ขณะนี้ทั่วโลกต้องเผชิญกับวิกฤติซ้ำซ้อนตลอดปี พ.ศ. 2563 ไม่ว่าจะเป็นโรคระบาด วิกฤติเศรษฐกิจ หรือภัยพิบัติทางธรรมชาติ ส่งผลต่อชีวิตประจำวันของผู้คน เราได้เห็นบทบาทที่เด่นชัดยิ่งขึ้นของเทคโนโลยีที่เข้ามาในไลฟ์สไตล์ของเรามากขึ้น เพราะเรายังจำเป็นที่จะต้อง “เชื่อมต่อ” กับผู้คนเพื่อดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันรวมถึงดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ในยามที่ไม่สามารถเดินทางได้อย่างอิสระเช่นเคย เทคโนโลยี ICT ที่ประสานห้าพลังดิจิทัล อันได้แก่ AI (ปัญญาประดิษฐ์), Application (แอปพลิเคชัน), Cloud (คลาวด์), Connectivity (การเชื่อมต่อ), และ Computing (การประมวลผล) จึงช่วยสร้างคุณค่าใหม่ ๆ อันจะก่อให้เกิดโซลูชันและนวัตกรรมที่นำพาโลกสู่การเชื่อมต่อที่มีความอัจฉริยะยิ่งขึ้น
ในกรณีที่เด่นชัดที่สุดคือ การนำเทคโนโลยี Cloud และ AI มาใช้ในการสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการตรวจหาโควิด-19 ที่ช่วยย่นระยะเวลาในการวินิจฉัยโรคจาก 12 นาที เหลือเพียง 30 วินาที ทั้งยังมีอัตราความแม่นยำถึง 97% ช่วยแบ่งเบาภาระแพทย์และเสริมประสิทธิภาพในการวินิจฉัยมากขึ้น ซึ่งหัวเว่ยได้ส่งมอบเทคโนโลยีดังกล่าวให้กับโรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลรามาธิบดีไปในช่วงปีต้นที่ผ่านมา นอกจากนี้ เทคโนโลยี AI ยังสามารถช่วยวินิจฉัยความบกพร่องด้านการมองเห็นในเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถขอความช่วยเหลือหรือเข้าใจความผิดปกติของร่างกายตัวเองได้ หากสามารถวินิจฉัยอาการได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ การประสบความสำเร็จในการรักษาจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 70% ส่งผลให้เด็กเหล่านี้มีโอกาสดำเนินชีวิตได้ตามปกติเพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
เทคโนโลยี Cloud และ AI ยังมีบทบาทในการพัฒนาอุตสาหกรรมและคุณภาพชีวิตอีกมากมาย เช่น ในประเทศจีน มีการนำ AI มาใช้ในภาคการเกษตรเพื่อเรียนรู้คุณภาพและขนาดของอ้อยประเภทต่าง ๆ ช่วยสร้างโมเดลระบบตรวจสอบคุณภาพผลิตผลที่แม่นยำ เสริมประสิทธิภาพในการตรวจสอบอ้อยได้สูงขึ้นถึง 14% และลดการใช้แรงงานมนุษย์ได้ถึง 70% ช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพผลิตผลระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายอ้อยได้อย่างสิ้นเชิง หัวเว่ยยังใช้ AI ศึกษาข้อมูลอุตุนิยมวิทยาย้อนหลังถึง 10 ปี เพื่อสร้างโมเดลจำลองการพยากรณ์อากาศและติดตามพายุ ช่วยลดความเสี่ยงในการออกหาปลาของชาวประมงในประเทศจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้พัฒนาระบบพิทักษ์ป่าเขตร้อนด้วยเทคโนโลยี Cloud และ AI โดยใช้ร่วมกับแอปพลิเคชันในมือถือเพื่อตรวจจับเสียงกิจกรรมการตัดไม้ทำลายป่าและการล่าสัตว์ผิดกฎหมาย ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ป่ากว่า 6,000 ตารางกิโลเมตร สามารถพิทักษ์ป่าไม้จากการตัดไม้ทำลายป่าได้ถึง 400 ล้านต้น ในมุมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เทคโนโลยี Cloud และ AI จากหัวเว่ย ยังช่วยจัดการการจราจรบนท้องถนน ผ่านอุปกรณ์ AI ซึ่งติดตั้งไว้ในแต่ละสี่แยก จึงช่วยวิเคราะห์รับส่งข้อมูลการจราจรได้และลดอัตราการจราจรติดขัดได้ถึง 17% รวมทั้งเพิ่มความคล่องตัวของรถยนต์บนท้องถนนได้ถึง 15%
ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยี ICT รวมไปถึงขุมพลังดิจิทัลต่าง ๆ อย่าง Cloud, AI, และ 5G จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมได้ในทุกมิติ การมีเทคโนโลยี Cloud ที่พร้อมรองรับข้อมูลประมวลผลมหาศาลจาก AI เป็นสิ่งจำเป็นที่จะนำพาประเทศไทยไปสู่ยุคสมัยแห่งความอัจฉริยะ โดยปัจจุบัน หัวเว่ย มีบริการ Cloud ในประเทศไทย และมีศูนย์ข้อมูลหรือ Data Center ในประเทศถึงสองแห่งเพื่อรองรับการให้บริการ Cloud ในไทยโดยเฉพาะ ทั้งยังมีแผนจะเปิดตัวศูนย์ข้อมูลแห่งที่สามด้วยเม็ดเงินลงทุนกว่า 700 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2564 ที่จะถึงนี้ ซึ่งการมีศูนย์ข้อมูลในประเทศจะทำให้ หัวเว่ยส่งมอบบริการ Cloud ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพราะมีทีมชาวไทยคอยดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิด สามารถชำระค่าบริการเป็นเงินบาทได้ ทั้งยังสามารถวางใจในเรื่องของความปลอดภัยที่การันตีด้วยใบรับรองมาตรฐานระดับโลกกว่า 50 รายการ รวมถึงมาตรฐาน ISOA27701 และเป็นไปตาม “พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” (PDPA) ของประเทศไทย จึงสามารถต่อยอดการนำ Cloud มาผสมผสานในธุรกิจและอุตสาหกรรม สร้างความเป็นไปได้ไม่รู้จบที่จะพัฒนาไปสู่โลกอัจฉริยะแห่งการเชื่อมโยงสื่อสารเต็มรูปแบบได้อย่างแท้จริง