ติงส์ ออน เน็ต ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ นำไอโอทีโซลูชันครบวงจรด้ วยโครงข่ายเทคโนโลยีสื่อสารชั้ นนำระดับโลก ระบุ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ออฟ ติงส์ หรือไอโอที (Internet of Things: IoT) ยังคงมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มศั กยภาพและยกระดับขี ดความสามารถให้กับหน่วยงานภาครั ฐ องค์กรธุรกิจและอุตสาหกรรมด้ านต่างๆ และเป็นหนึ่งในหัวเรือหลักช่ วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0 รวมถึงเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นตัวเร่งให้ประเทศไทยขยับเข้ าใกล้เป้าหมาย “ประเทศไทยเมืองอัจฉริยะ”
นายปวิณ วรพฤกษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ติงส์ ออน เน็ต จำกัด ได้เปิดเผยข้อมูลจากซิกฟอกส์ (Sigfox) ผู้นำด้านเทคโนโลยีการเชื่อมต่ อแบบ LPWAN มีเครือข่ายครอบคลุม 72 ประเทศทั่วโลก ว่า ความท้าทายในช่วง 18 - 24 เดือนข้างหน้านี้ คือการเร่งพัฒนาเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ให้ทันการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้ งใหม่ เพราะไอโอที คือหัวใจสำคัญในการเชื่อมต่ อโลกทางกายภาพกับโลกดิจิทัล ทำให้ตอบโจทย์ความต้องการทั้ งภาคอุตสาหกรรม ภาคขนส่ง และสิ่งแวดล้อม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริ หารจัดการระบบต่างๆ ให้ดีขึ้น โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกั ดให้เกิดประโยชน์สูงสุด และช่วยป้องกันความเสี่ยงที่ จะเกิดขึ้นกับธุรกิจและสิ่ งแวดล้อม โดยเทรนด์ไอโอทีที่น่าจั บตามองในปี 2564 มีดังนี้
1. การติดตามและตรวจสอบสินค้า ในวงการการติดตามและตรวจสอบสิ นค้า ได้พัฒนาเครื่องมือในการระบุ ตำแหน่งด้วยเทคโนโลยีไอโอที เพื่อให้เกิดฟังก์ชันใหม่ๆ จากเดิมที่บอกแค่ว่าสินค้านั้ นได้ส่งออก - ถึงมือผู้รับหรือยัง มาเป็นการติดตามสินค้าตลอดตั้ งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง การขนส่งสินค้าจากซัพพลายเออร์ ถึงผู้ซื้อสามารถ Track ได้ตลอด เมื่อสินค้าถูกขนออกนอกเส้นทาง ระบบจะส่งสัญญาณเตือน ทำให้สามารถติดตามสินค้ากลั บมาได้อย่างทันท่วงที ไม่ต้องเสียเวลาติดตามค้นหาสิ นค้า นอกจากนี้ ยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลของ workflow เพื่อนำมาปรับปรุงระบบให้มี ประสิทธิภาพสูงสุด
เมื่อความเสียหายในการขนส่งลดลง ประสบการณ์และความพึงพอใจของลู กค้าย่อมดีขึ้น ปัจจุบัน IoT trackers ไม่เพียงสามารถติดตามทรัพย์สิ นขนาดใหญ่ แต่ยังใช้กับการขนส่งสินค้าที่ มีขนาดเล็ก หรือแม้แต่การขนส่งทางไปรษณีย์ ซึ่งคาดการณ์ว่าภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ จะหันมาใช้บรรจุภัณฑ์อุ ตสาหกรรมที่สามารถส่งคืนได้ มากขึ้นโดยติดตั้งอุปกรณ์ติ ดตามที่เปิดใช้งาน IoT เพื่อหลีกเลี่ยงการรั่ วไหลในการผลิตและขนส่ง เนื่องจาก IoT trackers สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้ งานเชิงลึก ช่วยเพิ่มการหมุนเวียนการใช้ บรรจุภัณฑ์ระหว่างซัพพลายเออร์ และผู้ผลิตในอัตราสูงสุด ลดการสูญเสีย และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ ายในการลงทุน
2. การมอนิเตอร์สภาพแวดล้อมของสิ นค้าระหว่างขนส่ง เทคโนโลยีไอโอที สามารถตรวจสอบอุณหภูมิและความชื้ นได้แบบเรียลไทม์ สำหรับภาคอุตสาหกรรมขนส่ งและโลจิสติกส์สามารถใช้ ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อควบคุมคุณภาพสินค้าในระหว่ างการขนส่งควบคู่ไปกับการติ ดตามตำแหน่งของสินค้า ช่วยสร้างความมั่นใจให้ผู้ ประกอบการและลูกค้าในการขนส่งสิ นค้าที่ต้องมีการควบคุมและดู แลเป็นพิเศษ อาทิ การขนส่งอาหารหรือของสดต่างๆ รวมถึงการขนส่งวัคซีนโควิด-19 ที่มีมูลค่าและความไวต่ออุณหภู มิสูง เป็นต้น
นอกจากนี้ ไอโอทีเซ็นเซอร์ยังสามารถประยุ กต์ใช้กับเครื่องมืออื่นๆ ได้หลากหลาย เช่น เครื่องตรวจจับควัน หรือเครื่องตรวจวัดก๊าซคาร์ บอนมอนอกไซด์ ซึ่งจะส่งสัญญาณเตือนเมื่ อตรวจจับพบการเปลี่ยนแปลงที่ผิ ดปกติไปยังผู้ใช้งาน โดยจะสามารถรับการแจ้งเตือนได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความโดดเด่ นเหนือเครื่องมือรูปแบบเดิมๆ
3. ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ เทคโนโลยีไอโอที มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ ยนแปลงและปรับปรุงระบบโครงข่ ายไฟฟ้า ช่วยให้มิเตอร์อัจฉริ ยะสามารถบริหารจัดการการไหลเข้ าและออกของพลังงานจากโครงข่ ายไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิ ภาพแบบเรียลไทม์ ป้องกันการรั่วไหลของไฟฟ้า ป้องกันการโจรกรรมพลังงาน และช่วยให้เจ้าของบ้านส่งพลั งงานส่วนเกินจากแผ่นโซล่าร์กลั บคืนเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอั จฉริยะทำให้ประหยัดค่าไฟได้อย่ างมีนัยสำคัญ หรือแม้แต่การประยุกต์ใช้ IoT กับยานยนต์อัจฉริยะ smart vehicles ช่วยให้การชาร์จไฟมีประสิทธิ ภาพดีขึ้น
4. วงจรชีวิตการใช้งานและการเลื อกใช้อุปกรณ์เฉพาะเจาะจง แนวโน้มหนึ่งที่มาแรงในปี 2564 คือการพัฒนาอุปกรณ์ IoT ที่เจาะจงการใช้งานมากขึ้น เป็นอุปกรณ์ที่มีวงจรชีวิต การใช้ งานและความสามารถเฉพาะสำหรั บการปรับใช้ อย่างเช่น เซ็นเซอร์แบบใช้งานครั้งเดียว มีฟังก์ชันที่ง่ายขึ้น แต่จำกัดการทำงานและถูกตั้ งโปรแกรมให้มีหน้าที่เฉพาะการส่ งข้อความที่ต้องการเฉพาะจะมี ผลโดยตรงต่ออายุการใช้งานของอุ ปกรณ์
ท่ามกลางการแข่งขันเพื่ อลดความซับซ้อน อุปกรณ์ IoT อาจจะง่ายขึ้นด้วยการจำกั ดการทำงานหรือป้องกันการรวมเซ็ นเซอร์ที่ซ้ำซ้อนกัน สิ่งเหล่านี้สามารถทำได้โดยใช้ ฟังก์ชันที่ง่าย ในตำแหน่งที่ตั้งหลักเพื่อส่งข้ อมูลสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิไปยังอุปกรณ์ใกล้เคียง การทำงานแบบ “edge approach” นี้ สามารถลดความซับซ้ อนของการออกแบบอุปกรณ์ได้อย่ างมากและเป็นการช่วยลดต้นทุน
5. IoT security ในปี 2564 เทคโนโลยีไอโอทีด้านระบบรั กษาความปลอดภัยจะให้ความสำคัญสู งสุดกับการป้องกัน cyber attacks และการใช้ในทางที่ผิด สามองค์ประกอบที่ต้องให้ ความสำคัญคือ การรับรองความน่าเชื่อถือ ความสมบูรณ์ แบบในการทำงานของเครื่องมือ และการรักษาความลับของข้อมูลที่ ถูกส่ง รวมถึงการเข้ารหัส ซึ่งจำเป็นสำหรับโครงสร้างพื้ นฐานเพื่อสร้างความมั่นใจให้กั บลูกค้าในการเก็บความลับของข้ อมูล
นอกจากการพัฒนาเครื่องมือแล้ว ซอฟต์แวร์และ dashboard ก็ต้องพัฒนาควบคู่กันไป ความท้าทายในระยะยาวคือ ทำอย่างไรให้เครื่องมือเหล่านี้ สามารถทำงานได้หลายปีและยั งสามารถกู้คืนข้อมูลได้ นอกจากนี้ อีกหนึ่งจุดเด่นของเทคโนโลยี ไอโอทีคือ ขุมพลังในการควบคุมและสั่ งการเครื่องมือจำนวนมากๆ พร้อมกัน เช่นเมื่อเราติดตั้งเครื่องมื อจำนวนมากและต้องการปรับเปลี่ ยนการทำงานของเครื่องมือทั้งหมด เทคโนโลยีไอโอทีสามารถช่วยปรั บจูนเครื่องมือจำนวนมากถึงแสนตั วได้พร้อมกันภายในเวลาเพียง 2 - 3 วัน