เมื่อเร็วๆ นี้ หัวเว่ย จัดงาน Asia Pacific Financial Industry Storage Summit 2020 ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยมีผู้นำด้านธุรกิจและเทคโนโลยีจากหลายประเทศในภูมิภาคเข้าร่วมเสวนาในหัวข้อ 5G กับการปฎิรูปโลกของระบบการเก็บข้อมูลที่จะกำหนดอนาคตของอุตสาหกรรมการเงินในยุคนิวนอร์มัล
งานสัมนาออนไลน์ในหัวข้อ “ปลดปล่อยพลังแห่งข้อมูลขับเคลื่อนสู่การเงินการธนาคารอัจฉริยะ” ครั้งนี้ มีผู้นำจากสถาบันการเงินชั้นนำอย่าง The Asian Banker, DBS Bank, และ China Construction Bank Asia มาร่วมเสวนาเกี่ยวกับเทรนด์ล่าสุดในวงการการเงินการธนาคาร รวมไปถึงการพัฒนาต่อยอด และโอกาสทางธุรกิจในอุตสาหกรรมอันเกิดจากการใช้เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร
โควิด-19 กระตุ้นให้เกิดการใช้แอปพลิเคชันด้านข้อมูลเชิงลึกและเร่งให้เกิดการปรับใช้เทคโนโลยี 5G เร็วขึ้น
“ในวิกฤติจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เรายังคงมองเห็นโอกาสสำหรับการธนาคาร และถือเป็นโอกาสที่ดีในการกำหนดกลยุทธ์ของการธนาคารออนไลน์ และการพัฒนาธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ตในอนาคต” นายจอห์นนี่ จง ผู้จัดการทั่วไปและหัวหน้าแผนกเทคโนโลยีการเงิน บริษัท China Construction Bank Asia (CCBA) กล่าว พร้อมทั้งให้ข้อสังเกตว่า ปัจจุบัน มีการทำงานทางไกลอย่างแพร่หลาย ซึ่งนำไปสู่การปรับเปลี่ยนแผนรับมือวิกฤติขององค์กรการเงินทั่วโลก
นายเอมมานูเอล แดเนียล ประธานและผู้ก่อตั้งของ The Asian Banker เชื่อว่าอนาคตของการธนาคารจะถูกปรับเปลี่ยนโดยเทคโนโลยีด้านข้อมูล 5G และด้วยความสามารถในการส่งผ่านข้อมูลจำนวนมหาศาลด้วยความหน่วงต่ำจากเทคโนโลยี 5G ไม่เพียงแต่จะส่งผลให้รถยนต์สามารถขับเคลื่อนได้โดยอัตโนมัติ แต่จะเกิดการปฏิวัติวงการขนส่งให้กลายเป็นระบบอัตโนมัติที่เชื่อมต่อยานพาหนะต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้ยานพาหนะขนส่งสามารถสื่อสารกันได้ รวมไปถึงสื่อสารกับสภาพแวดล้อมภายนอกได้ด้วย
ในปัจจุบัน สถาบันการเงินหลายแห่งได้ลงทุนในโครงข่ายข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ เสถียร และคุ้มค่ามากขึ้น เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของลูกค้า รวมไปถึงปรับเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการธนาคาร โดยประธาน The Asian Banker กล่าวว่า “เพื่อรักษาสถานะของธนาคาร จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่เราต้องยอมรับการผนวกรวมกับเทคโนโลยีอย่าง 5G ที่จะทำให้ประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันของเราดียิ่งขึ้น รวมไปถึงการใช้แพลตฟอร์มบนคลาวด์แบบเรียลไทม์ด้วย”
นายซิม เอส ลิม หัวหน้าแผนกการธนาคารผู้บริโภคและบริหารทรัพย์สินของ DBS Bank กล่าวว่าธนาคารได้ปรับเปลี่ยนนำเทคโนโลยีที่ใช้ข้อมูลและอีโคซิสเต็มของพาร์ทเนอร์สร้างโซลูชันที่มีประสิทธิภาพ พร้อมให้ผลลัพธ์อย่างยั่งยืน
เสริมศักยภาพการจัดเก็บข้อมูลขนาดมหาศาลด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ พร้อมปฎิรูปวงการธุรกิจและอุตสาหกรรมด้วยการประมวลผลข้อมูล
นายแดเนียล โจว ประธานกลุ่มธุรกิจคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของหัวเว่ย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวย้ำว่า 5G มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมเทคโนโลยีฟินเทคมากขึ้น การรับ 5G มาใช้ในวงกว้างจะส่งผลให้เกิดมิติที่หลากหลายจากข้อมูลจำนวนมหาศาล จึงจำเป็นต้องอาศัย
การประเมินเครดิตธุรกิจองค์กรและการวิเคราะห์ตรวจสอบการทุจริตที่มีความละเอียดและแม่นยำกว่าเคย
“ความเสถียรและประสิทธิภาพในการดำเนินงานจำเป็นต่อการช่วยให้ธนาคารต่าง ๆ สามารถรับมือกับความท้าทายด้านการประมวลผลข้อมูลได้ โดยหัวเว่ยได้พัฒนาโซลูชันครบวงจรที่เน้นการประมวลผลข้อมูลต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง และยังสามารถควบคุมประสิทธิภาพการทำงานให้อยู่ในระดับสูงเพื่อรองรับการทำธุรกรรมจำนวนมากได้อีกด้วย” นายโจว กล่าวเสริม
การวิจัยด้านการจัดเก็บข้อมูลของหัวเว่ย เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2545 ปัจจุบัน ได้ขยายเครือข่ายการวิจัย โดยมีศูนย์วิจัยกว่า 12 แห่งในอเมริกาเหนือ รัสเซีย ยุโรป อินเดีย และจีน ซึ่งคาดว่าตลาดระบบการจัดเก็บข้อมูลเจนเนอเรชันถัดไปจะมีมูลค่าสูงขึ้นจากเดิมที่ 56,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2562 พุ่งสูงขึ้นเป็น 102,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี พ.ศ. 2567 โดยคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยรวมที่ 12.5% เติบโตควบคู่ไปกับบริการด้านคลาวด์ที่แพร่หลายยิ่งขึ้น
“ในการจัดเก็บข้อมูลแบบดั้งเดิม คลังข้อมูลจะถูกเก็บแยกกันเป็นเอกเทศ โดยระบบจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการขาดความยืดหยุ่นในการกระจายทรัพยากรและข้อจำกัดด้านความสามารถในการขยายขอบเขตประสิทธิภาพการทำงาน และถึงแม้เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลใหม่อย่างคลังข้อมูลแบบกระจายตัวจะเกิดขึ้นเพื่อตอบโจทย์ความท้าทายเหล่านี้ แต่เทคโนโลยีดังกล่าวก็พบกับความท้าทายของตัวเองเช่นกัน ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการใช้ข้อมูลอย่างมหาศาล ดังนั้น
ผู้ที่ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลก็จะได้เปรียบยิ่งขึ้น ควบคู่กับการมีอนาคตทางการเงินที่ยอดเยี่ยมกว่าที่เคย” นายโจว กล่าวสรุป