ในยุคสมัยที่อุปกรณ์สมาร์ทโฟนนั้นต่างจอยาวกันมากขึ้นตามการเวลา ถึงขั้นที่หลายค่ายเลือกที่จะนำเทรนด์จอไร้ขอบที่มาพร้อมกับติ่งสู่สายตาชาวโลก ไม่ว่าจะเป็น ติ่งหยดน้ำ จาก Essential PH-1 หรือ ติ่งแถบยาว จาก Apple iPhone X ก็ตาม ที่ในปัจจุบันนี้หลายผู้ผลิตเลือกที่จะทำตามกัน กลายเป็นเรื่องปกติของยุคสมัยนี้ไปแล้ว. จนกระทั่งในตอนนี้ที่ Punch Display ได้กำเนิดขึ้นที่ต้องมาเป็นเทรนด์ของจอที่ได้รับความในนิยมแทนแบบติ่งแน่นอน.
ซึ่งเมื่อเราเทียบกันระหว่างจอแบบ Punch Display และ Notch ทั้ง 2 แบบ จะเห็นได้ว่า Punch Display นั้นมีพื้นที่บนจอที่เสียไปตรงจุด น้อยที่สุดอยู่ที่ 16 ตารางมิลลิเมตรจาก Honor View 20 และ มากที่สุดในตอนนี้ 35 ตารางมิลลิเมตร จาก Samsung Galaxy A8 ที่แทบไม่ต่างจากติ่งแบบหยดน้ำมากสักเท่าไหร่ โดยติ่งที่เสียพื้นมี่น้อยสุดอยู่ที่ 39 ตารางมิลลิเมตร จาก Oppo R17 Pro และมากสุดที่ 159 ตารางมิลลิเมตร จาก Huawei Mate 20 Pro.
เมื่อเราลองมาดูที่ข้อดีของจอแบบ Punch Display จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า การใช้งานหน้าจอแบบ Punch Display จะมีพื้นที่การใช้งานของหน้าจอนั้นเต็มตา และมากกว่าจอแบบติ่งอยู่พอสมควร.
สำหรับหน้าจอแบบติ่งที่ถึงแม้ว่า จะเสียพื้นที่ของติ่งไปเยอะกว่าหน้าจอแบบ Punch Display แต่กลับมีข้อดีที่อาจจะดูมากกว่าจอแบบ Punch Display ก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นการนำเซนเซอร์กล้องมากกว่าหนึ่งมาใช้ หรือ เซนเซอร์สำหรับการสแกนใบหน้าจำพวก IR, TOF เป็นต้น.
สำหรับจอทั้ง 2 แบบนี้นั้นทำให้สรุปได้ง่ายขึ้นว่า :
หน้าจอในรูปแบบ Punch Display, นั้นเหมาะสมสำหรับการับชมวิดีโอ และการเล่นเกมมากกว่าจอในรูปแบบมีติ่ง ถึงแม้ว่าจะไม่มีขอบจับซ้าย-ขวา แต่เมื่อเราใช้เวลาได้ใช้งาน มือเราจะสร้างรูปแบบการจับถือที่เหมาะสมเอง.
หน้าจอในรูปแบบ Notch, นั้นเหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการฟีเจอร์เด่นด้านกล้องหน้า และความปลอดภัยด้วยการสแกนใบหน้าผ่านเซนเซอร์ โดยไม่ต้องใช้กล้องเดี่ยวบวกซอฟต์แวร์ช่วยเหมือน Punch Display.
แต่ในอนาคตไม่แน่ว่า Punch Display อาจมีการพัฒนาจากจุดกลายเป็นขีดเหมือนสมัย Notch Display ก็เป็นได้. ซึ่งจะทำให้รองรับเซนเซอร์และฟีเจอร์ใหม่ได้มากกว่าในอนาคต.