HUAWEI Cloud นำเสนอโลกอัจฉริยะที่มีบริการรอบด้านในงาน MWC 2022

 

โมบายล์ เวิลด์ คองเกรส ปี 2565 (MWC 2022) เปิดฉากขึ้นในวันนี้ หัวเว่ย คลาวด์ (HUAWEI CLOUD) ร่วมนำเสนอนวัตกรรมและผลงานเทคโนโลยีมากมาย ชูแนวคิดนวัตกรรม “บริการรอบด้าน” (Everything as a Service) หัวเว่ย คลาวด์ใช้นิทรรศการ การประชุมฟอรัม และปาฐกถาสื่อสารกับผู้ร่วมงานจากทั่วโลกถึงวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นในการสร้างรากฐานระบบคลาวด์ เพื่อโลกอัจฉริยะที่มีคลาวด์ครอบคลุมทุกอย่างและระบบชาญฉลาดในทุกหนแห่ง


หัวเว่ย คลาวด์มุ่งมั่นในการสร้างรากฐานระบบคลาวด์เพื่อโลกอัจฉริยะ

ก่อนที่อีเวนต์ปีนี้จะเริ่มต้นขึ้น คุณวิลเลียม ตง (William Dong) กรรมการผู้จัดการฝ่ายการตลาดของหัวเว่ย คลาวด์ได้กล่าวปาฐกถาต่อผู้ให้บริการทั่;โลกในหัวข้อ “มุ่งสู่โลกดิจิทัลและส่งเสริมการเติบโตครั้งใหม่ด้วยบริการรอบด้าน” (Diving into Digital and Driving New Growth, with Everything as a Service)


อุตสาหกรรมเทเลคอมได้รับการยอมรับมาอย่างยาวนานในฐานะผู้บุกเบิกในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา คลาวด์คอมพิวติ้งได้กลายมาเป็นเทคโนโลยีสำคัญในการเปลี่ยนผ่านดังกล่าว ด้วยความเชี่ยวชาญ 30 ปีในด้านเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และโซลูชัน ICT นั้น หัวเว่ย คลาวด์ได้ช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายเข้าถึงวิธีเปิดการใช้งานที่ยืนพื้นฐานอยู่บนโครงสร้างคลาวด์เนทีฟแบบกระจาย ตลอดจนโมเดลการขายหลากหลายรูปแบบ


“เรามีส่วนร่วมอย่างลึกซึ้งในการให้บริการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล หัวเว่ย คลาวด์ร่วมมือกับผู้ให้บริการทั่วโลกในการส่งมอบนวัตกรรมเทคโนโลยีอันยอดเยี่ยมให้กับลูกค้าระดับวิสาหกิจ ด้วยจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมการเติบโตในภาคธุรกิจผู้ให้บริการ” คุณวิลเลียม ตงกล่าว



นอกจากนี้ คุณตงยังได้เน้นย้ำถึงพันธกิจของหัวเว่ย คลาวด์ในการมุ่งสู่โลกดิจิทัล และมอบบริการรอบด้านผ่านการบริการหลัก 3 ด้าน


  • ด้านที่ 1 บริการโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure as a Service) ครอบคลุมถึงการขยายศูนย์ข้อมูลและเครือข่ายระดับสากล เพื่อประสบการณ์ที่ราบรื่นและเข้าถึงได้ง่ายสำหรับลูกค้าทั่วโลก
  • ด้านที่ 2 บริการเทคโนโลยี (Technology as a Service) เปลี่ยนความพยายามด้านการวิจัยและพัฒนาให้กลายเป็นผลงานเทคโนโลยีล้ำยุคและบริการคลาวด์สำหรับลูกค้า, พันธมิตร และผู้พัฒนาในหลากหลายภาคอุตสาหกรรม เทคโนโลยีในส่วนนี้ครอบคลุมถึงการจัดตารางคอนเทนเนอร์แบบกลุ่มในระบบคลาวด์เนทีฟ, แมชชีนเลิร์นนิ่ง, บล็อกเชน, การวางแผนเครือข่าย 5G และการขับเคลื่อนอัตโนมัติ
  • ด้านที่ 3 บริการความเชี่ยวชาญ (Expertise as a Service) ยึดตามแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลเพื่อพัฒนาสินทรัพย์ดิจิทัล จากนั้นหัวเว่ย คลาวด์จึงนำสินทรัพย์เหล่านี้มาใช้ในการสร้างแพลตฟอร์มแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มกระบวนการ เพื่อช่วยลูกค้าโอบรับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล และเติบโตได้รวดเร็วยิ่งขึ้น


หัวเว่ย คลาวด์โชว์ผลงานด้านคลาวด์ด้วยนิทรรศการเปี่ยมนวัตกรรม

เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการจัดแสดง “ซาร่า” (Sara) พนักงานเสมือนคนแรกของหัวเว่ย คลาวด์ ได้ปรากฏตัวที่งาน MWC 2022 ซาร่าสร้างขึ้นมาโดยเมตาสตูดิโอ (MetaStudio) ฝ่ายการผลิตคอนเทนต์ดิจิทัลในแนวทางใหม่ของหัวเว่ย คลาวด์ โดยแพลตฟอร์มนี้ช่วยในการผลิตภาพยนต์และรายการโทรทัศน์ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการตัดต่อ หรือการสร้างและเรนเดอร์โมเดล 3 มิติ นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีล้ำยุคมากมาย เช่น มนุษย์เสมือน, พื้นที่ 3 มิติ และเทคโนโลยี AR บนคลาวด์


ไฮไลต์อีกประการในการจัดแสดงครั้งนี้คือแบบจำลองขนาดใหญ่ของโมเลกุลยาที่พัฒนาโดยหัวเว่ย คลาวด์ ทั้งนี้ โมเดลผานกู่ (Pangu) เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีด้านความชาญฉลาดและบิ๊กดาต้าชั้นนำจากแพลตฟอร์มหัวเว่ย คลาวด์ อีไอเฮลท์ (HUAWEI CLOUD EIHealth) โดยโมเดลนี้ได้จดจำโครงสร้างทางเคมีของโมเลกุลขนาดเล็กราว 1.7 พันล้านแบบ


ในปี 2563 ระหว่างช่วงแรก ๆ ที่โควิด-19 แพร่ระบาด แพลตฟอร์มอีไอเฮลท์มีการนำมาใช้คัดกรองยาในระบบเสมือนจริงสำหรับโปรตีนเป้าหมายของเชื้อไวรัสต้นเหตุของโควิด-19 หรือ SARS-CoV-2 กว่า 20 ชนิด ซึ่งทำให้แพทย์และนักวิจัยสามารถศึกษาตัวยาและสารประกอบต่าง ๆ ที่ค้นพบได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น อนึ่ง โครงการนี้ได้เข้ารอบชอร์ตลิสต์สำหรับรางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยมด้านการรับมือและรักษาโควิด-19 ในงานโกลบอล โมบายล์ อวอร์ด ปี 2565 (Global Mobile Awards 2022)


ในรายงานมาร์เก็ต แชร์: ไอที เซอรวิสเซส (Market Share: IT Services) ของการ์ทเนอร์ (Gartner) ซึ่งเป็นรายงานระดับสากลประจำปี 2563 ที่ได้รับการเผยแพร่เมื่อเดือนเมษายน 2564 นั้น หัวเว่ย คลาวด์ได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 5 ในตลาดบริการโครงสร้างพื้นฐาน (IaaS) ทั่วโลก และติดสองอันดับแรกในประเทศจีน ปัจจุบันหัวเว่ย คลาวด์ได้เปิดบริการคลาวด์แล้วกว่า 220 รายการและโซลูชันกว่า 210 รายการ, รวบรวมพันธมิตรได้กว่า 30,000 รายทั่วโลก, ส่งเสริมผู้พัฒนากว่า 2.6 ราย และเปิดตัวแอปพลิเคชันกว่า 6,100 รายการในตลาดคลาวด์ ข้อมูลล่าสุดระบุว่า หัวเว่ย คลาวด์ได้ขยายพื้นที่บริการจาก 45 สู่ 61 พื้นที่ ครอบคลุมกว่า 170 ประเทศและเขตแดน พร้อมวางแผนที่จะสร้างฐานธุรกิจในอีกหลายพื้นที่ทั่วโลก


ใหม่กว่า เก่ากว่า