เมื่อเร็วๆ นี้ 3เอ็ม ได้เผยผลการสำรวจจากดัชนีสถานะวิทยาศาสตร์ประจำปี 2564 (State of Science Index 2021) ซึ่งเป็นการสำรวจด้านมุมมองต่อวิทยาศาสตร์ประจำปีที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่สนับสนุนโดย 3เอ็ม และมีผู้เข้าร่วมถึง 17,000 คนทั่วโลก โดยผลการสำรวจปีนี้เผย 5 ประเด็นหลักได้แก่ วิทยาศาสตร์สร้างความหวัง ภาพลักษณ์ของวิทยาศาสตร์ ความยั่งยืน สะเต็ม (STEM หรือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์) และความรับผิดชอบร่วมกัน
1) วิทยาศาสตร์สร้างความหวัง: วิทยาศาสตร์กำลังมีความสำคัญมากขึ้นขึ้นในเอเชียแปซิฟิค แต่มันจะคงอยู่ได้นานแค่ไหน?
ในช่วงของโรคระบาดโควิด-19 ทั่วโลก วิทยาศาสตร์ได้กลายเป็นแสงแห่งความหวังของผู้คนทั้งโลก ต้องขอบคุณวิทยาศาสตร์ที่ทำให้เราพบว่าไวรัสทำงานอย่างไร และพัฒนาวัคซีนขึ้นได้อย่างรวดเร็วเป็นสถิติใหม่ โดยอาศัยประสบการณ์จากการวิจัยและการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ก่อนหน้านี้หลายปี
ไม่น่าแปลกใจเลยที่ความหวังที่เพิ่มขึ้นนี้คือการค้นพบโดยรวมที่ถูกเปิดเผยในดัชนีสถานะวิทยาศาสตร์ (State of Science Index - SOSI) ประจำปีนี้ โดยการสำรวจดัชนีนี้เป็นงานวิจัยประจำปีขององค์กรที่ที่ 3เอ็ม ให้การสนับสนุน เพื่อให้ติดตามทัศนคติของผู้คนต่อวิทยาศาสตร์ โดยองค์กรดังกล่าวดำเนินการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมปีนี้จากผู้เข้าร่วม 17,000 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มีจำนวนผู้ร่วมการสำรวจที่14,000 คน นับเป็นการเก็บข้อมูลด้านความชื่นชมวิทยาศาสตร์จากฐานข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน
จากการวิจัยพบว่าวิทยาศาสตร์ได้นำความหวังมาสู่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างมาก เมื่อความสนใจของผู้คนได้แปรผันไปสู่วัคซีน วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่หลายคนต่างพึ่งพาเพื่อช่วยในการช่วยฟื้นฟูและและทำให้ชีวิตของพวกเขากลับมาเป็นปกติ โดยผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคถึง 91% กล่าวว่าวิทยาศาสตร์ทำให้พวกเขามีความหวังสำหรับอนาคต และผู้คนถึง 90% มีความหวังว่าปี 2564 จะเป็นปีที่ดีกว่า 2563เนื่องจากวิทยาศาสตร์
2) ภาพลักษณ์ของวิทยาศาสตร์: ที่ใดมีความหวัง ที่นั่นย่อมมีความไว้วางใจ
นายเควิน แมคกิวแกน รองประธานและกรรมการผู้จัดการ 3เอ็ม ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประธานบริหารของ 3เอ็ม ประเทศสิงคโปร์ กล่าวว่า "สิ่งที่มีควบคู่ไปกับความหวังคือความเชื่อมั่นในวิทยาศาสตร์ที่ได้กลายมาเป็นกระแสหลักในตอนนี้ เราพบว่าผู้ตอบแบบสำรวจจำนวนมากถึง 91% ในเอเชียแปซิฟิกมีความเชื่อมั่นในวิทยาศาสตร์ปัจจุบันและ 86% เชื่อมั่นในตัวนักวิทยาศาสตร์ โดยนับเป็นค่าความเชื่อมั่นสูงสุดต่อวิทยาศาสตร์ตั้งแต่เริ่มมีการดำเนินการสำรวจดัชนี SOSI ในปี 2561 เลยก็ว่าได้"
ผู้คนในภูมิภาคต่างก็รู้สึกและรับรู้ได้ถึงกระแสดังกล่าวเช่นกัน โดย 60% เชื่อว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญต่อพวกเขาอย่างมากในชีวิตประจำวัน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 56% เพียงเล็กน้อย
ผู้คนเริ่มมีพฤติกรรมที่แตกต่างไป โดยมีจำนวนคนถึง 73% กล่าวว่าหากมีคนตั้งคำถามเชิงลบเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์พวกเขาจะเป็นคนปกป้องเอง ซึ่งสิ่งนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเมื่อต้องชี้นำข้อเท็จจริงผ่านความขัดแย้งรวมถึงข้อมูลที่บิดเบือนจากการระบาดและวัคซีน
3) ยั่งยืน: ผลกระทบที่คาดไม่ถึงต่อความยั่งยืน
ตรงกันข้ามกับความเชื่อส่วนใหญ่ การระบาดในครั้งนี้ไม่ได้บดบังประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศแต่อย่างใด ในทางกลับกันเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลกแล้ว โควิด-19 ทำให้ผู้คนในเอเชียแปซิฟิกตระหนักถึงเรื่องนี้มากขึ้น โดย 82% กล่าวว่าการระบาดทำให้พวกเขาใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น มากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 5% เลยทีเดียว
ที่ผ่านมาได้เกิดความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศมากขึ้น โดย 90% เห็นด้วยเกี่ยวกับการหาวิธีการที่ดีกว่าสำหรับการแก้ปัญหาสภาพอากาศ และจำเป็นต้องดำเนินการแก้ปัญหาในทันที นอกจากนี้ มีถึง 89% ในภูมิภาคยังเชื่อว่า ผู้คนควรปฏิบัติตามหลักวิทยาศาสตร์ในการช่วยให้โลกมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น นับว่าเป็นโชคดีที่ผู้นำทั่วโลกต่างตอบรับต่อปัญหาที่เกิดขึ้นนี้
เมื่อเดือนธันวาคม 2563 คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UN ESCAP) ได้มีรายงานที่พบว่าประเทศต่างๆ ในเอเชียแปซิฟิกได้มีการดำเนินการตามนโยบาย และมาตรการทั้งหมด 111 ประการ ที่กำหนดเป้าหมายไปที่การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ปีที่แล้วทางรัฐบาลไทยเปิดตัวแผนยุทธศาสตร์เป็นระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่ปี 2564 ถึง 2569 เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว โดยแผนดังกล่าวจะมุ่งเน้นไปที่ภาคการเกษตร การดูแลสุขภาพ พลังงาน และชีวเคมี ไปจนถึงการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
นอกจากนี้ ตามความมุ่งมั่นในข้อตกลงปารีส ประเทศไทยคาดว่าภายในปี 2573 จะมีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 20% ถึง 25% หรือเทียบเท่ากับ 110 ถึง 140 ล้านตัน-CO2-eq โดยได้อิงจากข้อมูลพื้นฐานของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการประมาณการในสถานการณ์ธุรกิจตามปกติ (Business as Usual - BAU)
4) ความเท่าเทียมด้านสะเต็ม
วิทยาศาสตร์ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้สังคมแก้ปัญหาที่ยากที่สุดที่ผู้คนกำลังเผชิญ จากผลงานปีนี้บ่งชี้ได้อย่างชัดเจนมากว่ามีหลากหลายคนที่เห็นด้วย ซึ่งผู้คนในเอเชียแปซิฟิกมีความรู้สึกชื่นชมวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด และเรายังสังเกตอีกว่ามีผู้คนก้าวเข้ามาสนับสนุนวิทยาศาสตร์มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายสิ่งที่จำเป็นต้องทำ โดยผู้คนถึง 89% เชื่อว่าความหลากหลายควรเป็นสิ่งที่ต้องเพิ่มและรวมไว้ในสะเต็ม (STEM หรือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์) นอกจากนี้ 91% เชื่อว่าองค์กรควรมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงความหลากหลายภายในสาขาวิชาด้านสะเต็มอีกด้วย
ยิ่งไปกว่านี้ เมื่อมีการค้นพบสายพันธุ์ใหม่ของโรคระบาดและมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้น จึงเป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าการระบาดใหญ่ครั้งนี้จะสิ้นสุดลงจริงๆ เมื่อใด ด้วยเวลาหนึ่งปีต่อจากนี้อาจเป็นช่วงเวลาที่เร็วเกินไปที่จะคาดการณ์ถึงความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ที่จะเกิดขึ้นใหม่จะคงอยู่ต่อไปหรือไม่
29% ของผู้คนในเอเชียแปซิฟิกที่ไม่แน่ใจหรือไม่เชื่อว่าความชื่นชมในวิทยาศาสตร์จะดำเนินต่อไป ในขณะที่ทั่วโลกนั้นมีตัวเลขต่ำกว่า 41% ซึ่งเป็นแนวโน้มที่น่าเป็นห่วง ความไว้วางใจและความชื่นชมในวิทยาศาสตร์นับเป็นกุญแจหลักในการต่อสู้กับข้อมูลที่บิดเบือนจากโควิด-19 และวัคซีน และสิ่งนี้ส่งผลอย่างมีนัยยะสำคัญต่อความเร็วในการหาทางออกต่อการแก้ปัญหาของเรา ดังนั้นเราจำเป็นต้องมุ่งหน้าผลักดันความชื่นชมที่มีต่อวิทยาศาสตร์ต่อไปอย่าวต่อเนื่อง
5) การรับผิดชอบร่วมกัน: ความร่วมมือกันคือหนทางสู่การก้าวไปข้างหน้า
ถึงแม้ว่าจะมีความยากลำบาก แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือการพัฒนาและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับร่วมมือกันระหว่างหลากหลายภาคส่วนและพรมแดน
โชคดีที่วิทยาศาสตร์นั้นถูกมองว่ามีความจำเป็นต่อการกำหนดรูปแบบ สร้างความแข็งแกร่ง และพัฒนาในระดับภูมิภาค โดย 93% เชื่อว่าการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์จะทำให้ประเทศของตนนั้นแข็งแกร่งขึ้น ในขณะที่87% เชื่อว่าเศรษฐกิจในประเทศของตนจะพัฒนาขึ้นหากมีผู้คนจำนวนมากประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสะเต็ม (STEM หรือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์) รวมถึง 91% ยังเชื่อว่าวิทยาศาสตร์ควรช่วยขับเคลื่อนในการตัดสินใจเชิงนโยบาย ซึ่งมีมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกโดยรวมถึง 6%
“ในช่วงการระบาดใหญ่นี้ เราได้เห็นประเทศต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนมารวมตัวกันเพื่อแบ่งปันความรู้และทรัพยากร ผมมั่นใจว่าเราจะสามารถสานต่อกระแสที่น่าตื่นเต้นนี้เพื่อสร้างอนาคตที่ปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แข็งแกร่ง และเท่าเทียมกันมากขึ้นในภูมิภาคนี้และที่อื่นทั่วโลก” นายแมคกิวแกน กล่าวสรุป