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างจริงจัง”

หัวเว่ยยังมุ่งสนับสนุนการพัฒนาคาร์บอนต่ำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยนายไซมอน หลินได้อธิบายว่า “เราลงทุนอย่างต่อเนื่องด้านการวิจัยและพัฒนา ทำให้อัตราการปล่อยคาร์บอนสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการ E2E ของหัวเว่ยลดลงกว่า 80% เมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพเท่ากัน เราช่วยลูกค้าประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน โดยหัวเว่ยได้ผสมผสานเทคโนโลยีดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์เพื่อพัฒนานวัตกรรมให้แก่บริการด้านดิจิทัลพาวเวอร์ ทำให้ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของโครงสร้างพื้นฐานไอซีที ผ่านการใช้ประโยชน์จากการผลิตพลังงานสะอาด ระบบขนส่งพลังงานไฟฟ้าและระบบจัดเก็บพลังงานอัจฉริยะ ซึ่งภายในช่วงสิ้นปีพ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ช่วยให้ลูกค้าทั่วโลกลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงถึง 230 ล้านตัน”

นายไซมอน หลิน ยังกล่าวเสริมว่า “เรามุ่งขับเคลื่อนนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ครอบคลุมและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ในวิสัยทัศน์ของเรา โลกดิจิทัลไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่ยังเกี่ยวกับผู้คนและมนุษยชาติ โดยในช่วง 3 ปีข้างหน้านี้ หัวเว่ยวางแผนลงทุน 100 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสร้างอีโคซิสเต็มของสตาร์ทอัพในเอเชียแปซิฟิก และอีก 5 ปีจากนี้ เราจะลงทุนเป็นมูลค่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อพัฒนาผู้มีทักษะด้านดิจิทัลให้ได้ถึง 500,000 คน”

“สำหรับผม การเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัลกำลังเกิดขึ้นในหลายระดับ การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม เช่น เกษตรกรรม เหมืองแร่เหมืองเหล็กกล้า และการก่อสร้างยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้น เน้นไปที่การหมุนเวียนด้านพลังงาน วัสดุอุปกรณ์ และบุคคล อุตสาหกรรมไอซีทีมีบทบาทเป็นเพียงระบบสนับสนุน ในขณะที่อุตสาหกรรมการขนส่ง การศึกษา และโครงข่ายไฟฟ้าอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด โดยที่ไอซีทีอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านจากระบบสนับสนุนไปยังระบบการผลิต สุดท้ายนี้การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมสื่อ การธนาคาร และ Over-the-Top (OTT) ถือว่าอยู่ในขั้นสูง มุ่งเน้นการหมุนเวียนของข้อมูลและแหล่งเงินทุน ซึ่งไอซีทีก็เข้ามามีบทบาทในฐานะระบบการผลิตแล้ว” นายไซมอน หลินกล่าวปิดท้าย
ใหม่กว่า เก่ากว่า