Sea (ประเทศไทย) จัดกิจกรรม ‘ของขวัญจากพ่อเวิร์คช้อป’ กระตุ้นการสร้าง Active Learning ผ่าน Gamification พร้อมชวนมอง ‘การส่งต่อความรู้และพัฒนาทักษะด้วยบอร์ดเกม’ ผ่านสายตาครูและเยาวชนไทย


เพราะการเรียนรู้ไม่ควรถูกจำกัดรูปแบบ เกมมิฟิเคชั่น หรือกลไกความเป็นเกมจึงเข้ามามีบทบาทในแวดวงการศึกษา ในฐานะเครื่องมือที่ช่วยสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือทำเพื่อให้เกิดกระบวนการวิเคราะห์จริง (Active Learning) ทั้งนี้ก็เพื่อปรับแนวทางการเรียนการสอนให้ขานรับกับยุคดิจิทัล ที่ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้เร็วและง่ายดายเพียงแค่ปลายนิ้วมือ ผู้สอนจึงต้องคำนึงถึงการกระตุ้นนักเรียนให้คิดวิเคราะห์และลงมือแก้ปัญหาและโจทย์ต่างๆ มากยิ่งขึ้น และนี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้หลักเกมมิฟิเคชั่นได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ตั้งแต่ในกลุ่มคุณครูซึ่งมองเห็นโอกาสในการนำเกมมาปรับใช้เพื่อสร้าง Active Learning ไปจนถึงเหล่านักเรียนที่มองหาความหลากหลาย สนุกสนาน การมีส่วนร่วมที่ชวนให้ติดตามภายในชั่วโมงเรียน

               เมื่อเร็วๆ นี้ Sea (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มชั้นนำของประเทศไทย อาทิ ดิจิทัลเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (การีนา) อีคอมเมิร์ซ (ช้อปปี้) และบริการด้านการเงินแบบดิจิทัล (แอร์เพย์) ได้ต่อยอดโครงการประกวดออกแบบบอร์ดเกม “ของขวัญจากพ่อ” ที่มุ่งใช้บอร์ดเกมเป็นสื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่น้อมนำมาจากพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ โดยได้ลงพื้นที่จัดกิจกรรม ของขวัญจากพ่อเวิร์คช้อป (Gifts from Dad Workshop) ณ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย พร้อมนำผลงานที่ชนะจากโครงการประกวดออกแบบบอร์ดเกม “ของขวัญจากพ่อ” ปีที่ และ ไปเปิดให้อาจารย์และนักเรียนได้ทดลองเล่นและเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นเกม ‘Riverbank’ ที่มุ่งสอนแนวทางการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน หรือ เกม ‘The Forest Theory’ ที่มุ่งให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์และการป้องกันภัยพิบัติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับทรัพยากรป่าไม้ โดยกิจกรรมดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นอย่างดี จากทั้งกลุ่มที่สนใจในบอร์ดเกมและกลุ่มที่เล็งเห็นโอกาสในการนำเกมมาใช้เป็นหนึ่งในสื่อการเรียนรู้

               โดยนอกจากการทดลองเล่นเพื่อเรียนรู้แนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติผ่านบอร์ดเกมแล้ว ยังมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญอย่าง คุณเอ็กซ์ หรือนายพีรัช ษรานุรักษ์ ตัวแทนจากทีม Wizards of Learning หนึ่งในผู้พัฒนา Pizza Master บอร์ดเกมไทยที่โด่งดังไกลระดับนานาชาติ มาบรรยายเปิดมุมมองเกี่ยวกับการใช้กลไกเกมในการปลดล็อกทักษะต่างๆ และการออกแบบบอร์ดเกมเพื่อการเรียนรู้อีกด้วย

นายสกุลเกียรติ แสงแก้ว (แซม) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ซึ่งเป็นประธานชุมนุมบอร์ดเกมสวน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กล่าวถึงความรู้สึกที่ได้มาร่วมกิจกรรม ของขวัญจากพ่อเวิร์คช้อป ว่า “จากการที่ได้ลองเล่นเกม Riverbank ในวันนี้ ก็ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ เช่น มีวิธีใดบ้างที่เราจะสามารถกักเก็บน้ำไว้ในเมืองได้ ถ้าน้ำมีปริมาณมากหรือน้อยเกินไปจะสามารถใช้วิธีใดมาแก้ปัญหาได้บ้าง มันทำให้ผมตระหนักว่าการดูแลทรัพยากรน้ำไม่ใช่เรื่องไกลตัวและไม่ใช่เรื่องยาก แต่เราต้องช่วยกันดูแลอย่างสม่ำเสมอ ยกตัวอย่างเช่นปัญหาน้ำเสีย ในเกม Riverbank น้ำเสียในเมืองเมืองหนึ่งสามารถส่งผลกระทบไปยังเมืองรอบข้างได้ ซึ่งตรงตามความเป็นจริง และทำให้เราย้อนกลับมามองว่าในโลกความจริงนั้น การแก้ปัญหาน้ำเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องช่วยกันเหมือนกัน”
“สำหรับผมซึ่งสนใจเรียนต่อในคณะครุศาสตร์ มองว่าการใช้บอร์ดเกมหรือเกมอื่นๆ เข้ามาช่วยในการสอนเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะในฐานะนักเรียน การเรียนผ่านหนังสือหรือจากการบรรยายล้วนเพียงอย่างเดียวเป็นเวลานานหลายชั่วโมง อาจทำให้เราตื่นตัวน้อยลงและรับข้อมูลได้น้อยลงเรื่อยๆ จึงอยากเห็นการนำสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ เข้ามาสร้างความน่าสนใจให้ชั่วโมงเรียนและช่วยเสริมประสิทธิภาพการเรียนมากขึ้น” นายสกุลเกียรติ กล่าวเสริม
อีกหนึ่งสมาชิกจากชุมนุมบอร์ดเกมสวน นายภศกร ปัญญาธัญพงษ์ (ภู) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ก็ได้เผยถึงความสนใจที่จะเป็นผู้ออกแบบบอร์ดเกม ซึ่งทำให้ตัดสินใจเข้าร่วมเวิร์คช้อปครั้งนี้ ว่า “รู้สึกประทับใจช่วงให้ความรู้จากพี่เอ็กซ์ ทีม Wizards of Learning มาก โดยเมื่อก่อนผมเป็นเพียงแค่ผู้เล่นเพื่อความบันเทิง ซึ่งไม่เคยคิดว่าตัวเองได้อะไรกลับมาบ้าง แต่เวิร์คช้อปวันนี้ทำให้พวกเราได้ลองมองการเล่นในมุมใหม่ มุมที่เป็นการเล่นเพื่อเรียนรู้ เล่นในแบบที่ได้พัฒนาทักษะต่างๆ ทั้งการวางแผน การคิดวิเคราะห์ การสื่อสารและทำงานเป็นทีม ตลอดจนการนำทักษะต่างๆ ที่เราได้ฝึกปรือในโลกของเกมออกมาประยุกต์ในชีวิตจริงให้เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ ยังมีเรื่องสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบบอร์ดเกมที่ดี เพื่อทำให้คนเล่นได้เพลิดเพลินและพัฒนาตัวเองไปพร้อมๆ กับเกม”
นายภศกร ยังกล่าวถึงเกม The Forest Theory จากโครงการออกแบบบอร์ดเกมของขวัญจากพ่อ ปีที่ ว่า “นอกจากนี้ ผมยังประทับใจในเกม The Forest Theory เพราะนอกจากจะเล่นสนุกและมีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำเกมอื่นๆ แล้ว ยังทำให้ได้ซึมซับความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้ไปแบบไม่รู้ตัว เช่น เมื่อป่ามีความอุดมสมบูรณ์แล้วจะสามารถขยายตัวได้เอง เป็นต้น โดยมองว่าถ้าประเทศไทยสามารถทำเกมที่ให้ความรู้แบบนี้ออกมาเยอะๆ และกระจายออกไปให้ผู้คนจำนวนมากได้ลองเล่น ก็จะสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ออกไปได้เป็นอย่างดี”


อาจารย์ ธนกร อรรจนาวัฒน์ (ครูสเก็ท) อาจารย์ประจำวิชาชีววิทยา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และอาจารย์ประจำชุมนุมบอร์ดเกมสวน กล่าวว่า “กิจกรรม ‘ของขวัญจากพ่อเวิร์คช้อป’ นับเป็นอีกกิจกรรมที่มาตอกย้ำศักยภาพของการใช้บอร์ดเกมหรือ เกมมิฟิเคชั่น ในการสร้างความเข้าใจในเนื้อหาต่างๆ โดยมองว่าการสอนในปัจจุบันเดินมาไกลมาก อย่างโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยก็มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย มีการทำการทดลอง มีการเล่นเกมตอบคำถามสะสมคะแนนอย่าง Kahoot ภายในห้องเรียน ด้านการ์ดเกมก็ถูกนำมาใช้มากขึ้น ซึ่งพบว่าช่วยทำให้เด็กๆ ได้คิดตามและสร้างการมีส่วนร่วมในกลุ่มนักเรียนได้ดี”
ในฐานะครูมองว่าการอัดความรู้ใส่เด็กเสมือนเทน้ำใส่แก้วนั้นใช้ไม่ได้แล้ว เพราะความรู้จากการเรียนแบบท่องจำเพียงอย่างเดียวจะอยู่ไม่นาน แต่เราจะทำอย่างไรให้นักเรียนมีทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตและเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาแม้จะอยู่นอกห้องเรียน โดยทักษะอย่างการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้ การกลั่นกรองข่าวสารต่างๆ ความสร้างสรรค์และคิดนอกกรอบ ทักษะทางสังคม ไปจนถึงความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตัวเองอยู่เสมอเพื่อก้าวข้ามอุปสรรค ปัญหา และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ มีความจำเป็นมากในยุคปัจจุบัน” อาจารย์ ธนกร กล่าวปิดท้าย

ติดตามข่าวสารและรายละเอียดโครงการของขวัญจากพ่อ (Gifts from Dad) ได้ที่ https://www.seathailand.com/giftsfromdad   
ใหม่กว่า เก่ากว่า