เพิ่มความยืดหยุ่นด้านการธนาคาร ในช่วงการฟื้นตัวจากวิกฤตการณ์ในปัจจุบันโดย Guruprasad Gaonkar หัวหน้าด้านบริการซอฟต์แวร์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ฝ่ายการวางแผนทรัพยากรเพื่อธุรกิจและห่วงโซ่อุปทาน Oracle


กรุงเทพฯ อุตสาหกรรมธนาคารกำลังเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่อย่างไม่คาดคิด นอกเหนือจากการแข่งขันอันดุเดือดกับคู่แข่งดิจิทัลรายใหม่แล้ว ธนาคารเริ่มทำการปรับเปลี่ยนระบบรูปแบบเดิมๆไปสู่ธุรกิจระบบดิจิทัลในช่วงที่ธนาคารหลายสาขาต้องขยายเวลาปิดบริการเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคมอันเข้มงวดตามประกาศรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

 

ในการที่รักษามาตรฐานการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่องนั้น ธนาคารต่างๆ รวมไปถึงการวางระบบดิจิทัลธนาคารต้องทำหน้าที่ให้บริการ และตอบสนองความต้องการลูกค้าโดยคำนึงถึงแนวทางด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก ในประเทศสิงคโปร์มีการปล่อยสินเชื่อ 4 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถผ่านพ้นผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ โดยธนาคารต่าง ๆ ได้เปลี่ยนขั้นตอนการปล่อยสินเชื่อเป็นระบบดิจิทัล เพื่อให้มั่นใจได้ว่ากองทุนจะถูกจัดสรรให้แก่บรรดาลูกค้าอย่างรวดเร็วภายในหนึ่งสัปดาห์

 

ส่วนในออสเตรเลีย ธนาคารต่าง ๆ ได้ประกาศมาตรการผ่อนคลายด้านสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดเล็กซึ่งช่วยขยายระยะเวลาการชำระเงินคืน 6 เดือน ด้านรัฐบาลมีการเตรียมขยายแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อการก้าวผ่านวิกฤตครั้งนี้  ในขณะเดียวกันนั้นสิ่งสำคัญคือการที่ธนาคารทำหน้าที่ช่วยเหลือลูกค้าให้ผ่านพ้นช่วงวิกฤตไปได้ และธนาคารเองก็ต้องการการสนับสนุนเพื่อบรรเทาผลกระทบต่างๆเช่นกัน

 

การสร้างแรงกดดันต่อธนาคาร

อุตสาหกรรมการเงินมีการกระจายส่วนแบ่งที่เป็นธรรมเสมอไม่ว่าจะช่วงขาขึ้นหรือขาลง แต่ยังไม่เคยประสบกับความผันผวนมากถึงระดับนี้มาก่อน ซึ่งในการเผชิญหน้ากับความท้าทายเหล่านี้ ธนาคารต่าง ๆ จึงมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านองค์กรและการดำเนินงาน เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าและกลับมาฟื้นตัวได้เป็นอันดับแรก ๆ

 

ก่อนหน้านั้นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของธนาคารต้องพึ่งพาการประเมินผลเบื้องต้น และตัวเลขประมาณการเมื่อต้องบริหารความเสี่ยง อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์รูปแบบนี้ไม่เพียงพออีกต่อไปในสภาพความผันผวนของเศรษฐกิจในปัจจุบัน

นอกจากนี้ระบบโครสร้างที่ซับซ้อนและขั้นตอนการทำงานที่ทำสืบทอดต่อๆ กันมา ซึ่งทั้งมีต้นทุนสูงและดูแลรักษายาก ทำให้ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของธนาคารที่ต้องการขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลขั้นสูงในด้านธุรกรรมการเงินนั้นมักจะทำได้ช้า และเมื่อมีการทำงานโดยใช้ระบบควบคุม พบว่าพนักงานธนาคารธนาคารส่วนใหญ่ไม่สามารถใช้ระบบการโดยใช้ระบบควบคุมได้อย่างเหมาะสมภายในชั่วข้ามคืน เนื่องจากไม่ใช่ระบบที่เคยติดตั้งใช้งานมาก่อน

 

เมื่อพิจารณาถึงความมั่นคงปลอดภัยและเสถียรภาพที่มากขึ้น รูปแบบการจัดการระบบกระจายศูนย์กลางข้อมูลด้านการเงินและ การจัดการความเสี่ยงจึงขาดความโปร่งใส ไร้ประสิทธิภาพ และขาดความคุ้มค่าต่อต้นทุนที่จำเป็นในการทำงาน ขั้นตอนการทำงานแบบนี้นั้นต้องมีทั้งต้นทุนและใช้เวลาที่มากขึ้น ซึ่งทำให้ความสามารถในการบริการงานของธนาคารไม่ราบรื่น

 

ปัจจุบัน ธนาคารต่าง ๆ ตระหนักถึงการเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานด้านการเงินของตนเองให้เป็นระบบดิจิทัล เพราะเป็นวิธีเดียวที่รวดเร็วที่สุดในการบริหารความเสี่ยง เพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมการทำงาน อีกทั้งยังแสดงข้อมูลเชิงลึกเพื่อการสร้างธุรกิจที่คล่องตัวและปรับเปลี่ยนได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีคลาวด์จึงถือเป็นสิ่งที่ต้องบรรจุไว้ในกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีของธนาคารในแผนสร้างการดำเนินธุรกิจ

 

การเปลี่ยนกระบวนการทำงานเป็นระบบดิจิทัล

ในวันนี้การย้ายระบบธุรกิจหลักขึ้นบนคลาวด์ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีคุณค่ามากขึ้น เพราะสามารถช่วยให้พนักงานธนาคารสามารถทำงานได้แม้ไม่ได้อยู่ในออฟฟิต เป็นการเปลี่ยนแปลงในเชิงการบริหารงานที่เป็นไปไม่ได้เลยในช่วงที่ยังใช้วิธีการทำงานด้วยระบบที่แยกการกระจายข้อมูล รวมไปถึงการทำงานแบบไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบส่วนกลาง อีกทั้งธนาคารต่าง ๆ กำลังเริ่มวางโครงสร้างระบบใหม่สำหรับขั้นตอนการหลักในการทำธุรกรรมทางการเงิน และจำเป็นต้องใช้ระบบในการทำงานในช่วงที่ไม่สามารถทำงานในออฟฟิตได้ เพื่อเป็นการสร้างประโยชน์ให้แก่ธุรกิจและลูกค้าให้ได้มากที่สุด เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงกรอบวิธีคิดของประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน

 

ยกตัวอย่างเช่น Asia Commercial Bank หนึ่งในธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ได้หันมาใช้ระบบ Oracle Cloud Enterprise Resource Planning (ERP) ในการปรับปรุงประสิทธิภาพขั้นตอนทางการเงิน จัดซื้อ และการบริหารงาน ซึ่งทำให้ ธนาคารสามารถเร่งการปิดบัญชีสิ้นเดือนและวงรอบการรายงานผลได้เร็วขึ้น 50ซึ่งการย้ายระบบฐานข้อมูลไปไว้ในคลาวด์นั้นยังหมายถึงการไม่ต้องบริการจัดการแอปพลิเคชันเหล่านี้เองภายในศูนย์ข้อมูลอีกต่อไป ซึ่งช่วยลดความจำเป็นเป็นที่ต้องมีพนักงานประจำอยู่ในสถานที่ปฏิบัติงาน และช่วยให้ทีมงานฝ่ายการเงินสามารถทำงานได้จากที่บ้านโดยที่ทำงานได้อย่างราบรื่น

 

อีกกรณีหนึ่ง Westpac หนึ่งในธนาคารรายใหญ่ของออสเตรเลีย ได้นำ Oracle Banking Platform มาใช้ในศูนย์บริการลูกค้ารวมของธนาคารเพื่อช่วยให้พนักงานธนาคารทั้งองค์กรสามารถมองเห็นมุมมองของลูกค้าที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งในฐานะธนาคารที่มั่นคงซึ่งมีประวัติอันยาวนาน Westpac เปลี่ยนมาใช้ระบบคลาวด์เพื่อปรับโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีให้มีความเรียบง่าย เพื่อสร้างประสบการณ์ที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลางได้อย่างสอดคล้องกันในทุกประเภทสินค้าทั่วทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ สิ่งนี้ทำให้ Westpac ยกระดับสู่สถานะผู้นำในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูงและมีข้อกำหนดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

 

การเปลี่ยนขั้นตอนทางการเงินและความเสี่ยงเป็นระบบดิจิทัล

ระดับความผันผวนของสถานการณ์ในปัจจุบันทำให้ธนาคารต่าง ๆ จำเป็นต้องงวางแผน และการรูปแบบกลยุทธ์เพื่อประเมินผลในรูปแบบต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนการคาดการณ์รายรับและสภาพคล่องทางการเงิน และทำข้อมูลซ้ำในช่วงระยะสั้นและระยะกลาง

 

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) และการเรียนรู้โดยเลียนแบบเครื่องจักรกล (Machine Learning: ML) ที่ติดตั้งมาในระบบคลาวด์ล้วนมีบทบาทสำคัญเมื่อต้องทำการวัดผลอย่างเที่ยงตรงและต้องควบคุมความเสี่ยงต่าง  ๆ คุณสมบัตินี้ยังทำให้พนักงานธนาคารได้รับข้อมูลเชิงลึกเชิลกลยุทธ์ ซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถตัดสินใจ ขับเคลื่อนนวัตกรรม และสร้างความได้เปรียบได้ดียิ่งขึ้น

 

การสร้างความยืดหยุ่นในชีวิตวิถีใหม่

โลกกำลังเปลี่ยนไปและไม่มีใครคาดเดาสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ธนาคารก็จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้เท่าทันสถานการณ์และความผันผวนทางเศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถฟื้นตัวขึ้นอย่างเข้มแข็งจากการถดถอยทางเศรษฐกิจในช่วงหลายเดือนข้างหน้า ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงในแง่การดำเนินงานหรือขั้นตอนการทำงาน การปฏิรูปองค์กรสู่ระบบดิจิทัลคือสิ่งจำเป็นในการบรรเทาผลกระทบและสร้างความยืดหยุ่นเมื่อธุรกิจเริ่มฟื้นกลับคืนมาอีกครั้ง

 

ใหม่กว่า เก่ากว่า