Delta คว้าตำแหน่งผู้นำ Global Child Forum 2020 ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้รับคะแนนจากการประเมิน 7.8/10 ส่งผลให้คว้าตำแหน่งผู้นำด้านองค์กร และผู้นำเกณฑ์มาตรฐานสิทธิเด็กในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำปี 2564 ซึ่งจัดขึ้นโดย Global Child Forum และ Boston Consulting Group โดยในครั้งนี้ เดลต้าเป็นบริษัทเดียวในประเทศไทยที่ถูกจัดให้อยู่ในตำแหน่งผู้นำประเภทธุรกิจ B2B

เกณฑ์มาตรฐานของ Global Child Forum ครั้งที่สอง ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้จัดอันดับคะแนนทั้งหมดจาก 232 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค โดยคิดคะแนนจากวิธีจัดการกับสิทธิเด็กของบริษัทแต่ละแห่งผ่านการดำเนินงานและชุมชนแวดล้อม ทั้งนี้ มีเพียง 13 บริษัท หรือ 5% ของบริษัทที่ได้รับการเปรียบเทียบทั้งหมดเท่านั้นที่ได้รับอันดับผู้นำ ซึ่งเดลต้าเป็นหนึ่งใน 5 บริษัทในประเทศไทยที่ได้รับการจัดอันดับสูงสุดนี้

การประเมินคะแนนดังกล่าว ได้ให้การยอมรับเดลต้าในฐานะผู้พัฒนาและดำเนินนโยบาย รวมทั้งแนวปฏิบัติขององค์กรที่มีผลต่อสิทธิของเด็กในประเด็นสำคัญต่างๆ โดยระดับคะแนนประเมินจาก 1 ถึง 10 จะถูกคำนวณเป็นค่าเฉลี่ยคะแนนรวมและคะแนนเฉพาะด้าน ทั้งนี้ คะแนนเฉลี่ยของผู้เข้าร่วมประกวดจากอุตสาหกรรม B2B ในการประเมินปี 2564 อยู่ที่ 5.3

ในฐานะผู้นำ เดลต้าได้รับการยอมรับในการพัฒนานโยบายอย่างเป็นรูปธรรม และปลูกฝังความเชื่อเกี่ยวกับสิทธิของเด็กไว้ในทุกการปฏิบัติงานของบริษัท รวมทั้งยังมีการติดตามผลการรายงานที่โปร่งใส รวมถึงโครงการต่างๆ เพื่อสิทธิของเด็ก

Global Child Forum คือ มูลนิธิที่ไม่แสวงหาผลกำไรจากสวีเดน การประเมินดังกล่าวดำเนินการโดย Boston Consulting Group และมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษา และรัฐบาลเข้าด้วยกัน เพื่อกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในด้านสิทธิของเด็ก โดยงานนี้อยู่ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็กและหลักการบริหารธุรกิจ

ในฐานะธุรกิจที่ยั่งยืนในประเทศไทย เดลต้ามุ่งมั่นในการเพิ่มมูลค่าให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องผ่านการดำเนินธุรกิจแล้วสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีจริยธรรม นอกจากนี้ เดลต้ายึดมั่นในความเป็นความเป็นองค์กรพลเมืองดีของโลกที่ดำเนินงานสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN SDGs), มาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO), ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) และหลักจรรยาบรรณแห่งพันธมิตรธุรกิจผู้มีความรับผิดชอบ (RBA)


ใหม่กว่า เก่ากว่า