Garmin ดึง 2 ผู้เชี่ยวชาญจากวงการแพทย์ ตอกย้ำความเชื่อมั่น การมีข้อมูลสุขภาพในมือ ช่วยสนับสนุนการรักษาได้ทันท่วงที


ครั้งแรกของวงการ การ์มิน ประเทศไทย เดินหน้าผลักดันการใช้เทคโนโลยีด้านสุขภาพ บนสมาร์ทวอทช์เพื่อตรวจจับความผิดปกติด้านสุขภาพ ดึง 2 ผู้เชี่ยวชาญจากวงการ์แพทย์ ย้ำความเชื่อมั่น ในการมีข้อมูลติดตามสุขภาพในมือจะช่วยสนับสนุนการรักษาได้ทันท่วงที พร้อมชู 4 จุดเด่นของ การ์มิน สมาร์ทวอทช์ ได้แก่ 1) ให้ข้อมูล 5 ตัวชี้วัดที่จำเป็นได้ครบถ้วน 2) แบตเตอรี่ทรงพลัง มอนิเตอร์สุขภาพได้ต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง 3) แม่นยำด้วยการตรวจจับความเปลี่ยนแปลงแบบวินาทีต่อวินาที 4) ฟีเจอร์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกายที่หลากหลายครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ เพื่อสนับสนุนให้คนไทยออกกำลังกาย พร้อมมอนิเตอร์ความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกันอย่างถูกวิธี หนึ่งความตั้งใจสำคัญที่ต่อยอดจากความสำเร็จของแคมเปญ #BeatTodayTogether พร้อมตอกย้ำแบรนด์ เมสเสจ Every Beat of Life – นวัตกรรมที่ก้าวทันทุกจังหวะของชีวิต

มร. สกาย เชน ผู้อำนวยการ การ์มิน ประเทศไทย กล่าวว่า “การ์มิน ตระหนักเป็นอย่างยิ่งกับตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องในช่วงเดือนที่ผ่านมา จึงต้องการตอกย้ำคนไทยในช่วงเวลาที่เปราะบางเช่นนี้ว่า การ์มินยังอยู่เคียงข้างเพื่อสนับสนุนการมีสุขภาพที่ดีของทุกคน ครั้งนี้จึงอยากชวนให้คนไทยทุกคนหันมาใส่ใจสุขภาพในเชิงลึกมากยิ่งขึ้นเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีของร่างกายร่วมกันสู้กับวิกฤติโลกไปด้วยกัน เพราะนอกจากสมาร์ทวอทช์ของการ์มินจะมีฟีเจอร์กีฬาที่หลากหลาย รองรับการออกกำลังกายที่ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ ยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพได้อย่างรอบด้านและถูกต้องแม่นยำ กับ 5 ตัวชี้วัดด้านสุขภาพที่สำคัญที่มีอยู่ในการ์มิน สมาร์ทวอทช์รุ่นใหม่ ได้แก่ 1) Pulse Ox Blood Sensors – ตัววัดค่าออกซิเจนในเลือด (SpO2) 2) Heart Rate Tracking – อัตราการเต้นของหัวใจ 3) REM Sleep Monitoring – การติดตามคุณภาพการนอน 4) Respiration Tracking – อัตราการหายใจ 5) Stress Monitoring - การติดตามระดับความเครียด ซึ่งข้อมูลที่ได้จาก 5 ตัวชี้วัดทางด้านสุขภาพ จะช่วยให้ผู้คนเข้าใจแน้วโน้มสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้องและรู้ถึงอาการผิดปกติของร่างกายได้เบื้องต้นในทันที” 

นพ. แอนดรูว์ อัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านการแพทย์และรังสีวิทยา โรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด เผยว่า “ผู้ป่วยโควิด-19 ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการชัดเจนในตอนแรก แม้ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ อุปกรณ์ของการ์มินที่สามารถติดตามและแจ้งระดับออกซิเจนในเลือดได้ตลอด 24 ชั่วโมงนั้น ช่วยได้มากในยามวิกฤตเช่นนี้ เพราะนอกจากระดับออกซิเจนในเลือดแล้ว การ์มินยังสามารถตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจได้ตลอดทั้งวัน แม้ในขณะนอน เพื่อกำหนดคุณภาพการนอนหลับและความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ และตัวชี้วัดด้านสุขภาพต่างๆ เหล่านี้ยังทำหน้าที่ได้อย่างดี การรู้เท่าทันความผิดปกติเหล่านี้ยังช่วยลดโอกาสในการแพร่ระบาดหรือการติดต่อในวงกว้างได้ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัส”


นพ. สิระ กอไพศาล อายุรแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญโรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า “การมีข้อมูลด้านสุขภาพระยะยาวนั้นมีค่ามากสำหรับการวินิจฉัยโรค เพราะเมื่อคุณหมอทราบถึงแพทเทิร์นด้านสุขภาพที่เป็นปกติของผู้ป่วยแล้ว ก็จะสามารถรู้ได้ทันทีว่าสุขภาพผู้ป่วยเริ่มผิดปกติไปตั้งแต่เมื่อไรและผิดปกติไปจากเดิมมากน้อยเพียงใด ในขณะที่ร่างกายยังไม่แสดงอาการแต่เราสามารถรู้ได้ก่อน นั่นแปลว่าเราสามารถร่นระยะเวลาการรักษาได้มากขึ้น และเมื่อข้อมูลถึงมือแพทย์ แพทย์ยังมั่นใจและวินิจฉัยได้แม่นยำเพื่อการรักษาที่ตรงจุดและทันท่วงที เพราะการรักษาคนไข้สิ่งที่ยากที่สุด คือการวินิจฉัยโรค ถ้าเรารู้เร็วรู้ไว โอกาสเสียชีวิตของคนไข้ก็จะน้อยลง”

“นอกจากนี้ การใช้ข้อมูลด้านสุขภาพยังสามารถช่วยในการวางแผนดูแลสุขภาพเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในระยะยาวได้เช่นกัน ไม่มีใครที่สุขภาพดีแบบ 100% แม้จะอาศัยอุปกรณ์สมาร์ทวอทช์ช่วย แต่เมื่อมีตัวชี้วัดด้านสุขภาพบนข้อมือของเรา เราจะสามารถทราบได้ว่าสภาพร่างกายของเรานั้นกำลังพัฒนาไปในทิศทางที่ดีหรือไม่ และสมาร์ทวอทช์ของการ์มินนั้นจะติดตามค่าต่างๆ ต่อไปนี้ ค่าออกซิเจนในเลือด อัตราการหายใจ อัตราการเต้นของหัวใจ การติดตามคุณภาพการนอน ระดับความเครียด ซึ่งถือว่าค่อนข้างครบถ้วนสำหรับตัวชี้วัดด้านสุขภาพเบื้องต้น เพราะเมื่อเราใช้ชีวิตประจำวัน หรือออกกำลังกายต่อกันเป็นระยะเวลานาน และตัวชี้วัดด้านสุขภาพแสดงอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักช้าลง คุณภาพการนอนหลับดีขึ้นและระดับความเครียดลดลง เราสามารถคาดเดาได้ว่าวิถีชีวิตหรือแผนการออกกำลังกายดังกล่าวนั้นอยู่ในระดับที่เหมาะสม ในทางกลับกัน หากข้อมูลแสดงว่าแย่ลง ควรพิจารณาว่าการฝึกหรือการใช้ชีวิตประจำวันแบบนั้นทำร้ายสุขภาพเกินไปหรือไม่ หากเรารู้ว่าระบบใดของเราทำงานผิดปกติ เราก็สามารถวางแผนฟื้นฟูระบบนั้นผ่านวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมได้ด้วยการใช้สมาร์ทวอทช์ที่รองรับกีฬาหรือการออกกำลังกายที่หลากหลาย” นพ. สิระ กล่าวเสริม 

5 ตัวชี้วัดทางสุขภาพจากสมาร์ทวอทช์ของการ์มินที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกาย ได้แก่

1. ค่าออกซิเจนในเลือด (Pulse Ox Blood Sensors) – ตัววัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (SpO2) เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพการทำงานของระบบหัวใจ หลอดเลือด และการหายใจ จากการอ้างอิงของคู่มือการฝึกอบรม Pulse Oximetry ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ผู้ที่มีสุขภาพปอดอยู่ในสถานะปกติ ค่าออกซิเจนในเลือดที่ดีควรอยู่ที่ระดับ 95% – 100%[2] จึงเป็นตัวบ่งชี้สำคัญที่ช่วยให้เราสันนิษฐานได้เบื้องต้นว่าระบบหัวใจ หลอดเลือด และการหายใจมีการทำงานผิดปกติ  

2. อัตราการเต้นของหัวใจ (Heart Rate Tracking) – อัตราการเต้นของหัวใจสามารถเป็นตัวบ่งชี้ได้เมื่อร่างกายมีไข้สูง เมื่ออุณหภูมิของร่างกายเพิ่มสูงขึ้นอย่างผิดปกติ อัตราการเต้นของหัวใจจะเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้อัตราการเต้นของหัวใจยังสามารถช่วยบ่งบอกความหนัก-เบาในการออกกำลังกาย เพื่อให้เราเลือกออกกำลังกายได้เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย 

3. การนอนหลับ (REM Sleep Monitoring) - การนอนหลับที่มีคุณภาพเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง นอกจากความรู้สึกหลังตื่นนอนแล้ว การมีอุปกรณ์ที่สำรวจคุณภาพการนอนที่คอยตรวจจับค่าออกซิเจนในเลือด อัตราการหายใจ และการพลิกตัวระหว่างการนอนอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งคืน จะช่วยให้เราได้รับข้อมูลเพื่อช่วยยืนยันได้อย่างถูกต้อง อัตราการเต้นของหัวใจจะอยู่ในระดับต่ำและสม่ำเสมอเมื่ออยู่ในช่วงหลับลึก ซึ่งปกติแล้วในวัยผู้ใหญ่ควรมีช่วงหลับลึกอยู่ที่ประมาณ 15% - 25% ของการนอน ถ้าหากต่ำกว่านี้เป็นไปได้ว่าประสิทธิภาพในการนอนลดลง
 
4. อัตราการหายใจ (Respiratory Tracking) – อัตราการหายใจปกติอยู่ที่ 12 – 20 ครั้งต่อนาที โดยทั่วไปแล้วอัตราหายใจต่ำจะบ่งชี้ถึงสภาพร่างกายที่แข็งแรง อัตราการหายใจที่เหมาะสมจะช่วยลดความตึงเครียด เพิ่มสมาธิ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการนอนหลับได้อีกด้วย ดังนั้น ถ้าหากเรามีข้อมูลที่ช่วยบ่งชี้ได้อย่างถูกต้อง จะช่วยให้เราปรับปรุงการหายใจได้ดีมากยิ่งขึ้น 

5. ระดับความเครียด (Stress Monitoring) – การตรวจจับระดับความเครียดด้วยอุปกรณ์ที่น่าเชื่อถือจะใช้ข้อมูลจากความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจเพื่อประเมินระดับความเครียด ถ้าหากข้อมูลบ่งชี้ว่าเรามีอัตราความเครียดอยู่ในระดับ 51 – 100 แสดงว่าร่างกายกำลังเผชิญหน้ากับความเครียดในระดับสูง ซึ่งจะส่งผลต่อสภาพร่างกายและจิตใจ สภาวะการนอนหลับ รวมถึงการใช้ชีวิตในประจำวัน อาจจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาว

“ข้อมูล 5 ตัวชี้วัดทางสุขภาพที่ได้จากฟีเจอร์ของสมาร์ทวอทช์หรืออุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะไม่ใช่สิ่งที่ช่วยวินิจฉัยโรคหรืออาการผิดปกติของร่างกาย แต่เป็นสิ่งที่ช่วยให้เรารู้และเข้าใจแนวโน้มสุขภาพได้อย่างถูกต้อง และสามารถให้ข้อมูลดังกล่าวกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประกอบการวินิจฉัยโรคและตรวจสุขภาพในเชิงลึกเพื่อให้ผลลัพธ์ของการตรวจออกมาอย่างแม่นยำมากที่สุด โดยทั้ง 5 ตัวชี้วัดทางสุขภาพสะท้อนให้เห็นว่าร่างกายคนเรามีการทำงานสอดคล้องและส่งผลซึ่งกันและกัน ดังนั้นเราควรสำรวจทั้ง 5 ตัวชี้วัดทางสุขภาพอย่างรอบด้านและสม่ำเสมอ เพื่อนำไปสู่การเข้าใจแนวโน้มสุขภาพในระยะยาวได้อย่างถูกต้อง” นพ. สิระ กล่าวเพิ่มเติม 

นอกจากฟีเจอร์ที่ช่วยให้ข้อมูล 5 ตัวชี้วัดทางสุขภาพอย่างถูกต้อง แม่นยำและน่าเชื่อถือแล้ว การ์มิน สมาร์ทวอทช์ยังมีฟีเจอร์ที่ช่วยเสริมสร้างการออกกำลังผู้ใช้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อตอบรับอีกหนึ่งเทรนด์การดูแลสุขภาพของคนในยุคนี้ คือ การออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆ ด้วยตัวเองเพื่อช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายและจิตใจ จะเห็นได้ว่าการติดตามข้อมูลทางสุขภาพอย่างถูกต้องและการออกกำลังกายอย่างมีประสิทธิภาพควบคู่ไปพร้อมกันสามารถช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีในระยะยาวได้

โดยสมาร์ทวอทช์จากการ์มินมีครอบคลุมการออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพทุกไลฟ์สไตล์ในราคาที่เข้าถึงได้ ทั้ง 
1) Garmin Vivomove Vivoactive Venu Series เเละ Lily - ไลฟ์สไตล์ สมาร์ทวอทช์ที่เหมาะกับผู้เริ่มต้นออกกำลังกาย และการสวมใส่ในชีวิตประจำวัน 
2) Garmin Forerunner Series – สมาร์ทวอทช์สำหรับสายวิ่งเพื่อฟิตร่างกายในชีวิตประจำวัน หรือนักกีฬาวิ่งที่ต้องฝึกซ้อมอย่างหนัก 
3) Garmin Fenix Series – สมาร์ทวอทช์ มัลติสปอร์ตสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกายที่หลากหลาย เช่น ฟิตเนส วิ่ง ว่ายน้ำ ปีนเขา ปั่นจักรยาน ฯลฯ 

ซึ่งสมาร์ทวอทช์ของการ์มินที่มีทั้งฟีเจอร์ช่วยให้ข้อมูล 5 ตัวชี้วัดทางสุขภาพได้อย่างแม่นยำและฟีเจอร์ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการออกกำลังกายในทุกรูปแบบได้อย่างเต็มที่ จึงมั่นใจได้ว่านวัตกรรมอันล้ำสมัยของการ์มินจะช่วยสร้างเสริมเกราะป้องกันทางสุขภาพให้คนไทยมีร่างกายที่แข็งแรงต่อไปในระยะยาว

“เราเชื่อมั่นว่าการสำรวจแนวโน้มสุขภาพของตนเองผ่านข้อมูลจาก 5 ตัวชี้วัดทางสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ประกอบกับการออกกำลังกายอย่างถูกต้องเป็นประจำอย่างต่อเนื่องในระยะยาว ไม่ใช่แค่เฉพาะช่วงวิกฤตโรคระบาดเท่านั้น จะช่วยสร้างเสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ และเตรียมแผนการดูแลสุขภาพให้พร้อมต่อเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้อยู่เสมอในอนาคต” มร. สกาย เชน กล่าวสรุป
ใหม่กว่า เก่ากว่า