Huawei เผยเทรนด์การเชื่อมต่อแห่งอนาคตพร้อมเปิดตัว All-scenario Intelligent Connectivity Solution (โซลูชันการเชื่อมต่ออัจฉริยะสำหรับทุกสถานการณ์)


คณะกรรมาธิการเครือข่ายบรอดแบนด์สหประชาชาติ (UN Broadband Commission) และหัวเว่ยร่วมกันจัดงานประชุมทางออนไลน์ Ultra-Broadband Forum ครั้งที่ 6 หรือ UBBF 2020 ขึ้น ณ กรุงปักกิ่ง ในหัวข้อ “การเชื่อมต่ออัจฉริยะ สร้างมูลค่าใหม่ไปด้วยกัน” (Intelligent Connectivity, New Value Together) โดยงานในปีนี้ได้พูดคุยเกี่ยวกับความท้าทายและโอกาสต่างๆ ที่แวดวงอุตสาหกรรมกำลังเผชิญในยุคแห่งเทคโนโลยีอัจฉริยะ

นายเดวิด หวัง (David Wang) ผู้อำนวยการบริหารและประธานกรรมการพิจารณาการลงทุนของหัวเว่ย ได้กล่าวสุนทรพจน์เปิดงานในหัวข้อ “สร้างการเชื่อมต่ออัจฉริยะเพื่อโลกอัจฉริยะ” (Building intelligent connectivity for an intelligent world) พร้อมเปิดตัวโซลูชันด้านการเชื่อมต่ออัจฉริยะที่ครอบคลุมทุกสถานการณ์ของหัวเว่ย สำหรับการใช้งานในครัวเรือนและในองค์กร จากการใช้งานเหล่านี้ เครือข่ายบรอดแบรนด์สำหรับการใช้งานในครัวเรือน (home broadband) จะเข้าสู่ยุคแห่ง Experience Economy หรือเศรษฐกิจที่สร้างจากประสบการณ์การใช้งานของลูกค้า และจะเร่งให้หลายอุตสาหกรรมเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลรวดเร็วยิ่งขึ้น

อุตสาหกรรมเทคโนโลยีการเชื่อมต่อกำลังเผชิญกับความท้าทายในการเปลี่ยนแปลง 5 ประการ

การยกระดับเทคโนโลยีการเชื่อมต่อทุกครั้งล้วนสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่สังคมในระดับรากฐาน ปัจจุบันขณะที่เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคอัจฉริยะ ทั้งปัจเจกบุคคล ครัวเรือน และองค์กร ล้วนต้องการการเชื่อมต่อมากกว่าที่เคยเป็น และเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น คลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ล้วนทำงานประสานกันได้อย่างรวดเร็วผ่านเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ ซึ่งนำพาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการเชื่อมต่อไปสู่การเผชิญกับความท้าทายในการเปลี่ยนแปลง 5 ประการ ได้แก่
 

ประการที่ 1: จาก IoT และ IoT อัจฉริยะ สู่ Intelligent Twins ที่เชื่อมต่อกัน

ในอดีต เราต้องการเชื่อมต่อผู้คนกับบ้าน นำมาสู่การเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (IoT) เมื่อเราต้องการสร้างชีวิตที่เชื่อมกับ AI อย่างไร้รอยต่อและยกระดับองค์กรสู่ความอัจฉริยะ เราจึงต้องเชื่อมต่อหลายๆ สิ่งเข้ากับเทคโนโลยีอัจฉริยะให้มากขึ้น นำมาสู่ IoT อัจฉริยะ (intelligent IoT) มีการคาดการณ์ว่าปริมาณการเชื่อมต่อทั่วโลกจะมีถึง 1 ล้านล้าน ภายในปี ค.ศ. 2035 จะทำให้เกิดการเชื่อมต่ออย่างครอบคลุมทุกหนแห่งและการแพร่กระจายของเทคโนโลยีอัจฉริยะเกิดขึ้นได้จริง


ประการที่ 2: จาก “ออฟฟิศ” สู่ “ออฟฟิศ + การผลิต”

โควิด-19 ได้เปลี่ยนแปลงความต้องการที่ผู้คนมีต่อเครือข่ายบรอดแบนด์ในครัวเรือน ด้านการใช้งานขององค์กรนั้น เทคโนโลยีการเชื่อมต่อพัฒนาไปไกลกว่าแค่การใช้งานในออฟฟิศ โดยรองรับได้ทั้งออฟฟิศและการผลิต สิ่งที่องค์กรมุ่งเน้นในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลนั้น ได้เปลี่ยนจากออฟฟิศดิจิทัลสู่การผลิตดิจิทัล การทำธุรกรรมดิจิทัล และการบริหารจัดการแบบดิจิทัล
 

ประการที่ 3: จากการทุ่มเทให้ดีที่สุด สู่บริการเชิงกำหนดที่หลากหลาย

อุตสาหกรรมต่างๆ มีความหลากหลายตามรูปแบบการให้บริการและความต้องการใช้งานด้านเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ หากบริการที่แตกต่างคือสิ่งที่มีอยู่เป็นปกติในขณะนี้ ประสบการณ์การใช้งานในรูปแบบเชิงกำหนด (deterministic experience) ก็คือสิ่งที่จำเป็นต้องมีต่อจากนี้ ผู้ให้บริการเครือข่ายจึงจำเป็นต้องเปิดประตูให้กับตลาดอุตสาหกรรมแนวดิ่ง ด้วยการมอบบริการเชิงกำหนดที่หลากหลาย


ประการที่ 4: จากเมกะไบต์สู่กิกะไบต์ผ่านตัวกลางใดก็ได้

เทคโนโลยีการเข้าถึงการเชื่อมต่อแบบหลายช่องทาง (Multiple access) ที่มีอยู่ เช่น โทรศัพท์มือถือ, Wi-Fi, ใยแก้วนำแสง และความหลากหลายของรูปแบบการบริการ หมายความว่าเทคโนโลยีต่างๆ ที่เป็นการเข้าถึงการเชื่อมต่อแบบหลายช่องทางจะยังคงมีอยู่ต่อไปในอีกหลายปีข้างหน้า และด้วยความทุ่มเทร่วมกันของทั้งภาคอุตสาหกรรม เทคโนโลยี 4G, 5G, Wi-Fi และเทคโนโลยีใยแก้วนำแสง ในปัจจุบันจะทำให้เกิดการเชื่อมต่อที่ความเร็วระดับกิกะไบต์ได้อย่างครอบคลุมทุกพื้นที่


ประการที่ 5: จากการดำเนินงานและการบำรุงรักษาด้วยโดยใช้คน สู่ระบบอัตโนมัติขั้นสูง

เทคโนโลยี 5G จะทำให้การดำเนินงานและการบำรุงรักษาเครือข่าย (O&M) ซับซ้อนกว่าเทคโนโลยี 4G กระบวนการ O&M ที่ใช้คนนั้นจะไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะรับมือกับความซับซ้อนต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ และจะเปลี่ยนไปสู่การใช้ระบบอัตโนมัติขั้นสูง (hyper-automation) ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีบิ๊กดาต้าและ AI เพื่อทำให้การตัดสินใจในกระบวนการ O&M เรียบง่ายมากขึ้น

 

มุ่งสู่การเชื่อมต่ออัจฉริยะด้วย AI

ความเปลี่ยนแปลงทั้ง 5 ประการนี้กำลังสร้างความต้องการใหม่ ๆ ต่อเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ ซึ่งต้องได้รับการอัปเกรดขึ้นไปเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการผลิต

ความต้องการประการแรกคือเครือข่ายระดับกิกะไบต์ที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ (ubiquitous gigabit) เพราะแบนด์วิดท์คือโครงสร้างพื้นฐานของการเชื่อมต่อ การเชื่อมต่อในระดับกิกะไบต์ที่ครอบคลุมทุกที่จึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับวิดีโอความละเอียดสูงระดับ ultra-HD, แอปพลิเคชัน VR/AR เชิงอุตสาหกรรม, กล้อง AI และโดรน

ความต้องการประการที่สองคือประสบการณ์การใช้งานเชิงกำหนดซึ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการใช้งานในบ้าน เช่น การทำงานจากบ้านและการเรียนออนไลน์ รวมถึงการใช้งานในองค์กร เช่น การผลิตที่ปลอดภัยและวางใจได้

ความต้องการประการที่สามคือระบบอัตโนมัติขั้นสูง เนื่องจากการพัฒนาเครือข่ายในแง่ของขนาดและความซับซ้อน เทคโนโลยีบิ๊กดาต้าและ AI จะต้องได้รับการนำไปใช้เพื่อให้เกิดเป็นระบบอัตโนมัติขั้นสูงได้สำเร็จ

โซลูชันของหัวเว่ยเพื่อการเชื่อมต่ออัจฉริยะในทุกสถานการณ์

นายเดวิด หวัง กล่าวเปิดตัวโซลูชันเพื่อการเชื่อมต่ออัจฉริยะของหัวเว่ยทั้ง 4 แบบ ซึ่งประกอบด้วยโซลูชันเพื่อการเชื่อมต่ออัจฉริยะแบบกระจายการเข้าถึงสำหรับการใช้งานในครัวเรือน โดยโซลูชันนี้จะเป็นการอัปเกรดดีไวซ์ภายในบ้าน อุปกรณ์ปลายทาง รวมถึงการจัดการเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และโครงข่ายอัจฉริยะในแคมปัสองค์กร ช่วยให้ผู้ให้บริการโครงข่ายสามารถให้บริการด้านโซลูชันเครือข่ายให้แก่องค์กรได้แบบครบวงจร รองรับการโอนย้ายข้อมูลไปสู่คลาวด์, โครงข่ายการเชื่อมต่อแบบ Premium Private Line แบบอัจฉริยะ ช่วยลดค่าความหน่วง (latency) ด้วยเทคโนโลยี all-optical switching, และโซลูชันโครงข่ายคลาวด์อัจฉริยะสำหรับองค์กร ที่จะทำให้องค์กรสามารถเข้าถึงคลาวด์ได้หลายเครือข่าย  

“ในระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ทำงานร่วมกับลูกค้าและพาร์ทเนอร์เพื่อสร้างประสบการณ์ใช้ชีวิตประจำวันร่วมกับ AI อย่างไร้รอยต่อสำหรับทุกครัวเรือน และขับเคลื่อนการพัฒนาอัจฉริยะในทุกอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการช่วยให้เศรษฐกิจดิจิทัลเติบโตและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน” นายเดวิด หวังกล่าวเสริม
ใหม่กว่า เก่ากว่า