Vero แนะวิธีรับภัยข่าวปลอมและข้อมูลบิดเบือนผ่านคู่มือฉบับดิจิทัล


วีโร่ หนึ่งในผู้ให้บริการด้านประชาสัมพันธ์และดิจิทัลชั้นนำในภูมิภาคอาเซียน เปิดตัวหนังสือคู่มือประชาสัมพันธ์ เพื่อช่วยแบรนด์ต่างๆ รับมือกับภัยจากข่าวปลอม โดยในคู่มือดังกล่าวระบุถึงภัยของข่าวปลอมและข้อมูลบิดเบือนอันจะส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงขององค์กร พร้อมแนะนำมาตรการเชิงรุกเพื่อให้ธุรกิจสามารถป้องกันตนเองได้

หนังสือคู่มือประชาสัมพันธ์สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ (vero-asean.com) เผยถึงประเภทของผู้ไม่หวังดีที่มุ่งโจมตีผ่านการสร้างและเผยแพร่ข่าวปลอมและข้อมูลที่บิดเบือน ได้แก่ ผู้ก่อกวนบนโลกออนไลน์ (Trolls) ผู้แสวงหาผลประโยชน์ในตลาดหรือธุรกิจนั้นๆ (Market manipulator) และคู่แข่งที่ไร้จริยธรรมทางธุรกิจ (Unethical competitor) นอกจากนี้คู่มือดังกล่าวยังช่วยวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงหลักๆ 3 ประการ ที่ผู้ไม่หวังดีสามารถใช้สร้างข่าวปลอมและข้อมูลบิดเบือนโจมตีแบรนด์ได้ เช่น กิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ อาทิ การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่และแบรนด์แอมบาสเดอร์ การดำเนินงานขององค์กรและกิจกรรมเกี่ยวกับตลาดทุน อาทิ การควบรวมกิจการ และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรของบริษัท อาทิ ถ้อยแถลงของผู้บริหารระดับสูง เป็นต้น


"ขณะนี้เราอยู่ในยุคแห่งการบิดเบือนข้อมูล และหลายครั้งที่พบว่าผู้กระทำความผิดนั้นอยู่ในสถานะที่ได้เปรียบ” นาย ไบรอัน กริฟฟิน กรรมการผู้จัดการบริษัท วีโร่ กล่าว “การสกัดกั้นการโจมตีโดยใช้วิธีบิดเบือนข้อมูลโดยสิ้นเชิงนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ที่ ดังนั้นผู้นำธุรกิจและแบรนด์ต่างๆ ควรใช้แนวทางเชิงรุกเพื่อจัดการกับภัยคุกคามเหล่านี้ โดยมีการตรวจสอบการสนทนาและการสื่อสารบนโลกออนไลน์อย่างรอบคอบและสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านการเตรียมพร้อมสำหรับรับมือการโจมตีดังกล่าว”

นอกจากการเน้นย้ำถึงประเภทของภัยคุกคามแล้ว คู่มือประชาสัมพันธ์นี้ยังมีข้อแนะนำต่างๆ เพื่อช่วยให้แบรนด์เตรียมพร้อมและลดผลกระทบจากการโจมตีด้วยข้อมูลบิดเบือน เช่น จัดเตรียมทีมงานเพื่อรับมือกับวิกฤติที่เกิดจากข้อมูลบิดเบือน สำรวจพื้นที่เสี่ยงที่อาจถูกโจมตี ทำรายการสำคัญหรือคีย์เวิร์ดต่างๆ สำหรับการตรวจสอบบทสนทนาที่อาจเกี่ยวข้องกับบริษัทบนโลกออนไลน์ การสร้างความน่าเชื่อถือด้วยการสื่อสารที่โปร่งใสอย่างสม่ำเสมอ การบริหารจัดการช่องทางการสื่อสารของตน การเตรียมพร้อมนำเสนอข้อเท็จจริงเพื่อหักล้างข่าวปลอมและข้อมูลบิดเบือน ตลอดจนการแจ้งแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเพื่อต่อต้านผู้ไม่หวังดี

“แบรนด์ควรมีช่องทางการสื่อสารของตนเองที่หลากหลาย เพื่อสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างชัดเจนและสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่แบรนด์ และช่วยให้มั่นใจว่ากลุ่มผู้ฟังพร้อมเปิดใจรับฟังเมื่อแบรนด์ออกมาปกป้องตนเองจากข่าวลือและข่าวลวง ข้อเท็จจริงที่โปร่งใสและอธิบายอย่างเรียบง่าย เมื่อถูกถ่ายทอดอย่างมีประสิทธิภาพจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เป็นพลังสำคัญในการขจัดความเข้าใจผิดจากข้อความเท็จทั้งหลายและเพิ่มความเชื่อมั่นต่อแบรนด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ความเป็นจริงนั้นหาได้ยาก” นางสาว ภัทร์นีธิ์ จีริผาบ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสารของวีโร่ กล่าวทิ้งท้าย
ใหม่กว่า เก่ากว่า