การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังคงส่งผลกระทบต่อชีวิตของเรา และหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียยังคงต่อสู้กับจํานวนการติดเชื้อรายวันที่สูง ทำให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตมีความสำคัญมากขึ้นกว่าเดิม
วิธีที่ผู้คนใช้เทคโนโลยีเพื่อค้นหาโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากสถานการณ์โรคระบาดนั้นน่าทึ่งมาก องค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกได้เปลี่ยนวิธีการใช้เทคโนโลยีคลาวด์จากที่เคยใช้เพื่อรองรับการทำงานในการดําเนินธุรกิจ เทคโนโลยีคลาวด์ได้กลายมาเป็นกลยุทธ์ที่จําเป็นต่อความอยู่รอดของพวกเขา ต้องเผชิญกับวิธีใหม่ในการดําเนินธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว บริษัทต่าง ๆ ถูกบังคับให้เร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล และนําเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้อย่างรวดเร็ว พร้อมกับเข้าใจอย่างรวดเร็วว่าธุรกิจไม่ดำเนินไปตามปกติอีกต่อไปและอาจไม่มีวันเป็นกลับเป็นเช่นเดิมอีก
แต่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็ว องค์กรต่าง ๆ ต้องการทักษะที่เหมาะสมเพื่อใช้ประโยชน์จากระบบคลาวด์ที่มีความสามารถหลากหลายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพที่สุด
ขั้นตอนแรก: การจัดการทรัพยากรบุคคลและไอทีให้สอดคล้อง
องค์กรไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแบบดิจิทัลได้โดยการกดปุ่มและปล่อยให้ระบบคลาวด์เข้ามาแทนที่ แต่จําเป็นต้องมีทักษะดิจิทัลที่หลากหลาย ซึ่งบุคลากรที่มีทักษะเหล่านี้กำลังเป็นที่ขาดแคลน งานศึกษาล่าสุดโดย AlphaBeta Research ที่ได้รับมอบหมายจาก AWS ชื่อว่า “ปลดล็อกศักยภาพทางดิจิทัลของ APAC: การเปลี่ยนแปลงความต้องการทักษะดิจิทัลและแนวทางนโยบาย” ครอบคลุม 6 ประเทศในเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย พบว่าจํานวนบุคลากรที่ใช้ทักษะดิจิทัลในประเทศเหล่านี้จะต้องเพิ่มขึ้นอีกถึง 5 เท่า (จาก 149 ล้านคน ในปีพ.ศ. 2563 เป็น 819 ล้านคนในปีพ.ศ. 2568) ในทํานองเดียวกัน งานศึกษาระบุว่าจํานวนบุคลากรที่ต้องการทักษะคลาวด์ขั้นสูง คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า หลายบริษัทในภูมิภาคของเราเพิ่งเริ่มจะเข้าใจถึงความซับซ้อนและความเชี่ยวชาญที่จําเป็นในการบริหารจัดการระบบคลาวด์อย่างมีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีคลาวด์ยังค่อนข้างใหม่ เป็นสาขาเทคโนโลยีใหม่เมื่อประมาณ 15 ปีที่แล้ว และความก้าวหน้าในความสามารถของระบบคลาวด์ เช่น แมชชีนเลิร์นนิง (ML) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้พัฒนาอย่างรวดเร็วจนหลายองค์กรที่ต้องการจะนําเทคโนโลยีล่าสุดมาใช้ไม่รู้ว่าควรจะเริ่มต้นจากตรงไหน
หลายบริษัทยังไม่รู้ว่าองค์กรที่เน้นใช้งานระบบคลาวด์เป็นอย่างไร ถูกออกแบบ ถูกสร้าง ใช้งานอย่างไร และบุคลากรแบบไหนที่จําเป็นเพื่อให้ทํางานได้อย่างถูกต้อง ต้องใช้พนักงานกี่คน ทักษะใด และจะหาบุคลากรเหล่านี้ได้อย่างไร
บริษัทจําเป็นต้องสร้างความสอดคล้องที่ชัดเจนระหว่างทีมไอทีและทีมทรัพยากรบุคคล (HR) สิ่งนี้ทําให้มั่นใจได้ว่าการว่าจ้าง การฝึกอบรม และการบริหาร จะดําเนินไปในลักษณะที่สอดคล้องกันและพิจารณาอย่างรอบคอบ ส่งผลให้เกิดเป็นทีมที่มีความพร้อมด้านคลาวด์ สิ่งนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยให้ทีมสามารถยกระดับและมีความเท่าทันในโลกดิจิทัลปัจจุบัน แต่ยังช่วยให้องค์กรเกิดการเติบโตอีกด้วย
แนวคิดการเน้นใช้งานระบบคลาวด์ก่อนระบบอื่น (หรือ คลาวด์ เฟิร์สท์)
เมื่อองค์กรได้ข้ามอุปสรรคแรกแล้ว พวกเขาจะต้องใช้แนวคิดการเน้นใช้งานระบบคลาวด์ก่อนระบบอื่น – คลาวด์ต้องเป็นรากฐานของกลยุทธ์ไอทีของพวกเขา เพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากพลังการประมวลผลแบบไฮเปอร์สเกลสามารถทำได้
โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีภายในองค์กรแบบดั้งเดิมมีข้อบกพร่องมากมายที่คลาวด์สามารถแก้ได้ เช่น ประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่ดีขึ้น การปล่อยมลพิษที่ลดลง ต้นทุนที่ต่ำกว่า ความคล่องตัว ความยืดหยุ่น ความปลอดภัย และอีกมากมาย ในแง่ของทักษะที่จําเป็น โครงสร้างพื้นฐานภายในองค์กรแบบดั้งเดิมต้องการบุคลากรเฉพาะด้าน ที่แต่ละคนดูแลส่วนใดส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที แต่ละทีมหรือบุคลากรแต่ละคนมีทักษะที่แตกต่างกันไปในการรับมือด้านต่าง ๆ อาทิ การประมวลผล, การจัดเก็บ, เครือข่าย, ความปลอดภัย, การใช้งาน, การบํารุงรักษาเซิร์ฟเวอร์, ฮาร์ดแวร์, ระบบปฏิบัติการ (OS), เวอร์ชวลไลเซชั่น ซอฟต์แวร์ และการปรับปรุงซอฟต์แวร์, และการจัดการแพตช์
ด้วยโครงสร้างพื้นฐานบนระบบคลาวด์ ผู้ให้บริการเป็นผู้ดูแลงานเหล่านี้ ซึ่งหมายความว่าหน้าที่ต่าง ๆ ก่อนหน้านี้สามารถพัฒนาไปสู่ฟังก์ชั่นวิศวกรคลาวด์ข้ามสายงาน โดยมีความเชี่ยวชาญพิเศษหลายอย่าง
การระบุทักษะที่เหมาะสม
เมื่อพูดถึงทักษะด้านคลาวด์ มีหลายบทบาทที่เป็นที่ต้องการเป็นอย่างมาก ในงานศึกษาของ AlphaBeta การออกแบบสถาปัตยกรรมคลาวด์กลายเป็นทักษะที่ต้องการสูงสุดอย่างต่อเนื่อง เมื่อปริมาณข้อมูลเพิ่มขึ้น สถาปัตยกรรมของคลาวด์ต้องการการออกแบบที่รอบคอบมากขึ้นและมีความปลอดภัยในระดับสูง ทักษะการประมวลผลระบบคลาวด์ขั้นสูงอีกอย่างหนึ่งคือความสามารถในการช่วยให้องค์กรเปลี่ยนจากโครงสร้างพื้นฐานที่ติดตั้งอยู่ภายในองค์กร มาเป็นโครงสร้างพื้นฐานบนคลาวด์ สิ่งนี้คาดว่าจะมีความสําคัญมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคธุรกิจที่ไม่ใช่เทคโนโลยี เช่น การผลิต การเรียนรู้ และการค้าปลีก
ความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลรูปแบบอื่น ๆ ที่สนับสนุนการประมวลผลบนคลาวด์ รวมถึงทักษะด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ และความสามารถด้าน AI และ ML ก็มีความสําคัญมากขึ้นเช่นกัน จากงานศึกษาใน 6 ประเทศ พบว่าบุคลากรจะต้องใช้ทักษะดิจิทัลใหม่โดยเฉลี่ย 7 ทักษะ ภายในปีพ.ศ. 2568 รวมถึงความรู้เกี่ยวกับการทําเหมืองข้อมูล (Data Mining) เทคนิควิทยาการข้อมูล และความสามารถในการสร้างแบบจําลองข้อมูลขนาดใหญ่
ทรัพยากรอยู่ในมือเพื่อช่วยให้บริษัทและแต่ละคนเชื่อมโยงช่องว่างด้านทักษะ และสร้างทีมที่เหมาะสมสําหรับการใช้คลาวด์ AWS มุ่งมั่นที่จะเตรียมความพร้อมบุคลากรและองค์กร ด้วยความรู้ที่จําเป็นในการบรรลุเป้าหมายด้านการใช้คลาวด์เพื่อขับเคลื่อนองค์กรและอาชีพของพวกเขาให้ก้าวหน้า ซึ่งรวมถึงชุดหลักสูตรการฝึกอบรมด้านดิจิทัลแบบตามความต้องการ (on-demand) ฟรี มากกว่า 500 หลักสูตร เพื่อช่วยสร้างความรู้และความเชี่ยวชาญโดยมีหลักสูตรมากมายในหลายภาษา นอกจากนี้ AWS ยังร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและรัฐบาลท้องถิ่นเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถเข้าถึงการฝึกอบรมระบบคลาวด์ได้
ทำให้การเปลี่ยนแปลงง่ายขึ้น
เมื่อย้ายไปยังระบบคลาวด์แล้วองค์กรต่าง ๆ จําเป็นต้องพิจารณาวิธีสร้างทักษะให้กับบุคลากรที่จัดการโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์กรก่อนหน้านี้ ข่าวดีก็คือทักษะภายในองค์กรส่วนใหญ่สามารถถ่ายโอนได้อย่างง่ายดายด้วยการฝึกอบรม และการฝึกทักษะใหม่ ๆ ให้แก่บุคลากรแบบดั้งเดิมเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการหล่อเลี้ยงนวัตกรรมในองค์กร การพัฒนาทักษะของบุคลากรด้านไอทีที่มีอยู่โดยการเรียนรู้วิธีการทำงานใหม่ ๆ เป็นสิ่งจําเป็นเพื่อปลดล็อกศักยภาพความสามารถบนคลาวด์อย่างเต็มที่ ระบบคลาวด์นําเสนอโอกาสในการคิดค้นสร้างสรรค์นวัตกรรมในรูปแบบที่น่าสนใจและแปลกใหม่ให้แก่บุคลากรไอทีแบบดั้งเดิมจํานวนมาก บริษัทต่าง ๆ ยังต้องให้ความรู้กับตัวเองในเรื่องความพร้อมของระบบคลาวด์และความสามารถของตน รวมถึงมีภาพการเปลี่ยนแปลงของทีมไอทีของพวกเขาที่ชัดเจน การเรียนรู้ความต้องการด้านการวิเคราะห์สามารถช่วยในเรื่องนี้ได้ ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องว่าใครสามารถยกระดับทักษะใหม่ และจุดไหนที่บุคลากรสามารถช่วยเพิ่มมูลค่ามากที่สุดในโลกใหม่แบบดิจิทัลนี้
การโยกย้ายไปยังระบบคลาวด์ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในคลิกเดียวเพื่อแก้ปัญหาด้านดิจิทัลของบริษัท แต่จําเป็นต้องมีทักษะที่เหมาะสม ซึ่งพนักงานไอทีแบบดั้งเดิมที่มีอยู่สามารเรียนรู้ทักษะเหล่านี้ได้ผ่านการฝึกอบรมระยะสั้น หากแต่การเดินทางนี้ต้องการการวางแผนอย่างรอบคอบ มีทีมที่เหมาะสม และมีจุดหมายปลายทางที่ชัดเจน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เส้นทางสู่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลชัดเจนขึ้นและง่ายต่อการติดตาม