ทำไมหลายสนามบินจึงหันมาใช้ไมโครกริดเพื่อสร้างความยั่งยืน


ทำอย่างไรสนามบินจึงจะสามารถบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางด้านคาร์บอน (carbon neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ได้ภายในปี 2050 โซลูชันที่ดีที่สุดคือการรวมไมโครกริดไว้ในแผนพลังงานสีเขียว ไมโครกริด Microgrids ได้รับการยอมรับว่าเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาดสำหรับความพยายามเพื่อไปสู่การเป็นสนามบินคาร์บอนต่ำ เนื่องจากให้ความสามารถหลากหลายแง่มุม เพิ่มความยั่งยืนและความยืดหยุ่น อีกทั้งช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย

แม้ว่าในระยะหลังๆ สนามบินหลายแห่งเริ่มมีการปรับใช้ไมโครกริด ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการตอบสนองความท้าทายด้านความยั่งยืนและความน่าเชื่อถือของพลังงานในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งดาต้าเซ็นเตอร์ โรงพยาบาล การคมนาคมขนส่ง และอาคารพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น ท่าเรือขนาดใหญ่ของแคลิฟอร์เนียหลายแห่งได้มีการปรับใช้ไมโครกริดเพื่อความปลอดภัยด้านพลังงาน และให้ความยืดหยุ่นได้ตามต้องการ เพื่อตอบโจทย์เรื่องกฎระเบียบด้านสภาพภูมิอากาศที่เข้มงวดของแคลิฟอร์เนีย ไมโครกริดของ Port of Long Beach เป็นตัวอย่างที่ช่วยให้มั่นใจได้ถึงการจัดหาพลังงานได้อย่างเสถียรโดยใช้ฟีเจอร์นวัตกรรม อย่างเช่น แบตเตอรี่เคลื่อนที่ ที่สามารถขยายการเข้าถึงไมโครกริดได้ทั่วอากาศยานระหว่างที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน



ไมโครกริดมีเครือข่ายไฟฟ้าในตัวเอง ช่วยให้สนามบินต่างๆ สามารถบริหารจัดการไซต์พลังงานได้ด้วยตัวเอง รวมไปถึงการควบคุมการใช้งานได้ไม่ว่าจะใช้เมื่อไร หรือใช้อย่างไรก็ตาม โดยสามารถผสานรวมการใช้พลังงานหมุนเวียนร่วมกัน เช่น พลังงานลมและแสงอาทิตย์ และสามารถบริหารจัดการและใช้พลังงานได้อย่างเหมาะสมเต็มประสิทธิภาพ ด้วยคุณสมบัติอย่างการกักเก็บพลังงานไว้ที่ไซต์ เช่นแบตเตอรี่และเซลล์เชื้อเพลิง ที่สามารถกักเก็บพลังงานที่ผลิตในไซต์ได้ทำให้ไม่ต้องปล่อยทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์  การขับเคลื่อนไปสู่การผลิตไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมคือสิ่งสำคัญ เพราะสนามบินมีผู้ใช้พลังงานจำนวนมหาศาล – การใช้พลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อนของสนามบินขนาดใหญ่ ในแต่ละวันเทียบเท่ากับเมืองที่มีประชากรมากถึง 100,000 คน

ไมโครกริดสามารถรวมและบริหารจัดการแหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์ (DER) ได้หลายประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานที่ได้จากแหล่งพลังงานหมุนเวียน ไมโครกริดจะให้ความสามารถในการสร้างสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ผ่านฟีเจอร์การจัดการขั้นสูง เช่น การปลดโหลดได้อย่างชาญฉลาด และ/หรือความสามารถในการเรียกใช้หรือปิดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแต่ละตัว



ไมโครกริดเป็นเสาหลักสำคัญของความยั่งยืนแห่งอนาคตของสนามบิน เพราะพลังงานที่ยืดหยุ่นและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้ความปลอดภัยด้านพลังงานที่ขาดไม่ได้

สิ่งอำนวยความสะดวกที่สำคัญ เช่น สนามบิน ไม่เพียงต้องการพลังงานสีเขียวเท่านั้น แต่ยังต้องเป็นพลังงานที่เชื่อถือได้ด้วย เพราะเป็นประเด็นเรื่องของความปลอดภัยอีกทั้งยังเกี่ยวข้องอย่างมากกับเรื่องการเงิน มีเหตุการณ์ที่เกิดเมื่อเร็วๆ นี้ หลายเหตุการณ์ ที่แสดงให้เห็นว่าการที่ไฟฟ้าดับทำให้เกิดการหยุดชะงักและเสียค่าใช้จ่ายได้มากเพียงใด เช่นการที่ Atlanta International ไฟฟ้าดับนานถึง 11 ชั่วโมง นั้นทำให้ Delta Airlines เสียค่าใช้จ่ายประมาณ 50 ล้านดอลลาร์ รวมถึงทำให้ผู้โดยสารหลายพันคนต้องรอเก้อ และนำไปสู่การยกเลิกเที่ยวบินประมาณ 1,500 เที่ยว

การมีแหล่งพลังงานทางเลือกที่เชื่อถือได้ เช่น ไมโครกริด สามารถป้องกันการสูญเสียเหล่านี้ได้โดยมั่นใจได้ว่าจะมีการจ่ายไฟอย่างต่อเนื่องแม้ในช่วงที่ไฟฟ้าดับ

ไมโครกริดยังช่วยประหยัดต้นทุนได้อย่างมาก

การตอบสนองความต้องการด้านพลังงานของสนามบิน ด้วยพลังงานหมุนเวียนจากไมโครกริดสามารถใช้ต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

·        ช่วยให้สนามบินมีความยืดหยุ่นในการเลือกใช้พลังงานที่มีราคาถูกกว่าทางเลือกอื่นๆ ด้วยการทำงานในโหมดกริดหรือ island mode เพื่อสร้างสมดุลด้านค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพในช่วงที่มีการใช้งานสูงสุด

·        สนามบินประหยัดเงินได้โดยการใช้พลังงานได้เกิดประโยชน์สูงสุด

·        สามารถหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายจากไฟฟ้าขัดข้องได้

แต่การที่จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด สนามบินต้องทำเทคโนโลยีอัจฉริยะเข้ามาช่วยบริหารจัดการไมโครกริด

ไมโครกริดและการสนับสนุนเทคโนโลยีช่วยให้มั่นใจถึงเงื่อนไขการทำงานที่เหมาะสมที่สุด และให้ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญรวมถึงให้ความเสถียรของระบบ ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีไมโครกริดมอบเครื่องมือต่างๆ แก่สนามบินในการบริหารจัดการแหล่งผลิตพลังงานแบบกระจายศูนย์ในระยะไกลได้แบบไดนามิคโดยอัตโนมัติ ด้วยการใช้พลังงานหมุนเวียนได้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด และช่วยให้สนามบินควบคุมของพลังงานได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งให้ความสามารถในการสร้างสมดุลของโหลดเพื่อให้เกิดความเสถียร นอกจากนี้เทคโนโลยีที่เชื่อมต่อยังช่วยในการคาดการณ์ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการใช้งาน การผลิต การเก็บ และการขายพลังงาน เพื่อให้สนามบินมีทางเลือกด้านพลังงานที่ฉลาดและคุ้มค่าที่สุด

การประยุกต์ใช้ไมโครกริดและเทคโนโลยีอัจฉริยะ ตลอดจนสถาปัตยกรรมระบบดิจิทัลที่สมบรูณ์แบบ end-to-end นอกจากจะช่วยให้ระบบเหล่านี้ทำงานได้ดีแล้ว ยังช่วยสร้างความอุ่นใจเนื่องจากช่วยให้มั่นใจถึงความต่อเนื่องด้านพลังงานที่เชื่อถือได้ เนื่องจากเป็นแหล่งพลังงานที่จัดหาได้เองในพื้นที่ จึงทำให้ไมโครกริดสามารถแยกตัวเองออกจากโครงข่ายหลัก ทว่ายังคงจัดหาพลังงานป้อนสนามบินได้อย่างต่อเนื่องกระทั่งในช่วงที่เกิดความผันผวนด้านพลังงานก็ตาม นอกจากนี้ ไมโครกริดยังให้พลังงานที่สะอาดกว่าทางเลือกพลังงานสำรองแบบดั้งเดิมเช่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานดีเซล ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานฉุกเฉินที่ใช้กันมากที่สุดโดยทั่วไปสำหรับสนามบิน แต่เป็นส่วนที่ปล่อยมลพิษที่เกี่ยวข้องในสนามบินซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายที่แพงในการดูแลและซ่อมบำรุง

ตัวอย่างสนามบิน JFK กำลังนำโซลูชันไมโครกริดมาใช้งาน เพื่อลดใช้การใช้พลังงานได้มากถึง 30 เปอร์เซ็นต์

สนามบิน JFK ของมหานครนิวยอร์ค ที่รองรับผู้โดยสารมากว่า 60 ล้านคนต่อปี ได้มีการพัฒนาอาคารผู้โดยสาร Terminal One ด้วยการนำไมโครกริดที่ล้ำหน้าและเครื่องมือเชื่อมต่อไมโครกริดมาใช้ ที่จะช่วยปรับปรุงเรื่องความยั่งยืนและเพิ่มความยืดหยุ่นของอาคารผู้โดยสาร โดยคาดว่าจะช่วยลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงทั้งหมดที่ใช้ในการดำเนินการในส่วนอาคารผู้โดยสารได้มากถึง 30 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยให้สนามบินสามารถบรรลุเป้าหมายการใช้งานงานพลังงานหมุนเวียนได้ 100 เปอร์เซ็นต์ภายในสิบปีข้างหน้า และยังเพิ่มเวลาทำงานหรือ uptime ได้ถึง 99.999 เปอร์เซ็นต์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทบาทสำคัญของไมโครกริดในการสร้างความยั่งยืนแห่งอนาคต

สนามบินและอุตสาหกรรมอื่นๆ จึงไม่ควรพลาดโอกาสสำคัญในการสร้างความก้าวหน้าไปสู่ความยั่งยืน และเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนด้วยการนำโซลูชันเทคโนโลยีที่ได้รับการพิสูจน์และยอมรับมาใช้งาน เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยีไมโครกริดและไมโครกริดช่วยให้สนามบินอย่าง JFK มั่นใจในพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและน่าเชื่อถือ


โดย วัลเลอรี เลย์อัน ประธานฝ่ายการขนส่งดูแลทั่วโลก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

 

ใหม่กว่า เก่ากว่า