LINE SHOPPING โชว์แกร่งพา SMEs ฝ่าล็อคดาวน์ ดันยอดออเดอร์โต 2.5 เท่า จำนวนร้านค้าเพิ่มขึ้นกว่า 300% ตอกย้ำผู้นำโซเชียลคอมเมิร์ซ

 

LINE SHOPPING ผู้นำโซเชียลคอมเมิร์ซของไทย เผยเทรนด์การเติบโตหลังคลายล็อคดาวน์ ยังคงมีร้านค้าโซเชียลทั้ง SMEs และแบรนด์ชั้นนำทั้งของไทยและต่างประเทศยกทัพเข้าสู่แพลตฟอร์ม จากต้นปี 2564 มีจำนวนร้านค้าเพิ่มขึ้นถึง 300% คาดทะลุ 300,000 ร้านภายในสิ้นปี ส่งผลให้ยอดขายสินค้ารวมทั้งแพลตฟอร์ม (GMV) มีมูลค่าสูง   ถึง 5,300 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 370% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว



นายเลอทัด ศุภดิลก หัวหน้าฝ่ายธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ LINE ประเทศไทย กล่าวว่า “การช้อปปิงผ่านโซเชียลคอมเมิร์ซยังคงได้รับความนิยมและเติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทย เป็นเพราะพฤติกรรมนักช้อปไทย 64% ยังชอบแชทคุย สอบถามข้อมูลจากร้านค้าก่อนซื้อ เพราะนอกจากจะทำให้ช้อปสนุกและง่ายขึ้นแล้ว ยังช่วยเพิ่มความมั่นใจว่าจะได้ของดีมีคุณภาพตรงความต้องการ และอีกส่วนสำคัญที่ช่วยให้ LINE SHOPPING ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง คือการนำ LINE POINTS มาเป็นตัวชูโรงในการมอบประสบการณ์ช้อปปิ้งที่นอกจาก Seamless แล้วยังเป็นการเพิ่ม Value ให้กับร้านค้าโซเชียลที่มีอยู่ประมาณ 300,000 ร้านค้าบนแพลตฟอร์มฯ โดยเป็นกลยุทธ์ในการกระตุ้นการช้อปปิงบน LINE SHOPPING ผ่านแคมเปญพิเศษที่ดีไซน์มาให้ตอบโจทย์ผู้บริโภค NEW GEN ด้วยการมีไลฟ์สไตล์แบบไฮบริดที่เชื่อมต่อออนไลน์และออฟไลน์ให้ลูกค้าได้รับความคุ้มค่าและได้สะสมพ้อยท์ได้อย่าง “ง่ายและสนุก” อาทิ แคมเปญ Pay Day สุขคูณสาม ที่จัดขึ้นทุกสิ้นเดือนให้ลูกค้าได้รับพ้อยท์สูงพิเศษถึง​3 เท่า หรือ แคมเปญ LINE POINTS BACK ที่มอบพ้อยท์สูงสุด 100 พ้อทย์ต่อออเดอร์ ซึ่งมีส่วนช่วยดันยอดขายโดยรวมทั้งแพลตฟอร์มสูงขึ้นกว่า 50% เพิ่มยอดใช้จ่ายต่อครั้งเฉลี่ย 1,800 บาท และ เพิ่มความถี่การซื้อมากขึ้น 12% โดยในปีที่ผ่านมาลูกค้าได้รับแต้มสะสม LINE POINTS จาก LINE SHOPPING ไปแล้ว ถึง 63 ล้านพ้อยท์ เท่ากับมูลค่า 63 ล้านบาท”


นอกจากนี้ LINE SHOPPING ยังเผยเทรนด์นักช้อป Social Commerce ที่น่าสนใจ เช่น การชำระเงินแบบดิจิทัล หรือ ​Digital Payment แบบ Seamless ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นและกำลังจะกลายมาเป็นทางเลือกหลักของการ   ชำระเงินของการซื้อของออนไลน์ จากข้อมูลสถิติ ร้านค้าที่รับชำระด้วยบัตรเครดิต/เดบิตผ่าน Rabbit LINE Pay มียอดขายเพิ่มขึ้นเฉลี่ยที่ 40-45% ซึ่งนอกจากความสะดวกและง่ายในการชำระเงินที่ลูกค้าสามารถกดจ่ายได้โดยไม่ต้องสลับแอปพลิเคชัน ลูกค้ายังจะได้รับ LINE POINTS  เพื่อเก็บสะสมและนำไปใช้เป็นส่วนลดแทนเงินสดบน LINE SHOPPING ได้อีกด้วย โดยปัจจุบันจำนวนผู้ใช้ LINE POINTS มีสูงถึง 12 ล้านคน อายุระหว่าง 30-40 ปี ซึ่งนับเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อ และคุ้นเคยกับการซื้อขายของผ่านออนไลน์ และเข้าสู่สังคมไร้เงินสดเรียบร้อยแล้ว



โดยในปี 2564 จำนวนร้านค้าโซเชียลเปิดใหม่บน LINE SHOPPING สูงสุด 5 อันดับแรกแบ่งตามประเภทของสินค้าได้แก่ 1. อุปกรณ์กีฬา 2. สินค้าสัตว์เลี้ยง 3. สุขภาพและความงาม 4 . สินค้าแม่และเด็ก และ 5. แฟชั่น สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปเนื่องจากสถานการณ์ล็อคดาวน์ส่งผลให้ผู้บริโภคใช้เวลาอยู่ที่บ้านมากขึ้น จึงหันมาดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกายที่บ้าน อีกทั้งตลาดธุรกิจสัตว์เลี้ยงทั้งในไทยและของโลกก็กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่องสอดรับความต้องการผู้บริโภคกลุ่ม Pet Parents ที่เจ้าของพร้อมจับจ่ายเพื่อปรนเปรอสัตว์เลี้ยงของตนดุจสมาชิกในครอบครัว สินค้าความงาม แฟชั่น และอาหาร ยังคงครองแชมป์ยอดขายสูงสุด ในขณะที่หลังคลายล็อคดาวน์ ยอดขายสินค้ากลุ่มท่องเที่ยวเติบโตขึ้น 13 เท่าจากต้นปี สอดรับกระแสผู้บริโภคเริ่มกลับมาท่องเที่ยวเพื่อความผ่อนคลายหลังยกเลิกล็อคดาวน์


LINE SHOPPING นับเป็นผู้นำแพลตฟอร์มโซเชียลคอมเมิร์ซอันดับหนึ่งของประเทศไทยที่มอบประสบการณ์ช้อปปิงออนไลน์ที่ง่ายและสะดวกสบาย ด้วย LINE Ecosystem ทั้งหมดที่เชื่อมต่อกันอย่างไร้รอยต่อ อีกทั้งยังเปิดให้ร้านค้าสมัครใช้งานฟรี ไม่มีการเก็บ GP หรือค่าธรรมเนียม นอกจากนี้การนำ Loyalty Program อย่าง LINE POINTS เข้ามาสนับสนุนร้านค้าบน LINE SHOPPING จึงเป็นการช่วยกระตุ้นการจับจ่ายร้านค้ารายเล็กซึ่งจะช่วยส่งผลดีให้กับทางสภาพเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ร้านค้าโซเชียลบน LINE SHOPPING ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (Micro-entrepreneurs, Small and Medium-sized Enterprises) ซึ่งต่างได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ล็อคดาวน์ แต่ในขณะเดียวกันยังคงต้องแข่งขันที่จะดำเนินธุรกิจต่อไป นอกจากนี้ผู้บริโภคยังได้รับประโยชน์และความคุ้มค่ากว่าแพลตฟอร์มอื่น ทำให้การช้อปปิงบน LINE SHOPPING สนุกสนานและมีความหมายกว่าที่เคย

ใหม่กว่า เก่ากว่า