Samsung สนับสนุนภาคธุรกิจไทย “สร้างโอกาสบนความเปลี่ยนแปลง” รุกปั้นตลาด Rugged Device รับเทรนด์ปี 2021


ซัมซุง ประกาศกลยุทธ์กลุ่มธุรกิจลูกค้าองค์กรปี 2021 พร้อมผลักดันภาคธุรกิจไทยรุดหน้าสู่อนาคตอย่างยั่งยืนในยุค Digital Disruption เตรียมรับมือกับความท้าทายที่คาดไม่ถึงและการสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ด้วย Business Innovation




ดร.มารุต มณีสถิตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจลูกค้าองค์กร ธุรกิจโทรคมนาคมและไอที บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด กล่าวว่า “สถานการณ์ในปีที่ผ่านมา นอกจากจะเป็นปัจจัยเร่งให้องค์กรทุกขนาดและทุกอุตสาหกรรมต้องปรับตัวอย่างปัจจุบันทันด่วนเพื่อลดความสูญเสีย ยังเป็นโอกาสสำหรับองค์กรในการพัฒนารูปแบบทางธุรกิจใหม่ๆ ที่สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของแลนด์สเคปธุรกิจโลก ทั้งนี้ องค์กรต้องมีตัวช่วยในการทำงานที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะทางในงานของตัวเองมากขึ้น โดยเฉพาะ Mobility ที่ในปัจจุบันถูกพัฒนาด้วย AI, Machine Learning และ Cloud-based Technology ซึ่งส่งเสริมให้เกิดรูปแบบการทำงานที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น


"แนวโน้มที่สำคัญสำหรับองค์กรในปี 2021 คือ ‘Generic is not enough’ องค์กรกำลังมองหาเทคโนโลยีที่มีความเฉพาะเจาะจงกับรูปแบบงานของตนมากขึ้น เพราะฉะนั้น ซัมซุงจึงวางแผนปลุกปั้นตลาด Rugged Device หรืออุปกรณ์ที่มีความทนทาน ซึ่งถูกพัฒนามาเพื่อการทำงานในรูปแบบใหม่ๆ ของกลุ่มลูกค้าองค์กรโดยเฉพาะ สอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจใหม่ของเรา คือ ‘Built for the new way business is done’ โดยตั้งเป้าเพิ่มยอดขายของอุปกรณ์ในกลุ่มนี้เป็นเท่าตัวในปีหน้า”

 


สำหรับกลุ่มธุรกิจลูกค้าองค์กรในปีนี้ ซัมซุงยังครองตำแหน่งผู้นำอันดับหนึ่ง ด้วยส่วนแบ่งตลาดเกินครึ่ง โดยมีอัตราการเติบโตครึ่งปีแรกสูงถึง 67% และสามารถจบปีที่ 42% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะกลุ่มสมาร์ทโฟนระดับเริ่มต้น (Entry) ที่โตขึ้นถึง 5 เท่า และสมาร์ทโฟนระดับบน (High) โตขึ้น 2 เท่า


ดร.มารุต ชี้ว่า จุดแข็งของซัมซุง ประการ ที่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าองค์กร ได้แก่ 1. ความเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมาร์ทดีไวซ์ 2. แพลตฟอร์มด้านความปลอดภัยในระดับสูงสุดระดับเดียวกับที่ใช้ในทางการทหาร คือ Samsung Knox (ซัมซุง น๊อกซ์) 3. ความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ระดับโลก เช่น Google, Microsoft, VM Ware เป็นต้น เพื่อสร้างอีโคซิสเต็มที่มีความสมบูรณ์มากที่สุดสำหรับองค์กร



ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้สร้างข้อจำกัดในการทำงานทำให้หลายวงการต้องปรับตัวอย่างมาก ทั้งการทำงานแบบ Remote Working หรือการทำธุรกรรมดิจิทัลเพื่อลดการติดต่อสัมผัส ระบบคลังสินค้าและการกระจายสินค้าแบบใหม่ที่มีความยืดหยุ่นสูง ไปจนถึงการแพทย์ทางไกลหรือ Telehealth


ซัมซุงมองว่าจุดขายของ Rugged Device ทั้งในด้านความทนทาน การออกแบบ UI และ UX เพื่อการใช้งานในระดับปฏิบัติการโดยเฉพาะ รวมไปถึงอีโคซิสเต็มที่สมบูรณ์จากความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ระดับโลก จะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจขององค์กรที่กำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่ Next Normal ทางธุรกิจ ในปัจจุบัน สินค้ากลุ่มนี้ของซัมซุงประกอบด้วย สมาร์ทโฟน รุ่น คือ Galaxy XCover4 และ Galaxy XCover Pro แท็บเล็ตมี 2 รุ่น คือ  Galaxy Tab Active3 และ Galaxy Tab Active Pro ซึ่งมีคุณสมบัติพื้นฐานที่โดดเด่นในด้านความทนทานต่อการกระแทก การตกจากที่สูง การกันน้ำและกันฝุ่นในระดับสูง จึงสามารถเช็ดล้างทำความสะอาดได้ และยังสามารถใช้งานได้แม้หน้าจอเปียก หรือในขณะสวมถุงมือ



จากรายงานของ Tech Research Asia พบว่ากว่า 44% ขององค์กรในไทยมีการใช้งาน Rugged Device อยู่แล้ว ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีความต้องการอุปกรณ์ในกลุ่มนี้เพิ่มสูงขึ้นในปี 2021 ด้วยการทำตลาดอย่างจริงจัง โดยซัมซุงจะเน้นการสร้างประสบการณ์ผ่านกิจกรรมทางการตลาดหลากหลายรูปแบบ ทั้งการจัดโรดโชวร์ร่วมกับพาร์ทเนอร์โดยเน้นการสาธิตคุณสมบัติที่ดีเยี่ยมของผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงแผนการเปิด B2B Store ทั้งออฟไลน์และออนไลน์


ดร.มารุต กล่าวเสริมว่า กลุ่มธุรกิจที่มีความเป็นไปได้สูงในการใช้งานผลิตภัณฑ์ Rugged Device คือ ธุรกิจค้าปลีก (Retail) โดยเฉพาะในส่วนงานบริหารจัดการคลังสินค้า, ระบบบริหารและติดตามพิกัดตำแหน่งยานพาหนะ (Fleet Management)ธุรกิจบริการด้านสุขภาพ (Health Careเช่น Wellness Center และ Telehealth และธุรกิจการศึกษา (Education) โดยเฉพาะในระดับ B2B2C



ตัวอย่างเคสในประเทศไทยที่ใช้งาน Rugged Device เป็นหนึ่งในโซลูชั่นทางธุรกิจ เช่น ASIA CAB ผู้ให้บริการแท็กซี่ระดับ VIP มาตรฐานเดียวกับลอนดอนที่มาพร้อมเทคโนโลยีทันสมัย โครงการพัฒนาหุ่นยนต์และอุปกรณ์สนับสนุนการแพทย์ CU-RoboCOVID ซึ่งดำเนินงานโดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ แบ่งเบาภาระงาน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้บุคลากรทางการแพทย์ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019



ใหม่กว่า เก่ากว่า