ในงานประชุม Global Mobile Broadband Forum (MBBF) ประจำปี 2563 ที่ผ่านมา นายเดวิด หวัง (David Wang) กรรมการผู้บริหารของหัวเว่ยขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ “นิยามแห่ง 5.5G เพื่อโลกอัจฉริยะที่ดียิ่งขึ้น” (Defining 5.5G for a Better, Intelligent World) โดยระบุว่า 5.5G จะเป็นวิวัฒนาการใหม่ของเทคโนโลยี 5G และหัวเว่ยตั้งตารอที่จะได้ทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ในแวดวงอุตสาหกรรมนี้เพื่อบรรลุนิยาม 5.5G โดยนายเดวิด หวัง กล่าวว่า ด้วยความร่วมมือกัน เราจะสามารถพัฒนาประสบการณ์การตอบสนองแบบเรียลไทม์สำหรับผู้ใช้งานของแต่ละคนได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งสามารถยกระดับศักยภาพของอุปกรณ์ IoT แบบเซลลูลาร์และเปิดประสบการณ์การใช้งานรูปแบบใหม่ๆ
เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายแต่ละรุ่นมักจะคงอยู่เป็นระยะเวลาราวหนึ่งทศวรรษ ก่อนที่มาตรฐานใหม่เข้ามาแทนที่ ซึ่งเทคโนโลยี 5G จะยังคงเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายหลักไปจนถึงปี 2030 และคาดว่าจะยังคงให้บริการไปจนถึงปี 2040
อย่างไรก็ดี ความเร็วเฉลี่ยยังคงจะต้องเพิ่มจาก 120 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งเป็นความเร็วที่ทุกวันนี้ใช้สำหรับสตรีมวิดีโอ ความละเอียดระดับ 4K ให้เร็วได้ถึง 2 กิกะบิตต่อวินาที ซึ่งเป็นความเร็วที่ต้องใช้กับวิดีโอความละเอียด 16K ในด้านการตอบสนองก็ยังต้องการค่าความหน่วง (latency) ที่ต่ำลง โดยปัจจุบันค่าความหน่วงอยู่ที่ 20 มิลลิวินาที ซึ่งจะต้องลดลงมาแตะ 5 มิลลิวินาทีให้ได้ เพื่อทำให้ได้ตามมาตรฐานทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เทคโนโลยี 5G จำเป็นต้องวิวัฒนาการต่อไปเรื่อย ๆ
ประสบการณ์ด้านการเชื่อมต่อระหว่างที่จะต้องได้รับการยกระดับ ขณะเดียวกันรูปแบบการเชื่อมต่อระหว่างสิ่งของต่าง ๆ ก็จะต้องได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปอีก ทั้งนี้ หัวเว่ยจึงได้นำเสนอวิสัยทัศน์ว่าด้วยเทคโนโลยี 5.5G เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับวันที่เทคโนโลยี 5G จะต้องรองรับการเชื่อมต่อถึงหนึ่งแสนล้านโครงข่าย
“5.5G คือวิสัยทัศน์ที่เรามองอุตสาหกรรมนี้ มันคือการยกระดับและการขยายขอบเขตของลักษณะการใช้งาน 5G แบบมาตรฐานทั้ง 3 ลักษณะตามที่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ได้ให้คำนิยามไว้ อันได้แก่ eMBB, mMTC และ URLLC” นายเดวิด หวัง กล่าว
5.5G จะครอบคลุมลักษณะการใช้งานมากกว่า 5G อีก 3 ลักษณะ ได้แก่ UCBC, RTBC และ HCS
นายเดวิด หวัง ยังระบุว่า “5.5G จะนำพาเราไปไกลกว่า IoT และทำให้ IoT อัจฉริยะเกิดขึ้นได้จริง ด้วยการขยายขอบเขตไปให้ไกลเกินกว่าการใช้งานลักษณะเดิมจาก 3 แอปพลิเคชัน เป็น6 แอปพลิเคชัน”
การใช้งานลักษณะใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยี 5.5G จะสร้างมูลค่าใหม่ให้กับการพัฒนาสังคมและการยกระดับอุตสาหกรรม
ประการแรก ลักษณะ UCBC จะเร่งการยกระดับอุตสาหกรรมสู่ระบบอัจฉริยะ UCBC จะเพิ่มอัปลิงก์ แบนด์วิดธ์ ได้มากถึง 10 เท่า ซึ่งถือว่าสมบูรณ์แบบสำหรับผู้ผลิตที่ต้องการอัปโหลดวิดีโอในระบบ Machine Vision และอุปกรณ์ IoT ที่ใช้เครือข่ายบรอดแบรนด์ขนาดใหญ่ โดยจะเร่งกระบวนการยกระดับอุตสาหกรรมสู่ระบบอัจฉริยะให้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ประการที่สอง ลักษณะ RTBC จะมอบประสบการณ์การใช้งานที่สมจริง RTBC รองรับแบนด์วิดธ์ขนาดใหญ่และค่าความหน่วงต่ำ เป้าหมายคือการเพิ่มแบนด์วิดธ์10 เท่า โดยมีค่าความหน่วงตามต้องการและมีความเสถียรในระดับคงที่ ซึ่งหากบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ได้ เราจะสามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ผู้ใช้จะตอบสนองกับโลกเสมือนได้อย่างสมจริง
ประการที่สาม ลักษณะ HCS ทำให้ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติเกิดขึ้นได้จริง HCS ได้รับการออกแบบเพื่อให้รถยนต์เชื่อมต่อถึงกัน หุ่นโดรนเชื่อมต่อถึงกันได้จริง รวมถึงทำให้สถานการณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้ระบบการขับเคลื่อนแบบอัตโนมัติเกิดขึ้นได้จริง
ประการที่สี่ รูปแบบการใช้งานในย่านความถี่ที่ต่ำกว่า 100 กิกะเฮิรตซ์จะต้องได้รับการรื้อโครงสร้างใหม่เพื่อให้เกิดมูลค่าสูงสุดของย่านความถี่ดังกล่าว
ประการที่ห้า เมื่อมีเทคโนโลยี AI เข้ามาเสริมศักยภาพ โครงข่าย 5G จะมีความอัจฉริยะอย่างไม่สิ้นสุด ในยุค 5G นี้เราจะได้เห็นคลื่นความถี่อีกจำนวนมาก รวมถึงอุปกรณ์ การบริการ และความต้องการของลูกค้าอีกมากมายหลากหลายประเภทยิ่งกว่ายุคไหนๆ ในยุคเทคโนโลยี 5.5G ดังนั้นเพื่อความสมบูรณ์แบบในการใช้งานจะต้องได้รับการบูรณาการเข้ากับ AI เพื่อเข้ามาแก้ปัญหาความซับซ้อนเหล่านี้
นายเดวิด หวัง สรุปว่า “มาตรฐานที่มีเอกภาพและความร่วมมือในระดับอุตสาหกรรมคือแก่นของดีเอ็นเอที่จะช่วยก่อร่างสร้างความสำเร็จให้แก่อุตสาหกรรมการสื่อสารไร้สายระดับโลก ซึ่งการพัฒนาของเทคโนโลยี 5.5G ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างทุกฝ่ายตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า”
ทั้งนี้ หัวเว่ยตั้งตารอที่จะได้ร่วมงานกับพาร์ทเนอร์ในแวดวงอุตสาหกรรม เพื่อกำหนดนิยามของเทคโนโลยี 5.5G และสร้างโลกอัจฉริยะที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม