หัวเว่ยย้ำจุดยืนผู้นำเทคโนโลยี 5G ระดับโลกจากงาน Huawei Galileo 5G Online Live Tour ณ กรุงปักกิ่ง เผยเทรนด์ 5G เปลี่ยนผ่านจากมาตรฐาน TDD มาเป็นการผสมผสานระหว่างหลักปฏิ บัติ TDD และ FDD เพื่อรองรับการใช้งานเครือข่ ายแบบ B2B ที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น นอกจากนี้ 5G จะกระตุ้นให้เกิดการทำธุ รกรรมแบบ B2B มากขึ้น และตอบรับความต้องการของผู้ให้ บริการเครือข่ายที่ต้องการลดต้ นทุนการดำเนินงานได้ขึ้น ชี้หัวเว่ยยังคงมุ่งหน้าลงทุ นและออกสิทธิบัตรด้าน 5G อย่างต่อเนื่อง
นายหลิน เหยียนชิง ผู้อำนวยการฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ แผนกประชาสัมพันธ์และสื่ อสารองค์กรบริษัทหัวเว่ย ได้กล่าวถึงเทคโนโลยี 5G ในงาน Huawei Galileo 5G Online Live Tour ว่า “ตอนนี้อุตสาหกรรม 5G ในระดับโลกกำลังเผชิญกับ 3 เทรนด์หลัก ได้แก่ การเปลี่ยนผ่านจากการติดตั้งที่ มีพื้นฐานหลักปฏิบัติการแบบ TDD สู่การติดตั้งที่มี การผสมผสานระหว่างหลักปฏิบัติ การ TDD และ FDD, การเปลี่ยนผ่านจากการทำธุรกิ จระหว่างเจ้าของธุรกิจกับผู้บริ โภครายบุคคล สู่การพัฒนาที่ครอบคลุมการทำธุ รกิจทั้งแบบ B2C, B2H และธุรกิจสู่ธุรกิจ (B2B) และเทรนด์หลัดสุดท้าย ค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินงาน (Operation Expenditures – OPEX) ที่ลดลงจะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจ 5G สู่ความสำเร็จ”
ในด้านเทรนด์การเปลี่ยนผ่ านจากการติดตั้งที่มีพื้นฐานหลั กปฏิบัติการแบบ TDD สู่การติดตั้งที่มี การผสมผสานระหว่างหลักปฏิบัติ การ TDD และ FDD ในระยะแรกของการเปิดตัวเครือข่ าย 5G ทั่วโลก การใช้คลื่นความถี่ต่างๆ แบบ TDD ใน Massive MIMO ซึ่งอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณที่ช่ วยเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่าย 4G ได้กลายเป็นหลักปฏิบัติมาตรฐาน แต่หลักปฏิบัติการแบบ TDD นั้นโดยธรรมชาติแล้วมีข้อจำกั ดทั้งในด้านการครอบคลุ มและการมอบประสบการณ์การใช้งาน ในขณะที่หลักปฏิบัติการแบบ FDD กลับสามารถส่งมอบการรับส่งข้อมู ลได้อย่างสมดุล ทั้งยังส่งมอบการครอบคลุมที่ทั่ วถึงภายในตัวอาคารอย่างมีประสิ ทธิภาพมากกว่า ซึ่งจะช่วยให้ผู้ให้บริการเครื อข่ายสามารถเปิดตัวเครือข่าย 5G โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วได้ อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว นอกจากนี้การผสมผสานดังกล่ าวจะทำให้สามารถตอบรับการใช้ งานบนช่องสัญญาณความถี่ขนาดใหญ่ ของแอปพลิเคชันที่ใช้งานระหว่ างองค์กรด้วยกัน (B2B)
ส่วนเทรนด์ที่สอง อันได้แก่การเปลี่ยนผ่ านจากการทำธุรกิจระหว่างเจ้ าของธุรกิจกับผู้บริโภครายบุคคล (Business-to-Customer – B2C) และระหว่างเจ้าของธุรกิจกับบุ คคล (Business-to-Human) สู่การพัฒนาที่ครอบคลุมการทำธุ รกิจทั้งแบบ B2C, B2H และธุรกิจสู่ธุรกิจ (B2B) โดยเครือข่าย 5G ในปัจจุบันสามารถรองรับการเชื่ อมต่อแบบไร้สายศักยภาพสูง (eMBB) สำหรับการใช้งานในเชิงอุ ตสาหกรรมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เช่น การสาธารณสุขแบบอัจฉริยะ โรงพยาบาลมิตรภาพจีนและญี่ปุ่น (China-Japan Friendship Hospital) มีบริการให้คำปรึกษาระยะไกล (teleconsultation) ผ่านวิดีโอความคมชัดสูงโดยใช้ เทคโนโลยี 5G และโรงพยาบาลประจำมหาวิทยาลั ยเวสต์ไชน่าแห่งที่สอง (West China Second University Hospital) ยังได้นำเทคโนโลยี 5G ไปใช้สำหรับการเยี่ยมไข้ในห้ องไอซียู รวมถึงการตรวจเยี่ยมผู้ป่วยในห้ องพักผู้ป่วยของแพทย์และพยาบาล นอกจากนี้ยังมีการนำไปใช้ในเชิ งอุตสาหกรรมที่ต้องการความหน่ วงต่ำและความเสถียรในระดับสูง (Ultra-Reliable Low-Latency Communication – URLLC) ตัวอย่างเช่น ท่าเรือ, อุตสาหกรรมการผลิต, การสื่อสารระหว่างยานพาหนะกับสิ่ งต่างๆ (Vehicle-to-Everything – V2X) และระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (power grid) ก็กำลังมีการศึกษา วางมาตรฐาน รวมถึงเริ่มนำร่างการใช้งานในอุ ตสาหกรรมโดยเริ่มติดต่อและทดลอง นำไปติดตั้งใช้งาน
สำหรับเทรนด์ที่สามคือ ปัจจัยเรื่องค่าใช้จ่ายสำหรั บการดำเนินงาน (Operation Expenditures – OPEX) ที่ลดลงจะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจ 5G สู่ความสำเร็จ ขั้นตอนการติดตั้งไซต์ที่ สะดวกและง่ายจะช่วยลดค่าใช้จ่ ายให้กับผู้ให้บริการเครือข่าย นอกจากนี้ เทคโนโลยีการเข้าถึงคลื่นวิทยุ แบบอเนกประสงค์ และการประสานการใช้งานแถบความถี่ ต่างๆ ยังช่วยปรับปรุงเครือข่าย O&M และเพิ่มประสิทธิภาพในด้ านการประหยัดพลังงาน ซึ่งการหยุดให้บริการเครือข่าย 2G และ 3G (มีเครือข่ายทั่วโลก 17 เครือข่ายที่ได้สิ้นสุดการให้ บริการแล้ว และอีก 12 เครือข่ายกำลังจะปิดตัว) จะทำให้ผู้ให้บริการเครือข่าย (operator) ลดค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนิ นงานในขั้นตั้น
“จากมุมมองด้านการปฏิบัติการ เครือข่าย 4G มอบประสบการณ์ด้านการสื่ อสารความเร็วสูงบนโทรศัพท์มือถื อสำหรับให้กับผู้บริโภครายบุ คคลเป็นหลัก ในขณะที่เครือข่าย 5G จะช่วยยกระดับขึ้นไปอีกขั้ นของการให้บริการด้านความเร็วสู งบนโทรศัพท์มือถือรายบุคคล พร้อมทั้งยัง ผสานรวมการสื่อสารไร้สายในภาคอุ ตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งจะทำให้เกิดการปรับเปลี่ ยนอุตสาหกรรมให้เป็นรูปแบบดิจิ ทัล (digitization) และสร้างโลกแห่งการเชื่อมต่อที่ สมบูรณ์แบบ ตัวอย่างการใช้งานเครือข่าย 5G ที่โดดเด่น เช่น การขับขี่แบบอัตโนมัติ โรงงานอัจฉริยะ และการวิเคราะห์ทางไกล” นายหลินกล่าวเพิ่มเติม
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ถึงปี พ.ศ. 2562 การลงทุนของหัวเว่ยในด้านเครื อข่าย 5G (ไม่นับรวมถึงอุปกรณ์ 5G) มีมูลค่ารวมกว่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยหัวเว่ยได้วางมาตรฐาน 9 ประการสำหรับเครือข่าย 5G รวมถึงศูนย์วิจัยทั่วโลกซึ่งมี ผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 500 คนที่คอยกำหนดมาตรฐานต่างๆ ซึ่งบุคคลเหล่านี้ยังมีตำแหน่ งหน้าที่ในการวางมาตรฐานให้องค์ กรต่างๆ กว่า 100 แห่ง นอกจากนี้หัวเว่ยได้เริ่มการวิ จัยด้าน 5G ในปี พ.ศ. 2552 และส่งผลงานกว่า 23,600 รายการให้แก่กลุ่มมาตรฐานอุ ตสาหกรรมโทรคมนาคม (3GPP) โดยหัวเว่ยครอบครองกลุ่มสิทธิบั ตรด้านเครือข่าย 5G กว่า 3,367 รายการ ซึ่งนับเป็น 20% ของสิทธิบัตร 5G ทั้งหมด และครองอันดับ 1 ในกลุ่มผู้จัดจำหน่ายเครือข่ ายสัญญาณด้วยกัน
ทั้งนี้ โถงนิทรรศการ 5G Huawei Galileo Hall ได้รับการตั้งชื่อตามกาลิเลโอ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “บิดาแห่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่” ที่ค้นพบจักรวาลที่ไม่มี ใครเคยรู้จักมาก่อน หัวเว่ยได้เริ่มต้นการเดิ นทางเพื่อสำรวจและพั ฒนาเทคโนโลยี 5G เมื่อสิบปีที่แล้ว โถงนิทรรศการ 5G ของหัวเว่ย จึงถูกตั้งชื่อตามกาลิเลโอ เพื่อยกย่องผู้บุกเบิกในสาขาวิ ทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสานต่ ออัจฉริยภาพนี้